หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "

หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "
หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ

พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ
พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาค ก 3.2 คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

ภาค ก 3.2 คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

ภาพประกอบ
ความหมาย
คำว่า “คุณธรรม จริยธรรม และ ศีลธรรม”
การออกแบบน้องคุณธรรม น้องจริยธรรม และน้องศีลธรรม เพื่อแทนค่าความหมายของ คำว่า “คนดี” ให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่สามารถสัมผัสได้ อันจะเป็นการกระตุ้นเตือนใจ ให้เกิดอนุสสติ มีจิตสำนึกในการตั้งตน  อยู่ในความดีงามตลอดไป

คุณธรรม  คือ   ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ   จนเกิดจิตสำนึกที่ดี  มีความกตัญญู  เป็นต้น
จริยธรรม  คือ  การประพฤติปฏิบัติตามความดีงามแห่งคุณธรรมนั้น
ศีลธรรม   คือ  การไม่ละเมิดต่อสิ่งที่จะเป็นเหตุทำลายความดีงามแห่งคุณธรรมจริยธรรมให้เสื่อมลง
คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี  จึงได้ชื่อว่า  “เป็นผู้มีคุณธรรม
จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ  ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี  ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น  จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม” 
ศีลธรรม คือ ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้ละเมิด ต่อสิ่งที่จะทำลายความดีงามแห่งคุณธรรมจริยธรรม ให้เสื่อมลง ทั้งกฏหมาย ระเบียบ วินัย และจารีตประเพณี ที่ดีงามของสังคม  เมื่อเกิดศีลธรรมขึ้นแล้ว ก็จะนำความสงบร่มเย็นใจ มาสู่ตนเอง ครอบครัว และสังคม  จึงได้ชื่อว่า   “เป็นผู้มีศีลธรรม
ที่มา:พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

คุณธรรม (Moral )
คุณธรรม คือ คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี
คุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อคุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรง ความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจและอื่น ๆ การฝึกฝน และปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม ไม่จำเป็นต้องพะวงในการเรียกชื่อคุณธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของลัทธิใด การฝึกฝนคุณธรรมควรฝึกตาม ความต้องการและสภาพแวดล้อม ประเทศไทยในสมัยปัจจุบันกำลังมุ่งปลูกผังคุณธรรมสำหรับประชาชน ๔ ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้

๑. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
๒. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
๓. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
๔. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมตามแนวคิดของอริสโตเติล อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ให้แนวทางของคุณธรรมหลัก ๆ ไว้ ๔ ประการ คือ
๑. ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
๒. ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง
๓. การรู้จักประมาณ คือ รู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของตน
๔. ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม

การพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึกตระหนักว่าอะไรดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรไม่ดี และปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย การพัฒนาในสิ่งดังกล่าวควรใช้สิ่งโน้มนำให้มีคุณธรรมสูง มีความระลึกได้ว่าอะไรไม่ควร และความรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ ผู้หวังความสงบสุขความเจริญและความมั่นคงแก่ตนเองและประเทศชาติ ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรม คุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับบุคลากรที่พึงประสงค์ขององค์การ องค์การควรให้การส่งเสริมสนับสนุนและชักจูงให้บุคลากรขององค์การสนใจคุณธรรมและพร้อมปฏิบัติกับชีวิตการทำงานของตนเอง

ที่มา http://www.dhamma.mbu.ac.th
คุณธรรม (อังกฤษvirtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี"[1] เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นรากฐานของหลักการและสัตศีลธรรมดี คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นค่านิยมว่าส่งเสริมความยิ่งใหญ่โดยรวมและปัจเจก ตรงข้ามกับคุณธรรม คือ ความชั่วร้าย (vice)

สมัยโบราณ[แก้]

คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของมาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้างๆของค่านิยม บุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลักของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคนๆนั้น ความซื่อสัตย์ต่อเอง (integrity) ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของคนๆนั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขา สังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ค่านิยมส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม
คุณธรรมของบุคคล สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มแบ่งตามค่านิยม:
  • จริยธรรม (ดี - เลว, มีศีลธรรม - ขัดศีลธรรม - ไร้ศีลธรรม, ถูก - ผิด)
  • สุนทรียภาพ (ไม่สมดุล, พอใจ)
  • ลัทธิคำสอน (การเมือง, ศาสนา, ค่านิยมและกระแสสังคม)
  • คุณธรรมโดยกำเนิดสันดาน
คุณธรรมสำคัญของวัฒนธรรมตะวันตกคลาสสิก (The four classic Western Cardinal virtues) คือ:
ซึ่งคุณธรรมเหล่านี้มีที่มาจากปรัชญากรีก เช่น งานเขียนของ พลาโต ซึ่งอาจรวมถึงงานของโซคราติส

คุณธรรมของอริสโตเติล[แก้]

อริสโตเติลนิยาม คุณธรรม ว่าคือ จุดสมดุลระหว่างความขาดและเกินของคุณลักษณะ[2] โดยคุณธรรมสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ตรงกลางๆ แต่อยู่ที่จุดเฉลี่ยทอง ที่บางครั้งก็ใกล้ปลายหนึ่งมากกว่าอีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขี้ขลาด กับ ความโง่เขลา ความมั่นใจ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความน้อยเนื้อต่ำใจ กับ ความหลงตัวเอง ความโอบอ้อมอารี เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขัดสน กับ ความฟุ้มเฟือย
อริสโตเติลเชื่อว่า การเป็นคนเป็นสิ่งประเสริฐ ที่ได้มีทักษะในการดำรงชีวิต ในการเจริญก้าวหน้า ในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และในการแสวงหาความสุข การเรียนรู้คุณธรรมอาจจะยากตอนแรกๆ แต่มันจะง่ายขึ้นถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย

คุณธรรมแบบโรมัน[แก้]

  • อำนาจทางจิตวิญญาณ (Auctoritas หรือ "Spiritual Authority") การมีจุดยืนทางความคิด
  • ความเป็นมิตร (Comitas หรือ "Humour") ความสุภาพ ใจกว้าง และเป็นมิตร
  • ความบากบั่นภาคเพียร (Constantia หรือ "Perseverance") ความมุมานะ พยายาม อดทน
  • ความอ่อนโยน (Clementia หรือ "Mercy")
  • ศักดิ์ศรี (Dignitas หรือ "Dignity") การมีคุณค่าแห่งตน มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
  • วินัย (Disciplina หรือ "Discipline")
  • ความมั่นคงเด็ดเดี่ยว (Firmitas หรือ "Tenacity") ความแข็งแกร่งของจิตใจที่จะยึดมั่นกับจุดมุ่งหมาย
  • ความประหยัดมัธยัสถ์ (Frugalitas หรือ "Frugality")
  • ความรับผิดชอบ (Gravitas หรือ "Gravity") การรู้ถึงความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย
  • ความน่านับถือ (Honestas หรือ "Respectability")
  • การรู้จักมารยาทธรรมเนียม (Humanitas หรือ "Humanity")
  • การขยันทำงานหนัก (Industria หรือ "Industriousness")
  • การมีความยุติธรรม (Iustitia หรือ "Justice")
  • ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Pietas หรือ "Dutifulness")
  • ความรอบคอบ (Prudentia หรือ "Prudence")
  • การรักษาสุขภาพและความสะอาด (Salubritas หรือ "Wholesomeness")
  • การควบคุมตัวเอง (Severitas หรือ "Sternness")
  • ความซื่อสัตย์ (Veritas หรือ "Truthfulness")
  • ความเป็นลูกผู้ชาย (Virtus หรือ "Manliness") ความองอาจ กล้าหาญ

ปรัญชาจีน[แก้]

"คุณธรรม" หรือ เต๋อ (ในภาษาจีน ) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในปรัญชาจีน โดยเฉพาะลัทธิเต๋า เต๋อ (จีนพินอินเวด-ไจลส์te) เดิมที หมายถึง คุณธรรม ในแง่ของ บุคคลิกส่วนตัวของบุคคล ความแข็งแกร่งภายใน และ ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหลักการ (integrity) แต่ความหมายได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของศีลธรรม
หลักศีลธรรมของขงจื้อ จะกล่าวถืง มนุษยธรรม (humanity), การเคารพพ่อแม่และบรรพชน (filial piety), และ การพฤติตนให้เหมาะสม ปฏิบัติตามประเพณี (proper behavior, performance of rituals)[3]
แต่ความหมายของ เต๋อ (จีนพินอินเวด-ไจลส์te) สำหรับลัทธิเต๋าแล้วละเอียดอ่อนกว่าขงจื้อมาก ซึ่งคร่าวๆคือ การดำเนินชีวิตตามวิถีแห่งเต๋า ค่านิยมหนึ่งที่สำคัญมากของจีนก็คือ บุคคลควรจะมีสถานะทางสังคม ที่เป็นผลมาจากคุณธรรมของเขาที่ได้แสดงออกมา ไม่ใช่ได้สถานะมาจากการชาติตระกูล
ขงจื้ออธิบายความหมายคำว่า เต๋อไว้ว่า "ผู้ถือไว้ซึ่งคุณธรรมนั้น เปรียบได้กับดาวเหนือ ที่ยึดมั่นในที่ของตน เป็นดาวอื่นๆที่ต้องหมุนรอบๆมัน"[4]

ประเพณีทางศาสนา[แก้]

ศาสนาคริสต์[แก้]

ศาสนาคริสต์ ถือว่า ความศรัทธา (faith), ความหวัง (hope), และ ความรัก (love) คือ คุณธรรม โดยคุณธรรมทั้งสามนี้มาจาก 1 Corinthians 13:13 (νυνι δε μενει πιστις ελπις αγαπη τα τρια ταυτα μειζων δε τουτων η αγαπη (pistis, elpis, agape)).

ศาสนาอิสลาม[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว มุสลิมเชื่อว่า อัลกุรอาน เป็นแหล่งรวบรวมคุณธรรมทั้งหมดไว้ อิสลามโดยชื่อแล้ว หมายถึง การยอม ซึ่งคือ การยอมรับประสงค์ของอัลลอฮ์ การยอมรับสิ่งต่างๆในแบบที่มันเป็น คุณธรรมที่เด่นที่สุดคือ ความกรุณา และ ความเมตตา โดยแต่บทของทั้ง 114 บทใน อัลกุรอาน (โดยยกเว้น แค่บทเดียว) เริ่มต้นด้วย "In the name of God the Compassionate, the Merciful".[5]
คุณธรรม ตามความเชื่อของมุสลิม: การสวดมนต์, การสำนึกบาป, ความซื่อสัตย์, ความจงรักภักดี, ความจริงใจ, การประหยัด, ความรอบคอบ, ความรู้จักประมาณ, การควบคุมตัวเอง, วินัย, ความพากเพียร, ความอดทน, ความหวัง, ศักดิ์ศรี, ความกล้าหาญ, ความยุติธรรม, ความใจกว้าง (tolerance), ปัญญา, การพูดดี, ความเคารพ, ความบริสุทธิ์, ความสุภาพ, ความใจดี, ความรู้คุณ, ความโอบอ้อมอารีย์, ความพอใจ[6]

ศาสนาฮินดู[แก้]

  • การเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น (Altruism): การบำเพ็ญประโยชน์กับมนุษยชาติอย่างไม่เห็นแก่ตัว
  • การควบคุมตัวเอง (Self Control) และการรู้จักพอประมาณ (Moderation): การรู้จักควบคุมตัวเองและพอประมาณในทุกๆสิ่ง ความสัมพันธ์ทางเพศ อาหาร กิจกรรมบันเทิงต่างๆ
  • ความซื่อสัตย์ (Honesty): การซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อน ต่อมนุษยชาติ
  • ความสะอาด (Cleanliness): ความสะอาดภายนอกคือการรักษาสุขภาพและสุขลักษณะที่ดี ความสะอาดภายในคือการบูชาพระเจ้า ความไม่เห็นแก่ตัว อหิงสา การละเว้นจากของมึนเมาต่างๆ
  • การปกป้องและเคารพต่อโลก (Protection and reverence for the Earth)
  • การใจกว้าง (Universality): การเป็นคนใจกว้างและเคารพทุกๆคน ทุกๆสิ่ง และวิถีของเอกภพ
  • การมีสันติภาพ (Peace): การฝึกนิสัยให้มีกริยาที่สงบสันติเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลรอบข้าง
  • การไม่ใช้ความรุนแรง/อหิงสา (Non-Violence/Ahimsa): การไม่ฆ่าหรือการทำรุนแรงกับสิ่งมีชีวิตใดๆไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
  • การให้ความเคารพคนชราและครูอาจารย์ (Reverence for elders and teachers)

ศาสนาพุทธ[แก้]

พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามแนวทางของมรรค ๘ ซึ่งอาจนับเป็นรายการจำแนกคุณธรรม ดังนี้ 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เข้าใจอริยสัจ 4 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม 4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง 5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน 6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม 7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ 8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ยังมี Buddhavamsa[7] โดย the Ten Perfections (dasa pāramiyo) ได้แก่:
  1. ทาน Dāna parami : ความโอบอ้อมอารีย์ การเสียสละตน
  2. ศีล Sīla parami : ศีลธรรม การประพฤติตนอย่างเหมาะสม
  3. เนกขัมมะ Nekkhamma parami : การสละจากทางโลก.
  4. ปัญญา Paññā parami การรู้ซึ้งเข้าใจธรรม
  5. วิริยะ Vīriya parami : ความพยายาม ความขยัน พากเพียร
  6. ขันติ Khanti parami : ความอดทน ความใจกว้าง
  7. สัตย์ Sacca parami : ความถึงซื่งความจริง ความซื่อสัตย์
  8. อธิษฐาน Adhiṭṭhāna parami : ความแน่วแน่ มุ่งมั่น
  9. เมตตา Mettā parami : ความหวังดี ความใจดี ความเห็นอกเห็นใจ
  10. อุเบกขา Upekkhā parami : การรู้จักปล่อยวาง การยอมรับสิ่งต่างๆตามสภาพที่เป็น
ในพุทธศาสนานิกายมหายาน พระสูตรดอกบัว (the Lotus Sutra; Saddharmapundarika) ได้ระบุถึง the Six Perfections ไว้ว่าคือ:
  1. ทาน Dāna paramita: (ภาษาจีน, 布施波羅蜜).
  2. ศีล Śīla paramita : (持戒波羅蜜).
  3. ขันติ Kṣānti (kshanti) paramita : (忍辱波羅蜜).
  4. วิริยะ Vīrya paramita : (精進波羅蜜).
  5. ณาน Dhyāna paramita : การมีสมาธิมุ่งไปที่จุดๆเดียว (禪定波羅蜜).
  6. ปัญญา Prajñā paramita : (智慧波羅蜜).

มุมมองของนักปรัชญา[แก้]

เบนจามิน แฟรงคลิน[แก้]

เบนจามิน แฟรงคลิน เขียนรายการคุณธรรม[8]ที่เขาใช้ตรวจสอบชีวิตประจำวันของเขาไว้ดังนี้
  1. การควบคุมตัวเอง (Temperance): Eat not to Dullness. Drink not to Elevation.
  2. การรู้จักเงียบ (Silence): Speak not but what may benefit others or yourself. Avoid trifling Conversation.
  3. การจัดการสิ่งต่างๆให้เป็นระเบียบ (Order): Let all your Things have their Places. Let each Part of your Business have its Time.
  4. การแก้ปัญหา (Resolution): Resolve to perform what you ought. Perform without fail what you resolve.
  5. การประหยัดมัธยัสถ์ (Frugality): Make no Expense but to do good to others or yourself; i.e. Waste nothing.
  6. การขยันทำงานและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ (Industry): Lose no Time. Be always employed in something useful. Cut off all unnecessary Actions.
  7. ความจริงใจ (Sincerity): Use no hurtful Deceit. Think innocently and justly; and, if you speak, speak accordingly.
  8. ความยุติธรรม (Justice): Wrong none, by doing Injuries or omitting the Benefits that are your Duty.
  9. ความรู้จักพอประมาณ (Moderation): Avoid Extremes. Forbear resenting Injuries so much as you think they deserve.
  10. การรักษาความสะอาด (Cleanliness): Tolerate no Uncleanness in Body, Clothes or Habitation.
  11. การแสวงหาความสงบ (Tranquility): Be not disturbed at Trifles, or at Accidents common or unavoidable.
  12. การประพฤติพรรมจรรย์ (Chastity): Rarely use Venery but for Health or Offspring; Never to Dullness, Weakness, or the Injury of your own or another's Peace or Reputation.
  13. การอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility): Imitate Jesus and Socrates.

คุณธรรมตามกลุ่มบุคคล[แก้]

ค่านิยมซามูไร[แก้]

Miyamoto MusashiSelf-portrait, Samurai, writer and artist, c. 1640
ฮากาคูเระ (Hagakure) ตำราซามูไร บันทึก คำกล่าวของ ยามาโมโต้ ซูเนะโตโมะ (Yamamoto Tsunetomo) เกี่ยวกับ มุมมองของเขาเรื่องคุณธรรม ที่เขาสาบานปฏิบัติทุกๆวันไว้ว่า
  1. อย่าให้ใครปฏิบัติกฎซามูไร (Bushido) เกินหน้าได้
  2. ทำตัวให้เป็นประโยชน์กับเจ้านาย
  3. ทำตัวเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่
  4. มีความเมตตา และทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
กฎของซามูไร (Bushidō code) โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบไปด้วยคุณธรรมเจ็ดข้อ:
  • เที่ยงธรรม (Rectitude หรือ 義 ,gi)
  • กล้าหาญ (Courage หรือ 勇 ,yuu)
  • เป็นประโยชน์ (Benevolence หรือ 仁 ,jin)
  • เคารพ (Respect หรือ 礼 ,rei)
  • ซื่อสัตย์ (Honesty หรือ 誠 ,sei)
  • มีเกียรติ (Honor หรือ 誉 ,yo)
  • ภักดี (Loyalty หรือ 忠 ,chuu)

คุณธรรมอัศวิน[แก้]

คุณธรรมของอัศวิน คือ กฎธรรมเนียมที่อัศวินในยุคกลางยึดถือ มันเป็นเสมือนกับมาตรฐานของอัศวินที่จะต้องยึดเป็นหลักปฏิบัติทุกๆวัน[9]
เครื่องหมายคำสั่งของเซนต์ จอห์น (Order of St. John)[10] ซึ่งเป็นกางเขนแปดแฉก โดยกางเขนสี่ก้านมีรูปสิงโตและยูนิคอร์นพิทักษ์ขั้นอยู่ สี่ก้านของกางเขนหมายถึง ความรอบคอบ (Prudence), การควบคุมตัวเอง (Temperance), ความยุติธรรม (Justice), และ ความกล้าหาญ (Fortitude) และ แปดแฉก หมายถึงสุขคติทั้งแปด ซึ่งคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility), เมตตา (Compassion), มารยาทความสุภาพ (Courtesy), การเสียสละ (Devotion), ความกรุณา (Mercy), ความบริสุทธิ์ (Purity), สันติ (Peace), และความทรหดอดทน (Endurance)

คาวบอย[แก้]

คุณธรรมตามภาพพจน์ของคาวบอยที่กระแสหลักของสังคมอเมริกันยอมรับคือ ความซื่อสัตย์ (honesty), ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหลักการ (integrity), ความกล้าหาญ (courage), และ ความพึ่งพาตัวเองได้ (self-reliance).[11]

อินเดียนแดง[แก้]

สี่คุณธรรมที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นคุณธรรมสำคัญทางจิตวิญญาณของชนพื้นเมืองในอเมริกาคือ เคารพเทพเจ้า (respect for deity), เคารพพระแม่ธรณี (respect for Mother Earth), เคารพต่อเพื่อนมนุษย์ (respect for one’s fellow man), และ เคารพต่ออิสรภาพของปัจเจกชน (respect for individual freedom)[12]

คุณธรรมตามจิตวิทยาสมัยใหม่[แก้]

คริสโตเฟอร์ ปีเตอร์สัน (Christopher Peterson) และ มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Seligman) ซึ่งเป็นนักวิจัยชั้นนำทางด้านจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) ได้เสนอรายการของบุคลิกภาพและคุณธรรม ในหนังสือ Character Strengths and Virtues".[13] โดยใช้เวลาศึกษาอยู่ 3 ปี หนังสือได้จำแนก คุณธรรมออกเป็น 24 ชนิด (โดยแบ่งเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ) คุณธรรมเหล่านี้ได้จากการศึกษาจากวัฒนธรรมต่างๆ และก็พบความคล้ายคลึงกันของคุณธรรมตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน[14] ประเภทใหญ่ๆทั้ง 6 ของคุณธรรมได้แก่ ความกล้าหาญ (courage), ความยุติธรรม (justice), ความมีมนุษยธรรม (humanity), การควบคุมอารมณ์ (temperance), อุตรภาพ (transcendence), และ ปัญญา (wisdom).[15] หมายเหตุ นักจิตวิทยาบางคนยังเสนอแนะให้แบ่งคุณธรรมออกเป็นประเภทที่น้อยกว่า 6 ประเภท เช่น 24 คุณธรรมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น: คุณธรรมด้านการรู้การเข้าใจ (Cognitive Strengths), คุณธรรมด้านการควบคุมอารมณ์ (Temperance Strengths), และ คุณธรรมด้านสังคม (Social Strengths)[16]

จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ [1]
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม [2]

จริยธรรม

ความหมายของจริยธรรม
คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม กับ ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม
ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ เห็นว่า จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน
ส่วนศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งาม เห็นว่า จริยธรรมกับค่านิยมมีความหมายแตกต่างกันเฉพาะในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติยากที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ
  • จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
  • ค่านิยม หมายถึง ความโน้มเอียง หรือแนวทางที่คนจะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือและปฏิบัติตามแนวคิดนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ค่านิยมมีความหมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับความดีงามในความประพฤติ โดยผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากความประพฤตินั้น ๆ ถ้าหากเป็นเพียงเจตคติ (Attitude) ความเชื่อ (Belief) ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นค่านิยมจนกว่าจะได้พิจารณาถึงผลที่จะตามมาจากความประพฤติหรือการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบและมีการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
๑. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
๒. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
๓. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
๔. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
๕. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
๖. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
๗. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
๘. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
๙. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
๑๐. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๑๑. ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
พระราชวรมุนี ได้กล่าวถึงจริยธรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ การคลองชีวิตการใช้ชีวิตการเคลื่อนไหวของชีวิตทุกด้านทุกระดับ ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ การปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิ บำเพ็ญสมถะ เจริญวิปัสสนา
จากนิยามข้างต้น แม้ว่าจริยธรรมไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่คำว่าจริยธรรม จะมีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบ ซึ่งมีรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ เหตุที่จริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา เนื่องจากคําสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าจริยธรรมอิงอยู่กับหลักคําสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงจริยธรรมยังหยั่งรากอยู่บนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และโดยนัยนี้ บางท่านเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคําสอนทางศาสนาว่า ศีลธรรม และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่นว่าจริยธรรม นอกจากนี้จริยธรรมยังมิใช่กฎหมาย เนื่องจากกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้น คนมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม
ส่วนคำว่า จริยศาสตร์ มาจากภาษาสันสกฤต ๒ คำ คือ จริย หมายถึงความประพฤติ กับ ศาสตร์ หมายถึงความรู้ ถ้าจะแปลความตามตัวอักษร จริยศาสตร์ หมายถึงความรู้เกี่ยวกับความประพฤติ จริยศาสตร์ในภาษาอังกฤษ คือ Ethicslซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Ethos มีความหมายว่า Customllคือ ขนบธรรมเนียม หรือ ธรรมเนียมปฏิบัติ และคำว่า Ethics มีความหมายว่า ศาสตร์แห่งศีลธรรม (Science of Morals) ทั้งนี้ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายจริยศาสตร์ว่า เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
ดังนั้น จริยศาสตร์จึงหมายถึง ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่ใช้เหตุผลแยกความดีออกจากความชั่ว เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา และเป็นศาสตร์ที่เป็นบรรทัดฐานของความประพฤติของมนุษย์ ทำให้จริยศาสตร์มีความเด่นชัดแตกต่างไปจากศาสตร์ที่มีรูปแบบอื่น ๆ อาทิ คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เชิงผัสสะต่างๆ (Empirical Sciences) เช่น เคมี และฟิสิกส์
นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยธรรม ซึ่งบางกรณีอาจก่อให้เกิดความสับสน มีการนำไปใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง อาทิคำว่า จรรยา คุณธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ มโนธรรม มารยาท ธรรมาภิบาล กล่าวคือ
“จรรยา” (Etiquette) หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ เช่น จรรยาครู จรรยาตำรวจ ฯลฯ
“คุณธรรม” (Virtue) คือ คุณ + ธรรมะ เป็นคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของ ผู้นั้น คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่ฝึกฝนจนเป็นนิสัย เช่น ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน เสียสละ รับผิดชอบ
“จรรยาบรรณ” (Code of Conduct) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก
“มโนธรรม” (Conscience)หมายถึง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เชื่อกันว่า มนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึกว่าต้องการทำสิ่งหนึ่ง และรู้ว่าควรทำอีกสิ่งหนึ่ง
“มารยาท” (Manner) หมายถึง กิริยา วาจา ที่สังคมกำหนดไว้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีแตกต่างกันไป
“ธรรมาภิบาล” (Good Governance) หมายถึง การจัดการปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System)lซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate) ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน นิติธรรม ความโปร่งใส การตอบสนอง การแสวงหาฉันทามติ ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ภาระรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ยังคำที่มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า จริยธรรม อีกหนึ่งคำ คือ คำว่า ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King) ซึ่งหมายถึงจริยวัตร ๑๐ ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน ถือได้ว่าเป็นหลักจริยธรรมอีกอันหนึ่งสำหรับนักการเมือง ที่ต้องนำไปปฏิบัติในหน้าที่ทางการงานการปกครอง คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการ สามารถแจกแจงได้ ดังนี้
  • ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ
  • ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ
  • บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
  • ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
  • ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อ ผู้อาวุโส
  • ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
  • ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
  • ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
  • ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง
  • ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก
จากที่กล่าวมาข้างต้นคำว่าจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ล้วนมีเป้าหมายเพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนคำว่าธรรมาภิบาลใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร กล่าวโดยสรุปจริยธรรมคือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เป็นศีลธรรมที่ใช้เฉพาะกลุ่ม

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท