หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "

หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "
หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ

พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ
พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาค ก 3.1 วินัยและการรักษาวินัย

ภาค ก 3.1 วินัยและการรักษาวินัย

                                                                  หมวด 6
                                   วินัยและการรักษาวินัย

           มาตรา 80 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่
บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
           ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติ                      ไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.. ด้วย

                  การกระทำผิดวินัย ก็เหมือนกับการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ  เช่นเดียวกัน                         
                  คือผู้กระทำผิดต้องมีเจตนา จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด  กรณีผู้กระทำ
                  กระทำโดยไม่มีเจตนา จะไม่มีความผิด เว้นแต่กระทำโดยประมาทเลินเล่อ
                   ผู้กระทำก็จะมีความผิดฐานประมาทเลินเล่อ

           มาตรา 81 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
            หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                             คำว่า สนับสนุน 
                             กรณีที่เข้าข่าย ไม่สนับสนุน   

           มาตรา 82  ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
           มาตรา82 (1)  ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
           หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                       คำว่า  หน้าที่ราชการ หมายถึงหน้าที่ราชการโดยตรงเท่านั้น
                       การพิจารณาว่าข้าราชการผู้ใด มีหน้าที่ราชการ ในเรื่องใดหรือไม่นั้น มีแนวพิจารณาดังนี้
                       1. พิจารณาจากกฎหมายหรือระเบียบ
                 
                       2. พิจารณาจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
                       3. พิจารณาจากคำสั่ง หรือการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

                       4. พิจารณาจากพฤตินัย

                     คำว่า ซื่อสัตย์ หมายความว่า ปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา  ไม่คดโกง
ไม่หลอกลวง

                       คำว่า  สุจริต  หมายความว่า ปฏิบัติด้วยความมุ่งหมายในทางที่ดีที่ชอบ                           ตามคลองธรรม

                       คำว่า เที่ยงธรรม  หมายความว่า ปฏิบัติโดยไม่ลำเอียง

          มาตรา 82 (2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ                 มติของคณะรัฐมนตรี  นโยบายของรัฐบาล  และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
           หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
            มาตรานี้มีฐานความผิดสองฐาน คือ
                      1. ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ                 มติของคณะรัฐมนตรี  หรือ นโยบายของรัฐบาล
                          ฐานความผิดนี้เป็นกรณีการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                      2. ฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ          
                           ฐานความผิดนี้  ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                        คำว่า กฎหมาย

                       คำว่า กฎ  

                       คำว่า ระเบียบของทางราชการ            

                       คำว่า นโยบายของทางราชการ  

                       คำว่า ระเบียบแบบแผนของทางราชการ                        
                มาตรา 82 (3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความ                 ตั้งใจ  อุตสาหะ  เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 มาตรา 82 (3)  นี้ ถือเอา ผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ที่เกิดขึ้นเป็นเกณฑ์สำคัญ มิได้ถือเอาความตั้งใจเป็นเกณฑ์สำคัญ  ดังนั้นความตั้งใจก็ดี  ความอุตสาหะก็ดี  ความเอาใจใส่ และการรักษาประโยชน์ของทางราชการก็ดี  เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้เกิดผลดีและความก้าวหน้าแก่ราชการเท่านั้น
                มาตรา 82 (4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
­                 หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. ผู้บังคับบัญชา ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
                 2. คำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นการใช้อำนาจของรัฐ
                 3. คำสั่งของผู้บังคับบัญชาต้องเป็นเรื่องที่สั่งในหน้าที่ราชการคือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                 4. ต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
                 5. การขัดขืน หรือหลีกเลี่ยง  ผู้กระทำผิด ต้องมีเจตนาขัดขืน หรือหลีกเลี่ยงด้วย   

                มาตรา 82 (5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
                                       คำว่า อุทิศ  หมายความว่า  สละให้ 
                                       คำว่า เวลาของตน  หมายความรวมถึงเวลานอกเหนือจากเวลาที่ต้องปฏิบัติราชการด้วย เช่น หลังเลิกงานแล้ว  หรือวันหยุดราชการ  ถ้าผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้มาปฏิบัติราชการ  เมื่อได้รับคำสั่งแล้วไม่มาโดยไม่มีเหตุผลจะมีความผิดฐานไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการและฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา
                                      คำว่า ละทิ้ง   หมายถึง ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ คือ ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเลย หรือ มาลงชื่อแล้วไม่อยู่ปฏิบัติราชการ เช่นออกไปนอกสำนักงาน 
                                     คำว่า ทอดทิ้ง   หมายถึง ไม่เอาเป็นธุระ  ไม่เอาใจใส่ คือตัวอยู่ในสถานที่ทำงาน แต่ไม่ยอมทำงาน
                                     ข้อสังเกต  จะผิดฐานนี้จะต้องมีหน้าที่ราชการก่อน 

                มาตรา 82 (6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
                     ความลับของทางราชการ คือสิ่งที่ทางราชการยังไม่มีคำสั่งให้เปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล  ข่าวสาร หรือสิ่งใดๆ ก็ตาม
                     ความลับของทางราชการ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ  ลับที่สุด  ลับมาก  ลับ
                     ลับที่สุด  หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด
                     ลับมาก  หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง
                     ลับ หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ

                มาตรา 82 (7) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 มาตรา 82 (7)  กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนปฏิบัติต่อข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ  รวม 3 ประการ คือ
                                      1. ให้สุภาพเรียบร้อย
                                      2. ให้รักษาความสามัคคี
                                      3. ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติหน้าที่
                                           คำว่า สุภาพเรียบร้อย ...................

                มาตรา 82 (8) ต้องต้อนรับ   ให้ความสะดวก   ให้ความเป็นธรรม  และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน

                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                มาตรา 82 (8)  แบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ
                1. ต้องต้อนรับประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                2. ต้องให้ความสะดวกแก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                3. ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                4. ต้องให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 94 บัญญัติว่า
                 ข้าราชการพลเรือนต้องต้อนรับ  ให้ความสะดวก   ให้ความเป็นธรรม  และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย........
      
                มาตรา 82 (9)   ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย
           มาตรา 82 (9)  แยกความผิดออกได้เป็น 2 กรณี คือ
                 1. ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการ
                     1.1 ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                     1.2 ปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
                 2. ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการ
                      ระเบียบนี้ ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 ระเบียบนี้เป็นข้อห้าม มี 11 ข้อ
  .         
                มาตรา 82 (10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย

                การที่วินัยบทนี้ต้องให้ข้าราชการรักษาชื่อเสียงของตน เนื่องจากราชการถือว่าข้าราชการเป็นผู้มีเกียรติ เมื่อเป็นผู้มีเกียรติจึงเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นข้าราชการ  ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติใดๆ ต้องรักษาชื่อเสียงของตนไว้มิให้เสื่อมเสีย
                 คำว่า เกียรติศักดิ์ หมายถึง  ฐานะที่ได้รับการสรรเสริญ  ดังนั้นการรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของข้าราชการ จึงไม่เท่ากัน เช่นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมครู อาจารย์  ข้าราชการฝ่ายปกครอง ต้องรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมากกว่าข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือข้าราชการตำแหน่งทั่วๆ ไป
                  คำว่า เสื่อมเสีย หมายถึง  เสียหาย ไม่เชื่อถือ  ไม่ไว้วางใจ  ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535  มาตรา 98 วรรคหนึ่ง ใช้คำว่า ประพฤติชั่วไม่ร้ายแรง และ ก.พ. เคยวางหลักในการพิจารณาเรื่องประพฤติชั่วไว้ โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้
                  1. เกียรติของข้าราชการ
                  2. ความรู้สึกของสังคม
                  3. เจตนาที่กระทำ
                      ดังนั้นองค์ประกอบนี้จึงนำไปใช้กับเรื่อง เสื่อมเสีย ได้              

                มาตรา 82 (11) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก..
           ขณะนี้ ( วันที่ 19 กรกฎาคม 2553) ก.พ. ยังไม่ได้ออกกฎ  จึงไม่ทราบว่ามีการกระทำอย่างไรบ้างที่เป็นความผิด

              มาตราที่เกี่ยวข้องกับ มาตร 82 คือมาตรา 84 และ มาตรา 85 (7) และ (8)
                มาตรา 84  ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย
                ดังนั้น การปรับบทฐานความผิดตามมาตรา 82  จะต้องปรับมาตรา 84 ด้วย

                 มาตรา 85 (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
                 มาตรา 85 (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสองและมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.. กำหนดให้เป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง 

               มาตรา 83  ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้
                มาตรา 83 (1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. ต้องมีการรายงาน   คำว่า  รายงาน.............
                 2. ข้อความที่รายงานเป็นเท็จ
                 3. เป็นการรายงานต่อผู้บังคับบัญชา  คำว่า  ผู้บังคับบัญชา หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายเท่านั้น

                มาตรา 83 (2) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. เป็นการปฏิบัติราชการ
                 2. เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
                      ผู้บังคับบัญชาเหนือตน หมายถึงผู้บังคับบัญชาในลำดับที่ถัดจากตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
                 3. เป็นผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย

                มาตรา 83 (3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                   1. มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นหรือไม่
                   2. คำว่า ประโยชน์   ต้องเป็นประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
                    3. การอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะกระทำโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็เข้าข่ายผิดแล้ว

                มาตรา 83 (4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
                 หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                  1. คำว่า  ประมาทเลินเล่อ คือขาดความระมัดระวัง  ไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ
                  2. ประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ คือ
                      กระทำโดยประมาท  ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์  และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้  แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                           คำว่า  วิสัย   หมายถึง..............

                            คำว่า  พฤติการณ์   หมายถึง..............

                มาตรา 83 (5) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. คำว่า ประโยชน์   ต้องเป็นประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
                 2. คำว่าอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม
                 3. คำว่าอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
                      คำว่า เกียรติศักดิ์ หมายถึง  ฐานะที่ได้รับการสรรเสริญ 

                มาตรา 83 (6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

                 หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. ตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกับกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ เช่น กรรมการอำนวยการ  ผู้อำนวยการ
                2. ถ้าเป็นที่ปรึกษา หรือผู้ถือหุ้น  จะไม่เข้าเงื่อนไข มาตรา 83 (6)
                3. ข้าราชการไปเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิต ได้หรือไม่  กรณีนี้ ก.พ. เคยตอบข้อหารือว่าเป็นได้  เพราะลักษณะงานไม่คล้ายคลึงกัน
                 4. จุดมุ่งหมายของวินัยบทนี้คือ กลัวว่าข้าราชการจะละทิ้งเวลาราชการ  ไปทำงานในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือจะมีการเอื้อประโยชน์ให้กัน

                มาตรา 83 (7) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า กลั่นแกล้ง   หมายถึง  หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่างๆ, แกล้งใส่ความ
                2. คำว่า กดขี่    หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอา,  แสดงอำนาจเอา
                3. คำว่า ข่มเหง   หมายถึง ใช้กำลังรังแก, แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

                มาตรา 83 (8) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก..

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า ล่วงละเมิดทางเพศ  หมายถึง ล่วงเกิน, ฝ่าฝืนจารีตประเพณี, ฝ่าฝืนกฎหมาย
                2. คำว่า คุกคามทางเพศ  หมายถึง ทำให้หวาดกลัว, แสดงอำนาจกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว
                3.  การล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศ หมายถึง ชายทำกับหญิงหรือหญิงทำกับชายหรือเพศเดียวกันกระทำต่อกันก็ได้
                4. ขณะนี้ (19 กรกฎาคม 2553)  ก.พ. ยังไม่ได้กำหนดว่าการกระทำอย่างไรที่เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ   ดังนั้นหากมีการกระทำผิดเกิดขึ้น  ในขณะนี้ต้องปรับบทฐานความผิดเป็นเรื่อง เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82 (10)  หรือ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85 (5)  ไปก่อน

                มาตรา 83 (9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ

                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
            1. คำว่า ดูหมิ่น   หมายถึง แสดงกิริยา ท่าทาง พูดจา  หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต้อยต่ำหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง  คำว่า เหยียดหยาม หมายถึง  ดูหมิ่น   
                2. คำว่า กดขี่    หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอา,  แสดงอำนาจเอา
                3. คำว่า ข่มเหง   หมายถึง ใช้กำลังรังแก, แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
                4. เป็นการกระทำต่อประชาชนผู้มาติดต่อราชการ   ประชาชนหมายถึงบุคคลทั่วไปคือชาวไทยหรือชาวต่างประเทศก็ได้

                มาตรา 83 (10) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก..
                 ขณะนี้ (วันที่ 19 กรกฎาคม 2553) ก.พ. ยังไม่ได้ออกกฎ  จึงไม่ทราบว่ามีการกระทำอย่างไรบ้างที่เป็นความผิด

                มาตรา 84  ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย
                ดังนั้น การปรับบทฐานความผิดตามมาตรา  83 จะต้องปรับมาตรา 84 ด้วย

               มาตรา 85 (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
                มาตรา 85 (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสองและมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.. กำหนดให้เป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง 

               มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
               มาตรา 85 (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
               1. มาตรา 85 (1)  มีความผิดวินัย 2 ฐานความผิด
                   1.1 ความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
                         (1)  มีหน้าที่ราชการจะต้องปฏิบัติ
                         (2) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
                         (3) เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
                               คำว่า เพื่อ   คือมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือเจตนาเล็งเห็นผล
                   1.2 ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
                         (1)  มีหน้าที่ราชการจะต้องปฏิบัติ
                         (2) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
                         (3) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
                         (4) โดยมีเจตนาทุจริต
               2.  คำว่า ปฏิบัติหน้าที่ราชการ  คือ..............
                                 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คือ...............

                 3. คำว่า มิชอบ  คือ................
  
               มาตรา 85 (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. คำว่า โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
                 2. คำว่า เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง

               มาตรา 85 (3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า ติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน
                2. คำว่า โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
                 3. คำว่า มีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

               มาตรา 85 (4) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
               คำว่า ประพฤติชั่ว ก.พ. เคยวางหลักในการพิจารณาเรื่องประพฤติชั่วไว้ โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้
                    1. เกียรติของข้าราชการ

                    2. ความรู้สึกของสังคม

                    3. เจตนาที่กระทำ
                    
                      ตัวอย่างเรื่องประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
                      1. เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้
                      2. หมกมุ่นในการพนัน
                      3. ทุจริตในการสอบ
                      4. เบิกค่าพาหนะ หรือเบี้ยเลี้ยงเป็นเท็จ
                      5. ปลอมเอกสาร
                      6. รับรองเอกสารเท็จ
                      7. กระทำความผิดทางอาญา
                      8. มีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว

               มาตรา 85 (5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า ดูหมิ่น   หมายถึง แสดงกิริยา ท่าทาง พูดจา  หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต้อยต่ำหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง  คำว่า เหยียดหยาม หมายถึง  ดูหมิ่น   
                2. คำว่า กดขี่    หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอา,  แสดงอำนาจเอา
                3. คำว่า ข่มเหง   หมายถึง ใช้กำลังรังแก, แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
                4. ประชาชนผู้ติดต่อราชการ

               มาตรา 85 (6) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. กระทำความผิดทางอาญา
                 2. จนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก คือ ประหารชีวิต
                 3. คำพิพากษาให้จำคุกถึงที่สุดแล้ว
                 4. ข้อยกเว้น กรณีถูกจำคุก โดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ

               มาตรา 85 (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
               มาตรา 85 (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง
และมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.. กำหนดให้เป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง 

               มาตรา 86 กฎ ก.. ตามมาตรา 80 วรรคสอง มาตรา 82 (11) มาตรา 83 (8)และ (10) และมาตรา 85 (8) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.. ดังกล่าวใช้บังคับ


                                                 .............................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท