ภาค ก (ใหม่) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ของความเป็นครู มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ภาค ก (ใหม่) 1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ของความเป็นครู
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 189) ให้ความหมายว่า” คุณธรรม หมายถึงสภาพคุณงามความดี”
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตโต ) (2540: 14) ได้กล่าวว่าคุณธรรมเป็น ภาพของจิตใจกล่าวคือคุณสมบัติที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม ให้เป็นจิตใจที่สูง ประณีตและประเสริฐ เช่น
เมตตา คือ ความรักปรารถนาดี เป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือผู้อื่นมีความสุข
มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสำเร็จให้มีความสุขหรือก้าวหน้าในการทำสิ่งที่ดีงาม
อุเบกขา คือ การวางตัววางใจเป็นกลาง เพื่อรักษาธรรมเมื่อผู้อื่นควรจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาตามเหตุและผล
จาคะ คือ ความมีน้ำใจเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว
วศิน อินทสระ (2541: 106,113) กล่าวตามหลักจริยศาสตร์ว่า คุณธรรม คือ อุปนิสัยอันดีงามซึ่งสั่งสมอยู่ในดวงจิต อุปนิสัยอันนี้ได้มาจากความพยายามและความประพฤติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน... คุณธรรมสัมพันธ์กับหน้าที่อย่างมาก เพราะการทำหน้าที่จนเป็นนิสัย จะกลายเปํนอุปนิสัยอันดีงามที่สั่งสมในดวงจิตเป็นบารมี มีลักษณะอย่างเดียวกันนี้ ถ้าเป็นฝ่ายชั่ว เรียกว่า “อาสวะ” คือ กิเลสที่หมักหมมในดวงจิต ย้อมจิตให้เศร้าหมองเกรอะกรังด้วยความชั่วนานาประการกลายเป็นสันดานชั่ว ทำให้แก้ไขยากสอนยาก กล่าวโดยสรุป คุณธรรมคือความล้ำเลิศแห่งอุปนิสัยซึ่งเป็นผลของการการะทำหน้าที่จนกลายเป็นนิสัยนั่นเอง
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 15-16) กล่าวว่า คุณธรรมคือคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ ถ้าปลูกฝังเรื่องคุณธรรมได้จะเป็นพื้นฐานจรรยาบรรณ... จรรยาบรรณนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมในการที่จะพัฒนาต้องตีความออกไปว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีพื้นฐานจากคุณธรรมข้อใด เช่น เบญจศีลเป็นจริยธรรม เบญจธรรมเป็นคุณธรรมคือ ความเมตตากรุณา ถ้ามีความเมตตากรุณาจะมีฐานของศีลข้อที่ 1 เป็นต้น ส่วนจริยธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2538 : 216 ) ให้ความหมายว่า “จริยธรรมหมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม”
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2535: 81-82) กล่าวว่าจริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติ หรือแนวทางการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการประพฤติปฏิบัติจนให้เป็นคนดีเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
นอกจากนี้พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 2) ยังให้แนวคิดว่าจริยธรรมคือหลักแห่งความประพฤติดีงามสำหรับทุกคนในสังคม ถ้าเป็นข้อปฏิบัติทั่วไป เรียกว่าจริยธรรม ถ้าเป็นข้อควรประพฤติที่มีสาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ศีลธรรม แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยาธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นยังหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี แม้นักปราชญ์คนสำคัญ เช่น อริสโตเติล คานท์ มหาตมะคานธี ก็มีส่วนสร้างจริยธรรมสำหรับเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง
จากทัศนะของพระเมธีธรรมภรณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าจริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยความประพฤติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี ท่านผู้นี้มองจริยธรรมในฐานะที่เป็นระบบ อันมีศีลธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่ก็มีแนวคิดปรัชญา ค่านิยม ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีเข้ามาเกียวข้องด้วยจากที่กล่าวมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า คำว่า คุณธรรม จริยธรรม สองคำนี้เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านคุณงามความดี กล่าวคือ จริยธรรมคือความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกายและวาจา สมควรที่บุคคลจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ตนเองและคนในสังคมรอบข้างมีความสุข สงบ เยือกเย็น จริยธรรมเป็นเรื่องของการฝึกนิสัยที่ดี โดยกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ผู้มีความประพฤติดีงามอย่างแท้จริงจะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกในด้านดีอยู่ตลอดเวลา คือ มี “คุณธรรม “ อยู๋ในจิตใจหรืออาจกล่าวได้ว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมภายนอก ส่วนคุณธรรมเป็นสภาพคุณงามความดีภายในจิตใจ ซึ่งทั้งสองส่วนต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและวาจานั้น ย่อมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจและสติปัญญา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลจึงต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ควบคู่กันไป คือ การพัฒนาด้านสติปัญญา ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรม
ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรมจริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมืองการปกครอง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหารและนักการเมืองที่ดี ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริ-ยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ. ศ.2525 ไว้ ดังนี้
“.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว เป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำทางให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์..”
จริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม ที่จะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจิตใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไมก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลมีคุณค่ามีประโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองต่อไป
วศิน อินทสระ (2541 : 6-9) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของจริยธรรมดังจะกล่าวโดยย่อดังนี้
1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงและความสงบสุขของปัจเจกชน สังคมและประเทศชาติอย่างยิ่ง รัฐควรส่งเสริมประชาชนให้มีจริยธรรมเป็นอันดับแรก เพื่อให้เป็นแกนกลางของการพัฒนาด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง ฯลฯ การพัฒนาที่ขาดจริยธรรมเป็นหลักยึดย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าดี เพราะผู้มีความรู้แต่ขาดคุณธรรม ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้ด้อยความรู้ โดยท่านกล่าวว่า “ ผู้มีความรู้แต่ไม่รู้วิธีที่จะประพฤติตน ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้มีความรู้น้อย ถ้าเปรียบความรู้เหมือนดิน จริยธรรมย่อมเป็นเหมือนน้ำ ดินที่ไม่มีน้ำยึดเหนี่ยวเกาะกุมย่อมเป็นฝุ่นละอองให้ความรำคาญมากกว่าให้ประโยชน์ คนที่มีความรู้แต่ไม่มีจริยธรรมจึงมักเป็นคนที่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นอยู่เนืองๆ”
2. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้พร้อมๆไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่นๆ เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนำนั้นจะสูญเปล่าและเกิดผลเสียเป็นอันมากทำให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุข การที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคมละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไปขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ำใจในการดำเนินชีวิตซึ่งกันและกัน
3. จริยธรรม มิได้หมายถึง การถือศีล กินเพล เข้าวัดฟังธรรม จำศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทำประโยชน์ให้แก่สังคม แต่จริยธรรมหมายถึงความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เว้นสิ่งควรเว้น ทำสิ่งควรทำ ด้วยความฉลาดรอบคอบ รู้เหตุรู้ผลถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล ดังนั้นจะเห็นว่าจริยธรรมจึงจำเป็นและมีคุณค่าสำหรับทุกคนในทุกวิชาชีพทุกสังคม สังคมจะอยู่รอดด้วยจริยธรรม
4.การทุจริต คดโกง การเบียดเบียนกันในรูปแบบต่างๆอันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้น่าจะพอเลี้ยงชาวโลกไปได้อีกนาน ถ้าชาวโลกช่วยกันละทิ้งความละโมบโลภมาก แล้วมามีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม ยึดเอาจริยธรรมเป็นทางดำเนินชีวิต ไม่ใช่ยึดเอาลาภยศความมีหน้ามีตาในสังคมเป็นจุดหมาย ถ้าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นก็ถือเป็นเพียงผลพลอยได้และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประพฤติธรรม เช่น อาศัยลาภผลเป็นเครื่องมือในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อาศัยยศและความมีหน้ามีเกียรติในสังคมเป็นเครื่องมือในการจูงใจคนผู้เคารพนับถือเข้าหาธรรม
5. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุพการีของชาติ สอนให้เราถ่อมตัวเพื่อเข้าหากันได้ดีกับคนทั้งหลาย และไม่วางโตโอหังอวดดีหรือก้าวร้าวผู้อื่น สอนให้เราลดทิฏฐิมานะลงให้มากๆเพื่อจะได้มองเห็นสิ่งต่างๆตามความจริง ไม่หลงสำคัญตัวว่ารู้ดีกว่า มีความสามารถกว่าใคร ผู้นำที่มีจริยธรรมสูงย่อมเป็นที่เคารพกราบไหว้ของทั้งหลายได้อย่างสนิทใจ เราควรเลือกผู้นำที่สามารถนำความสงบสุขทางใจมาสู่มวลชนได้ด้วย เพื่อสันติสุขจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ความแข็งแกร่งทางกำลังกายกำลังทรัพย์และอาวุธนั้น ถ้าปราศจากความแข็งแกร่งทางจริยธรรมเสียแล้ว บุคคลหรือประเทศชาติจะมั่นคงอยู่ได้ไม่นาน สังคมที่เจริญมั่นคงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องรับรอบหรือเป็นแกนกลาง เหมือนถนนที่มั่นคงหรือตึกที่แข็งแรง เขาใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแม้เหล็กจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็นภายนอก แต่มีความสำคัญอยู่ภายในนายช่างย่อมรู้ดี ทำนองเดียวกันกับบัณฑิตย่อมมองเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าจริยธรรมมีความสำคัญในสังคมเพียงใด
จากข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอสรุปได้ว่าคุณธรรมจริยธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคน ปัญหาของสังคมไทยที่ประสบพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดจาก “คน” ปัญหาเริ่มต้นที่ “คน” และมีผลกระทบถึง “คน “ การแก้ปัญหาสังคมไทยจึงต้องแก้ด้วย “การพัฒนาคน” เพื่อให้คนมีปัญญา มีความรู้มีคุณธรรมและมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะพัฒนาคนอย่างไรเพื่อให้คนมีชีวิตที่ดีงามสามารถใช้ความรู้และแก้ปัญหาได้ สร้างสรรค์ได้ ปฏิบัติต่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง อยู่ในระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ บริโภคผลผลิตด้วยปัญญา รู้อะไรดี อะไรชั่ว มีทัศนคติทางจริยธรรมที่เหมาะสม ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของคนที่มีคุณธรรม การจัดการศึกษาคงต้องยึดหลักสำคัญคือ “ให้ความรู้คู่คุณธรรม “ สังคมไทยจึงจะมีสมาชิกของสังคมที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ดังคำกลอนของอำไพ สุจริตกุล (2534 : 186)
แหล่งที่มาของจริยธรรม
แหล่งที่เป็นบ่อเกิดของจริยธรรมที่เป็นแหล่งสำคัญ มีดังนี้
1. ปรัชญา วิชาปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง สาระของปรัชญาจะกล่าวถึงลักษณะของชีวิตที่พึงปรารถนาควรเป็นอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์ สภาพสังคมที่ดี ความคิดเชิงปรัชญาจะแถลงออกมาเป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผล จนคนต้องยอมรับว่าเป็นความคิดที่ได้รับการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบแล้วปรัชญาจะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับความดี ความงาม ค่านิยม เพื่อจะได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติประจำตัวต่อไป
2. ศาสนา คำสอนของศาสดาในศาสนาต่างๆ ตามที่ศาสดาเหล่านั้นท่านได้ปฏิบัติเองและสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม จนเกิดผลดีงามของการปฏิบัตินั้นเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว เช่น หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา คำสอนของศาสนาคริสต์ หรือข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
3. วรรณคดี หนังสือวรรณคดีเป็นหนังสือที่มีมาตรฐานทั้งด้านเนื้อหาสาระ คุณค่าและวิธีแต่ง จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ชาติที่เจริญด้วยวัฒนธรรมย่อมมีวรรณคดีเป็นของตนเองในหนังสือวรรณคดีจะมีแนวคิด คำสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง จึงกล่าวได้ว่าวรรณคดีก็เป็นแหล่งกำเนิดหรือเป็นที่รวบรวมแนวคิดทางจริยธรรมด้วย
4. สังคม สิ่งที่สังคมกำหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ถือปฏิบัติกันในสังคมและยอมรับสืบทอดกันมา
5. การเมืองการปกครอง ในระบอบการเมืองการปกครอง ได้กำหนดข้อบังคับระเบียบกฎหมายของบ้านเมือง จรรยาบรรณต่างๆ ซึ่งเป็นข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเพื่อความยุติธรรมโดยทั่วกัน
การเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดได้จากลักษณะต่อไปนี้
เกิดจากการเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับ การเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่แวดล้อมตนอยู่แล้วนำมาปรับเข้ากับตนเอง กระบวนการนี้จัดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญ่จะเกิดในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและชุมชน
การสร้างจริยธรรมในตนเอง โดยตัวเองเป็นผู้กำหนดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของมโนธรรม เหตุผลหรืออารมณ์ของมนุษย์ นักปรัชญาบางคนเช่นคานต์ (Kant) เชื่อว่า มนุษย์มีกฎจริยธรรมเกิดขึ้นในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด แนวศีลธรรม ให้ยึดถือปฏิบัติการบำเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตามหลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามที่ได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบำเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึงเป้าหมายของความเชื่อสูงสุดที่ยึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสุคติหรือหนทางดีงาม หลักจริยธรรมที่ขยายขอบเขตจากจุดเล็กสุดคือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก
ระดับจริยธรรม
เป้าหมายของคุณงามความดีที่บุคคลได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้วนั้น จะได้รับผลมากน้อยขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาของบุคคลนั้น ๆ ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งระดับจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะเนื่องในโลก เช่น ศีล 5 เป็นต้น โลกียธรรมเป็นธรรมขั้นต้นสำหรับผู้มีสติปัญญาไม่แก่กล้า การปฏิบัติตามโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ทำชั่วสร้างแต่คุณงามความดีและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นการน้อมนำเอาพุทธโอวาทมาปฏิบัติในฐานะที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ จริยธรรมในระดับโลกียธรรม จะถูกกำหนดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากคำสอนของศาสนาแล้วก็ยังมีองค์กรทางสังคม เช่น ระเบียบ กติกา จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ องค์กรทางการเมือง อันได้แก่ กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด เป็นต้น
2. ระดับโลกุตตรธรรม โลกุตตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือผู้พ้นจากกิเลส ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ จากระดับต่ำไปสู่ระดับสูง ดังนี้
องค์ประกอบของจริยธรรม
กรมวิชาการ (2535 : 5 ) ได้จัดทำเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย สรุปว่า จริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
ด้านความรู้ (moral reasoning) คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องได้ด้วยการคิด
ด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือ ความพึงพอใจ ความศรัทธาเลื่อมใส ความนิยมยินดี ที่จะรับจริยธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน
ด้านพฤติกรรม (moral conduct) คือการกระทำหรือหารแสดงออกของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากอิทธิพลของทั้งสององค์ประกอบข้างต้น
เนื่องจากองค์ประกอบของจริยธรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาคนในด้านจริยธรรมจึงต้องพัฒนา 3 ด้านไปด้วยกัน ในการดำเนินชีวิตของคนนั้น องค์ประกอบทั้ง 3 ประการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและทางวาจานั้น จะมีความสัมพันธ์กับทางจิตใจและสติปัญญา คนที่มีอารมณ์โกรธจะแสดงพฤติกรรมออกมาทางการก้าวร้าวรุนแรง และยิ่งเป็นคนที่มีปัญญาน้อยด้วยแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกก็จะก้าวร้าวรุนแรงยิ่งกว่าบุคคลที่มีสติปัญญาซึ่งจะสามารถควบคุมจิตใจของตนได้โดยไม่แสดงพฤติกรรมไม่ดีให้ออกมาปรากฏ นั่นก็แสดงว่าผู้มีสติปัญญาดีย่อมสามารถควบคุมอารมณ์และความประพฤติได้ดีกว่าผู้ด้อยปัญญานั่นเอง
แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ด้าน กล่าวคือ เริ่มจากการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญอันดับแรก ได้แก่ ปัญญาหรือความรู้ ด้วยเห็นว่า “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในทางที่ถูกต้องและเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นอิสระ เป็นสุขจากแรงกระทบกระทั่งทั้งปวงนั้น นักปราชญ์ทางการศึกษาได้เห็นพร้องกันดังนี้
พระธรรมปิฎก ( 2539 : 15-21) กล่าวไว้พอนำมาสรุปความได้ว่า มนุษย์นั้นเมื่อรับรู้ประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะมีความรู้สึกหรือเวทนาเกิดขึ้น ความรู้สึกนี้อาจเป็นได้ทั้งสุข เวทนา หรือทุกขเวทนา เมื่อมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมนุษย์ที่ยังมีอวิชชาก็จะมีปฏิกิริยาแตกต่างจากผู้มีปัญญา คือถ้าผู้มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ตัณหา” ตัณหาจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม การใช้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ก็เพราะมนุษย์ยังไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา การใช้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมอาจทำให้เกิดโทษหลายประการ คือ เป็นอันตรายต่อตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์หรือสังคม เป็นอันตายต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเกิดปัญหาเช่นนี้ เนื่องจากมนุษย์ปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมการแก้ปัญหา ก็คือ เราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมไม่ได้ มนุษย์จะต้องกำหนดรู้อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตของตนแล้วทำตามความรู้นั้น คือเอาความรู้เป็นตัวกำหนดนำพฤติกรรม
ดังนั้น ในการศึกษา จึงต้องฝึกคนให้พัฒนาปัญญา เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไป เช่นการบริโภคอาหาร ก็จะกำหนดรู้ด้วยปัญญาว่าเรากินเพื่อบำรุงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ให้มีความสุขภาพดี เพื่อให้เรามีชีวิตที่ผาสุก หรือเป็นเครื่องเกื้อหนุนชีวิตที่ดีงาม เพื่อการบำเพ็ญกิจอันประเสริฐคือการทำหน้าที่และประโยชน์ต่างๆ นั่นก็คือใช้ปัญญาในการทำหน้าที่รู้คุณค่าของอาหาร รู้ความประสงค์ในการกินการบริโภคและ “ปัญญา” นี้จะมาเป็นตัวนำพฤติกรรมตัวใหม่ “ปัญญา” จะมากำหนดพฤติกรรมแทน “ตัณหา” นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการศึกษาหรือการพัฒนาคน คือพัฒนาปัญญาหรือความรู้ก่อน นอกจากแนวคิดของพระธรรมปิฎกแล้ว ยีงมีแนวคิดของนักการศึกษาตะวันตกที่เห็นพร้องต้องกันกับแนวคิดนี้คือ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964 : 385-390) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาทางสติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โคลเบิร์กเชื่อว่าจริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กจะสอดคล้องกับทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ นักการศึกษาทั้งสองท่านเชื่อว่า จริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น และจากการศึกษาและวิจัยของโคลเบิร์ก (Kohlberg) ยืนยันว่าจริยธรรมมีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะและมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา
คุณธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี เพราะคุณธรรมเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั่วไป คุณธรรมตามแนวคิดของนักปราชญ์ทั้งหลายจึงจำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความรู้ความเข้าใจ ส่วนอารมณ์ความรู้สึกและส่วนที่เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงอกมา เช่น การปฏิบัติตามศาสนา การควบคุมตนเอง ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ฯลฯ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างถูกต้องดีงาม การที่ผู้บริหารจะพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม หรือการที่ผู้บริหารจะพัฒนาผู้อื่นที่แวดล้อมใกล้ชิดและเกี่ยวข้องอยู่ในความดูแล เพื่อให้เป็นบุคคลผู้มีคุณธรรมจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจ อารมณ์ เพื่อให้ทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นต่อไป
องค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมนี้ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า จิตใจเป็นส่วนสำคัญที่สุด เป็นตัวที่ควบคุมพฤติกรรมของคนดังคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” คำกล่าวนี้ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานให้พบเห็นเสมอว่า ความอุตสาหะ ความกล้าหาญ ความรัก ความชัง ฯลฯ ล้วนเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่มีผลให้คนแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน หากแต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเราย่อมอ่อนไหวผันแปรได้ง่าย หากไม่มีปัญญาเป็นตัวกำกับ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ เมื่อจิตใจผันผวนปรวนแปรพฤติกรรมของคนก็จะเปลี่ยนแปลง เพราะเกิดตัณหาเป็นตัวนำจิตใจ แต่ถ้าหากบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา รู้แจ้งในความเป็นจริงของโลกและชีวิต ปัญญาก็จะเป็นตัวชี้นำไม่ให้จิตใจอ่อนไหวไปตามสิ่งที่มากระทบ จิตใจก็จะเข้มแข็งไม่อ่อนไหวปรวนแปร จนเกิดผลกระทบไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ เพราะมีปัญญาเป็นตัวควบคุมจิตใจไว้อีกระดับหนึ่ง จึงสรุปได้ว่า ในองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วนนี้ “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ที่จะชี้นำให้จิตใจและพฤติกรรมของคนดำเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“ สพฺเพ ธมฺมา ปญฺญุตฺตา ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นเยี่ยมยอด”
แนวคิดของพุทธปรัชญา
“ ...เนื้อหาสาระและกฎเกณฑ์ของพระพุทธศาสนา
เกิดจากการค้นหาความจริงของชีวิตด้วยปัญญามนุษย์
พระพุทธศาสนาแสดงความจริงของชีวิต
แสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสูงสุดของชีวิต
มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุผลว่าทุกสิ่งเกิดจากเหตุ
ผู้ใดประกอบเหตุอย่างเพียงใด
ก็จะได้ผลอย่างนั้นเพียงนั้น...”
พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
โสคราตีส (Socrates) กล่าวถึงคุณธรรมว่า คุณธรรมคือความรู้ (virtue is knowledge) การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม คือการแสวงหาคุณธรรม เพราะคุณธรรมคือความรู้ที่แท้จริง ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริงๆ แล้ว เขาจะไม่พลาดจากการประกอบความดีละเว้นความชั่ว คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์มี 5 ประการ คือ
1. ปัญญา หรือความรู้ (wisdom) หมายถึง รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
2. การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (duty) คือ การทำความดี การเคารพยกย่องสิ่งที่ควรเคารพ เช่นพระผู้เป็นเจ้า พระธรรม การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
3. ความกล้าหาญ (courage) คือกล้าในสิ่งควรกล้าและกลัวในสิ่งควรกลัว
4.การควบคุมตนเอง (self control หรือ temperance) คือ การใช้ปัญญาควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก
5.ยุติธรรม (justice) คือการปฏิบัติต่อผู้อื่น และต่อตนเองอย่างเหมาะสม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เพลโต ( Plato) กล่าวว่า คุณธรรม คือ การปฏิบัติที่ดีตามหน้าทีของวิญญาณ และคุณธรรมไม่สารถเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เพราะมนุษย์จะต้องรู้ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร คุณธรรมจึงเกิดขึ้นจากความรู้ ไม่ใช่ความรู้ทฤษฏี แต่เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง คุณธรรมตามแนวคิดของเพลโต มี 4 ประการ คือ
1. ปัญญาหรือความรู้ (wisdom) คือการหยั่งรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ
2. ประมาณ (temperance) คือ การรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายชีวิต มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
3. กล้าหาญ (courage) คือ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตราย เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง หรือด้วยความมั่นใจว่าได้กระทำดีที่สุดแล้ว
4. ยุติธรรม (justice) คือการให้แก่ทุกคนอย่างเหมาะสม เช่น การให้แก่ตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างมีเหตุผลอันควร
อริสโตเติล (Aristotle) ได้นำคุณธรรมของเพลโต ( Plato) มาอธิบายว่าคุณธรรม ได้แก่ การเดินสายกลางระหว่างความไม่พอดีกับความพอดี หรือคุณธรรมคือความพอดีพองาม ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความกล้าหาญจะอยู่ระหว่างความบ้าบิ่นกับความขลาด ความสุภาพอยู่ระหว่างความขี้อายกับความไร้ยางอาย และความเอื้อเฟื้ออยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ คุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือการรู้และค้นหาความจริงนั่นเอง
2. คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปคำสอน ละมุ่งเพื่อความดีงาม คนมีคุณธรรมก็คือคนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม อริสโตเติลเสนอคุณธรรมพิเศษไว้ 4 ประการ คือ มิตรภาพ ประมาณ กล้าหาญ และยุติธรรม
หลักจริยธรรมของขงจื้อ
หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต
หลักจริยธรรมของศาสนาเชน
หลักจริยธรรมของศาสนาเต๋า
หลักจริยธรรมของศาสนาคริสต์
หลักจริยธรรมของศาสนาอิสลาม
หลักพุทธจริยศาสตร์
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงคำสอนให้เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งดีและชั่วติดตัวมาแต่ชาติก่อน (วศิน อินทสระ, 2541 : 81) กล่าวคือ พระพุทธศาสนายอมรับเรื่องชาติก่อน เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ช่วงเวียนว่ายตายเกิดก็ได้สั่งสมทั้งดีทั้งชั่ว ดี-ชั่ว เหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในจิตของเขา เขาเกิดมาพร้อมทั้งดีและชั่วอยู่แล้ว จะดีมากขึ้นถ้าได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการฝึกฝนอบรมดี และอาจจะชั่วได้ ถ้าได้รับการกระตุ้นให้ชั่ว หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
บุญมี ปาละวงศ์ (2537 : 99-100) กล่าวว่า มนุษย์ตามที่นักปราชญ์จำแนกไว้มีหลายประเภท โดยแบ่งตามคุณธรรมจริยธรรมที่มีอยู่ในจิตใจและการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้
1. วิญญูชน ได้แก่ มนุษย์ผู้รับผิดชอบตามปรกติ เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา หลุดพ้นจากกิเลส มีความคิดระลึกได้ตลอดเวลาทั้งก่อนทำ ก่อนพูด จัดบุคคลประเภทนี้เป็นอริยชน เป็นผู้ประเสริฐโดยแท้
2. ปัญญาชน ได้แก่ บุคคลได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ทางคดีโลก เช่น นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ เป็นต้น แต่อาจมีความบกพร่องทางคดีธรรมคือไม่มีความอายแก่ใจในการทำความชั่ว ไม่เกรงกลัวผลของความชั่วหรือเห็นผิดเป็นชอบ นิยมวัตถุมากกว่าการแสวงหาคุณธรรม
3. กัลยาณชน ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีงาม มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา รู้บาปบุญคุณโทษ พวกนี้ไม่ค่อยคำนึงถึงวัตถุมากนัก แต่คำนึงถึงความดีทางด้านจิตใจ
4. กัลยาณปุถุชน ได้แก่ บุคคลธรรมดา เป็นผู้มากด้วยกิเลสตัณหา แต่ยังรู้ดีรู้ชั่ว รู้บาปบุญคุณโทษอยู่ เห็นคุณค่าทางวัตถุและจิตใจเท่าๆกัน มีความสำนึกและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
5. ปุถุชน ได้แก่ บุคคลผู้หนาด้วยกิเลสตัณหา ติดอยู่ในความอยากความปรารถนาในรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส ยังมีอวิชชาครอบงำ ยึดมั่นในตัวตน ยึดถือเรา ถือเขา มีทิฏฐิมานะ
6. พาลชน ได้แก่ คนชั่วร้าย คนเกเร คนไร้สติปัญญาไม่มีเหตุผล ไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว ไม่รู้ถูกรู้ผิด ชอบเกะกะระรานรังแกผู้อื่น
7. อันธพาลชน ได้แก่ คนชั่วร้าย โง่เขลาเบาปัญญา ชอบรังแกผู้อื่นทั้งต่อหน้าและหลับหลัง รวมกลุ่มกันเป็นแก็งค์ ชอบก่อกวนสร้างปัญหาให้สังคม
8. เปตชน ได้แก่ คนที่มีลักษณะคล้ายเปรตหรือคนไม่สมประกอบ อาศัยคนอื่นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ ช่วยตัวเองไม่ได้ มีความทุกข์ ความเดือดร้อนอยู่เป็นนิจ ทั้งกายและใจ
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักจิตวิทยา
แนวคิดนักจิตวิทยาเกี่ยวกับจริยธรรมของมนุษย์มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วนและแตกต่างกันในบางประการดังนี้ (สมพร สุทัศนีย์ , 2541 : 42-43)
1. นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมต่างๆ เกิดจากสัญชาตญาณซึ่งอยู่ภายในตัวตน
2. นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีไม่เลว มนุษย์จะดีเลวขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้ามนุษย์อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะเป็นคนดี ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวก็จะเป็นคนเลว มนุษย์จึงเป็นผลผลิตของสิ่งแวดล้อม
3. นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม เชื่อว่ามนุษย์จะดีเลวขึ้นอยู่กับการปรับตัวในสภาพแวดล้อม มนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา
4. นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม เชื่อว่าเกิดมามาดีโดยกำเนิดพฤติกรรมของมนุษย์เกิดมาจากความต้องการพื้นฐาน มนุษย์เป็นหน่วยรวมของร่างกายและจิตใจ ซึ่งแสดงความคิด ความรู้สึกและการกระทำอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ถ้ามีความไม่ปรกติเกิดขึ้นในจิตใจ อาจก่อผลกระทบอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมได้
กล่าวโดยสรุป นักจิตวิทยามองมนุษย์แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ เกิดมาเลวและเกิดมาไม่ดีไม่เลว การเป็นคนดี คนเลว อาจติดมาโดยกำเนิดหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักสังคมวิทยา
นักสังคมวิทยาเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์คือสัตว์สังคม ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอยู่รวมกันจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาทางสังคม เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม กฎเกณฑ์ดังกล่าว เรียกว่า ปทัสถานทางสังคม (norms) ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. วิถีประชา (folkways) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลควรปฏิบัติ เช่น การบวชก่อนการแต่งงาน
2. จารีตประเพณี (mores) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลต้องปฏิบัติ หากฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำผิดทางศีลธรรม เช่น การเลี้ยงดูพ่อแม่ยามเฒ่า
3. กฎหมาย (laws) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
ถ้าบุคคลปฏิบัติตามปทัสถานของสังคมก็จะได้รับการยกย่องชมเชย สังคมยอมรับ และทำให้คนในสังคมอยู่กันอย่างสันติ
กลุ่มสังคมจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพความเป็นอยู่ทางธรรมชาติ แบบอย่างของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ กลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวมีดังนี้
1. กลุ่มญาติพี่น้อง เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันจากความสัมพันธ์ทางสายเลือดจะพบปะกันเสมอ มีความสนใจ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมคล้ายกันมาก มีความผูกพันกันมาก จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระดับสูง
2. กลุ่มเพื่อนบ้าน ในชนบทมีความสำคัญมาก จะมีความสัมพันธ์กันฉันญาติมิตร คอยให้ความช่วยเหลือกันโดยมีได้หวังผลตอบแทน ส่วนกลุ่มเพื่อนบ้านในเมืองใหญ่จะไม่ค่อยมีลักษณะแบบนี้
3. กลุ่มเพื่อนร่วมงาน จะเป็นกลุ่มมารวมกันในเวลาทำงานเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การนั้น ๆ
4. กลุ่มความสนใจ เกิดจากการความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นการรวมตัวกันเพื่อสนองความต้องการความสนใจในสิ่งเดียวกัน
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักบริหาร
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของแมกเกรเกอร์ (Mc Gregor :1966 : 33-34) กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีพฤติกรรมแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คอ
1. ทฤษฏีเอ็กซ์ ( X theory) เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (Man is wanting animal) และมีลักษณะอื่นๆ อีกเช่น
3. ทฤษฏีแซด( Z theory) เรดดิน (เรดดิน อ้างในศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ 2529 : 69-68) ทฤษฏีแซด( Z theory) เชื่อว่ามนุษย์มีความซับซ้อน (Man is a complex man) ซึ่งในความจริงมนุษย์มีลักษณะทั่วไปดังนี้
จะเห็นได้ว่า ทฤษฏีแซด( Z theory) มีแนวคิดว่ามนุษย์มีลักษณะโดยทั่วไป ไม่ดี ไม่เลว แต่จะทำสิ่งต่าง ๆ เพราะมีเหตุจูงใจหรือได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
จากการวิเคราะห์แนวคิดของนักปรัชญา นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยาและนักบริหาร พบว่ามนุษย์มีจริยธรรมที่แตกต่างกัน มีทั้งดี เลวและไม่ดีไม่เลว ระดับจริยธรรมของมนุษย์แต่ละคน อาจมีติดตัวมาแต่เกิด หรือมาพัฒนาได้ในภายหลังจากสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และกรอบประเพณีสังคม จากการศึกษาพอได้แนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนต่างมุ่งหวังสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่สุดแห่งตน ซึ่งสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่สุดเป็นสิ่งที่อยู่ในความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ที่จะสามารถดำเนินไปได้ด้วยตนเอง แต่เขาจะต้องรับผิดชอบต่อการเสริมสร้างชีวิตตนเองให้พัฒนาสูงขึ้นสู่ระดับที่ดีกว่า สูงกว่า แต่มนุษย์ขาดคุณธรรมในตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นสู่ความสมบูรณ์ของชีวิตได้ มนุษย์ยังขาดจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปล่อยตัวเองเป็นทาสของอารมณ์ ความอยาก กิเลสตัณหา ตลอดเวลา หากมนุษย์สร้างจิตสำนึกให้มั่นคง และหนักแน่นได้แล้วก็จะเป็นบันไดก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์ต่อไป
ทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget is Theory of lntellectual Development)
เพียเจต์ ( Piaget, 1932 : 9-55 ) เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ และพัฒนาการของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาทางสติปัญญาของบุคคลนั้น เพียเจต์ ( Piaget ) ได้แบ่งขั้นตอนของพัฒนาสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้นรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor operation)
2. ขั้นเริ่มคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking)
3. ขั้นคิดด้วยรูปธรรม (concrete operational thinking)
4. ขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal prepositional thinking or formal operational thinking)
จากพัฒนาการทางสติปัญญาทั้ง 4 ขั้นนี้ เพียเจต์ ( Piaget) ได้นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งขั้นพัฒนาจริยธรรมออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
ระดับพัฒนาทางสติปัญญา
1. ขั้นรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor operation) อายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ขวบ
2. ขั้นเริ่มคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking) และขั้นเริ่มคิดด้วยรูปธรรม (early concrete operational thinking) อายุประมาณ 2-7 ปี
3. ขั้นคิดค้นด้วยรูปธรรมในช่วงปลาย (late concrete operational thinking) อายุ 7-11 ปี ถึงขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal operational thinking) อายุตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไปถึง 15 ปี
ระดับพัฒนาทางจริยธรรม
1. ขั้นก่อนจริยธรรม เป็นชั้นที่ยังไม่มีความสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมได้อย่างละเอียด มีแต่ความต้องการทางร่างกาย
2. ขั้นยึดคำสั่ง ในขั้นนี้เด็กจะรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมและบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น รู้จักเกรงกลัวผู้ใหญ่ เห็นว่าคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน เด็กสามารถใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจและตั้งเกณฑ์ที่เป็นตัวของตัวเอง
ผลจาการวิจัยในระยะต่อมา เพียเจต์ ( Piaget) ได้ตั้งเกณฑ์การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 เกณฑ์ คือ
1. การตัดสินจากเจตนาการกระทำ (intentional in judgment) เด็กเล็กจะตัดสินการกระทำจากปริมาณสิ่งของ ส่วนเด็กโตจะตัดสินจากเจตนาของการกระทำ
2. การตัดสินเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relativism in Judgment) เด็กเล็กจะตัดสินการกระทำโดยยึดเอาความเชื่อความเห็นของผู้ใหญ่ว่าดี ส่วนเด็กโตจะยึดเอาเหตุผลและสถานการณ์ประกอบการตัดสิน
3. ความเห็นอิสระจากการลงโทษ (independent of sanction) เด็กเล็กจะตัดสินว่าการกระทำใดไม่ดีจากการกระทำใดไม่ดีจากการถูกทำโทษ แต่เด็กโตจะตัดสินการกระทำใดไม่ดี เพราะสิ่งนั้นไปขัดกับเกณฑ์และเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น
4. ใช้วิธีการแก้แค้น (use of reciprocity) วิธีนี้เด็กเล็กใช้น้อยกว่าเด็กโต
5. การลงโทษเพื่อตัดสินนิสัย (use of punishment as restitution and reform) เด็กเล็กจะสนับสนุนการลงโทษอย่างหนักเพื่อแก้นิสัย แต่เด็กโตไม่ค่อยเห็นด้วย
6. หลักธรรมชาติของความโหดร้าย (nationalist of misfortune) เด็กเล็กจะถือว่าการกระทำผิดจะต้องได้รับการลงโทษจากพระเจ้า
จากที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่าตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) เด็กเล็กจะมองกฎเกณฑ์ว่าเป็นสิ่งจริงจัง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ( absolute) และมาจากอำนาจภายนอก ( external) หมายความว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กเล็กจะอยู่ในลักษณะผิดว่ากันไปตามสิ่งที่สังเกตเห็นได้ โดยมิได้คำนึกถึงเจตนาของผู้กระทำ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากการใช้ภาษา และความคิดของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นหลาย ๆ สิ่งได้ ในเวลาเดียวกัน เมื่อเด็กโตขึ้นอายุประมาณ 11-12 ปี พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กวัยนี้จะมีการเชื่อมโยงหาเหตุผล เด็กจะคำนึงถึงเจตนาของผู้ทำมากกว่าสิ่งที่สังเกตได้เฉพาะหน้า เนื่องจากเด็กวัยนี้สามารถมองหลาย ๆ สิ่งได้ในเวลาเดียวกัน เด็กโตจึงสามารถเข้าใจถึงเจตนาของผู้อื่นและสามารถยืดหยุ่นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ได้ โดยตระหนักว่ากฎเกณฑ์เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างบุคคลในการควบคุมพฤติกรรมในแต่ละสถานการณ์เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกฎเกณฑ์ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kolberg)
โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนำแนวเชื่อทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์ ( Piaget) คือ เชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โรงสร้างทางปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซึ่งความหมายว่า “ความถูกต้อง” “ความดี” “ความงาม” ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ
นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย (Kolberg, 1964 : 383-432) โดยวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกทำพฤติกรรมอย่างหนึ่งในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคม และนำมาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่งจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับๆ ละ 2 ขั้น ดังนี้
ระดับจริยธรรม
ระดับที่ 1. ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การที่เรียกระดับนี้ว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดว่าอะไรดี ไม่ดี จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู หรือ เด็กที่โตกว่า จริยธรรมในระดับนี้ คือ หลีกเลี่ยงการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวัล
ระดับที่ 2. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์
ระดับที่ 3. ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติคนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับนี้ หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับนี้จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์สังคม กล่าวคือคนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิมนุษยชน โดยปรกติคนจะพัฒนาถึงระดับนี้มีจำนวนไม่มากนัก
ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ขั้นที่ 1. การเชื่อฟังและการลงโทษ (obedience and punishment orientation) พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรม “ไม่ดี” คือพฤติกรรมที่ทำแล้งได้รับการลงโทษ
ขั้นที่ 2. กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง (instrumental relativist orientation) เด็กจะเชื่อฟังหรือทำตามผู้ใหญ่ ถ้าคิดว่าตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับความพึงพอใจ
ขั้นที่ 3. หลักการทำตามผู้อื่นเห็นชอบ (good boy nice girl orientation ) อายุ 9-13 ปี เป็นการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
ขั้นที่ 4. หลักการทำตามกฎระเบียบสังคม (Law and order orientation) อายุ 14-20 ปี เป็นขั้นที่ยอมรับในอำนาจและกฎเกณฑ์ของสังคม พร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. หลักการทำตามสัญญาสังคม (social contract orientation) เป็นขั้นที่เน้นความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซึ่งกันและกัน ในขั้นนี้สิ่ง ถูก-ผิด จะขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6. หลักการทางจริยธรรมที่เป็นสากล (universal ethical principle orientation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่แต่ละบุคคลเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรมด้วยตัวของมันเอง และเมื่อเลือกแล้วก็ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน
นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับลักษณะอื่นของมนุษย์ ที่สำคัญคือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับระดับสติปัญญาทั่วไป และความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับความสามารถที่จะผลได้ที่ดีกว่าในอนาคต แทนที่จะรับผลที่เล็กน้อยกว่าในปัจจุบันหรือในทันที ซึ่งลักษณะนี้เรียกว่า “ลักษณะมุ่งอนาคต”
2. ผู้มีจริยธรรมสูงจะเป็นผู้มีสมาธิดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตน และมีความภาคภูมิใจในตนเองและสภาพแวดล้อม สูงกว่าผู้มีจริยธรรมต่ำ
3. โคลเบิร์ก (Kolberg) ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) และพบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ ไม่ได้บรรลุจุดสมบูรณ์ในบุคคลอายุ 16 ปี เป็นส่วนมาก แต่มนุษย์ในสภาพปรกติจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมอีกหลายขั้นตอนจนอายุ 16-25 ปี
4. การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจ ที่จะเลือกการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผนและยังอาจทำให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เหตุผลเชิงจริยธรรมของแต่ละบุคคลเป็นเครื่องทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นในสถานการณ์แต่ละอย่างได้อีกด้วย
ทฤษฏีของโคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นที่นิยมนำมาใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฏีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reasoning) เป็นฐานความคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาของตะวันตกเป็นจำนวนมาก แม้ในประเทศไทย นักจิตวิทยาและนักพฤติกรรมศาสตร์ก็ได้ทำวิจัยโดยยึดกรอบแนวคิดของโคลเบิร์ก (เช่น วิจัยของดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจญปัจจนึก, 25520)
ตามทัศนะของโคลเบิร์ก (Kolberg) จริยธรรมแต่ละขั้นเป็นผลจากการคิดไตร่ตรองซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข้อมูลที่นำมาพิจารณาส่วนหนึ่งเป็นความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่ได้รับฟังจากทัศนะของผู้อื่นซึ่งอยู่สูงกว่าระดับของตนเอง 1 ชั้น
วิธีปลูกฝังจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ไม่อาจกระทำได้ด้วยการสอน หรือการปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดู และไม่อาจเรียนรู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ จริยธรรมสอนกันไม่ได้ จริยธรรมพัฒนาขึ้นมาด้วยการนึกคิดของแต่ละบุคคล ตามลำดับขั้นและพัฒนาการของปัญญาซึ่งผูกพันกับอายุ ดังนั้นหากยังไม่ถึงวัยอันควร จริยธรรมบางอย่างก็ไม่เกิด (ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระพร อุวรรณโณ ,2534 : 96)
ทฤษฏีการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผล (moral reasoning)ของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใช้กิจกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาจริยธรรมคือ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็น โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้ดำเนินการเสนอประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีความยากแก่การตัดสินใจ
ขั้นตอนที่ 2 แยกผู้อภิปรายออกเป็นกลุ่มย่อยตามความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ขั้นตอนที่ 3 ให้กลุ่มย่อยอภิปรายเหตุผล พร้อมหาข้อสรุปว่า เหตุผลที่ถูก – ผิด หรือควรทำ ไม่ควรทำ เพราะเหตุอะไร
ขั้นตอนที่ 4 สรุปเหตุผลของฝ่ายที่คิดว่าควรทำและไม่ควรทำ
จากที่กล่าวมาจะพบว่าแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใกล้คียงกับเพียเจต์ ( Piaget) คือเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์พัฒนาการได้ตามวัย และวุฒิภาวะทางสติปัญญา พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ใช่การป้อนรูปแบบ กล่าวคือดูรูปหนึ่งจบแล้ว ดูอีกรูปหนึ่งโดยที่รูปแรกไม่ปรากฏในสายตาอีกต่อไป แต่พัฒนาการของมนุษย์จะค่อยๆพัฒนาไปตามวัน เวลา เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ตามวุฒิภาวะ จริยธรรมเก่ายังจะมีรากแก้วฝังอยู่ และพัฒนาตามกาลเวลาที่มนุษย์มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เกิดเป็นจริยธรรมใหม่ขึ้น จริยธรรมไม่ได้สร้างขึ้นภายในหนึ่งวัน คนจะมีอุปนิสัยดีงามต้องสร้างเสริมและสะสมจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมด้วยกระบวนการทางสังคม และจะเรียนรู้ได้ตามความสามารถของวุฒิภาวะ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ผู้นำทฤษฏีนี้ คือ ฟรอยด์ (Freud) จิตแพทย์ออสเตรีย (สมพร สุทัศนีย์ 2541 ,185-186) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาตั้งแต่เกิด พฤติกรรมต่างๆเกิดจากสัญชาตญาณซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากภายใน สัญชาตญาณดังกล่าวมี 2 ชนิด คือ สัญชาตญาณทางเพศ ซึ่งผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด และสัญชาตญาณความก้าวร้าว เป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะก้าวร้าวทำลาย ซึ่งแสดงออก 2 ลักษณะคือ ก้าวร้าวตนเอง และก้าวร้าวผู้อื่น
นอกจากพฤติกรรมจะเกิดจากสัญชาตญาณดังกล่าว ซึ่งแอบแฝงอยู่ในจิต ที่เรียกว่า จิตไร้สำนึกแล้ว พฤติกรรมจะเกิดจากระบบของจิต 3 ระบบ คือ คิด (id) อีโก้ (ego) และซุปเปอร์อีโก้ (super ego)
พฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจาก (id) คือพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อสนองความพอใจของตนเองฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น เมื่อบุคคลต้องการกระทำสิ่งใดก็ลงมือทำทันทีโดยไม่ใคร่ครวญ การกระทำจึงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่หากทำไม่ได้ก็จะเกิดความเครียดทางออกที่ดีที่สุดคือใช้กลไกการป้องกันตนเองที่เรียกว่า “การทดเทิด” (Sublimation) คือ แสดงพฤติกรรมที่ดีแทนพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ฝึกเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงแทนพฤติกรรมก้าวร้าวเกเร หรือ ทดแทนความกดดันทางเพศ
ทางศาสนาเรียกอิดว่า (id) นี้ว่า สัญชาตญาณดิบ ซึ่งมีราคะ โลภะ โทสะ เป็นพื้นฐานอยู่และอาจแฝงด้วยโมหะ กล่าวโดยรวมสิ่งที่ฟรอยด์เรียกว่า (id) นั่นก็คืออกุศลจิตในพระพุทธศาสนานั่นเอง (วศิน อินทสระ ,2541 : 82)
พฤติกรรมที่เกิดจากอีโก้ (ego) คือ พฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผล และความเป็นจริง เช่น นายแดงอยากฟังเพลงเสียงดัง เขาจะไม่เปิดให้เสียงดังเพราะจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่เขาจะคิดหาเหตุผลว่าทำอย่างไรจึงจะสนองความต้องการได้
แสดงว่าพฤติกรรมแบบอีโก้ (ego) แม้จะเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผลก็จริง แต่ยังมีความต้องการสนองความพอใจของตนเอง เรียกว่า ยังมี “อัสมิมานะ” ได้แก่ ความรู้สึกว่า ตัวฉัน ตัวเรา คืออหังการ หรือความรู้สึกของจิตที่ยังมีอหังการอยู่ ยังมีอัสมิมานะอยู่นั่นเอง
พฤติกรรมที่เกิดจากซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนของคุณธรรม คนที่มีซุปเปอร์อีโก้จะเป็นคนที่มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบสูง
แสดงว่ามนุษย์ยังมีคุณธรรม จริยธรรม หรือทางพระเรียกว่ามี “กุศลเจตสิก” คอยยับยั้งเอาไว้ ไม่ให้กระทำตามใจอยากเสียทุกอย่าง คนที่มีซุปเปอร์อีโก้สูงจึงเป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรับผิดชอบสูง
ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน การถูกควบคุมโดยขนบธรรมเนียมประเพณี การกลัวโทษทัณฑ์เมื่อทำผิด เมื่ออิด (id) กับ ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) เกิดขึ้นในจิตพร้อมกัน อีโก้ (ego) จะต้องทำหน้าที่ตัดสินว่าจะเอาอย่างไรดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในตน (self – conflict) ทำให้มนุษย์ยุ่งยากใจในการตัดสินใจ แม้ธรรมจะชนะอธรรมในบางคราว ก็ไม่ได้แปลว่า อิด (id) จะหายไป มันเพียงแต่ถูกกดข่มไว้เท่านั้น เมื่อใดจริยธรรมหรือซุปเปอร์อีโก้อ่อนแอลง เมื่อนั้นอิด (id) จะแผลงฤทธิ์ขึ้นมาอีก และอาจรุนแรงกว่าเดิม เพราะถูกเก็บกดไว้มาก
ในสังคมมนุษย์มีขนบประเพณีเข้มงวดกวดขัน มนุษย์ต้องอยู่ในกรอบทั้งที่ไม่สมัครใจนั้น ดูอาการภายนอกเหมือนว่าเรียบร้อยดี เพราะอิด (id) ถูกกดข่มไว้ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม แต่ภายในใจของเขาจะรุ่มร้อน วุ่นวาย สับสน ไม่เหมือนผู้ที่อยู่อย่างสมัครใจ และเห็นคุณค่า จิตของใครมีแต่ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ไม่มีอิด (id) จิตนั้นจะสงบร่มเย็น ไม่มีความขัดแย้งสดชื่นอยู่ภายในเสมอ
ทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow is Theory of Need Gratification)
มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมาดีและพร้อมที่จะทำสิ่งดี ถ้าความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ มาสโลว์ (Maslow) เป็นผู้หนึ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าถึงความต้องการของมนุษย์ โดยมองเห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีความต้องการที่จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น ซึ่งความต้องการมนุษย์ มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน เขาได้นำความต้องการเหล่านั้นมาจัดเรียงเป็นลำดับจากขั้นต่ำไปขั้นสูงสุดเป็น 5 ขั้น ด้วยกัน
1. ความต้องการด้านร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม อากาศ การพักผ่อน ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ต้องการขจัดความเจ็บป่วย และต้องการรักษาความสมดุลของร่างกาย ทุกคนต้องการสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน อาจแตกต่างกันเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพศ วัย และสถานการณ์ ฯลฯ ความต้องการปัจจัย 4 ดังกล่าวข้างต้น หากเพียงพอแล้ว มนุษย์จะพัฒนาในขั้นต่อไป
2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (safety needs) เมื่อได้รับความพึงพอใจทางด้านร่างกายแล้ว มนุษย์จะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สองคือ ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย สิ่งที่แสดงถึงความต้องการขั้นนี้คือ การที่มนุษย์ชอบอยู่อย่างสงบ มีระเบียบวินัย ไม่รุกรานผู้อื่น ความต้องการระดับนี้อาจแยกย่อยได้ดังนี้
พรรณี ช. เจนจิต (2538 :461-476) ได้กล่าวถึงลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ว่ามาสโลว์กำหนดความต้องการของมนุษย์จากขั้นต่ำสุดไปสู่ขั้นสูงสุดเป็น 7 ชั้น ด้วยกัน โดยที่มนุษย์จะมีความต้องการในขั้นสูงต่อไป ถ้าความต้องการในขั้นต้น ๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว
ลำดับ 7 ขั้นของความต้องการมีดังนี้
ความต้องการทางสุนทรียะ
ความต้องการที่จะรู้และเข้าใจ
ความต้องการที่จะตระหนักในความสามารถของตนเอง
ความต้องการการยอมรับและได้รับการยอมรับ
ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
ความต้องการความปลอดภัย
ความต้องการทางด้านร่างกาย
(Abraham H. Maslow, “A Theory of Hunman Motivation” Psychological Review vol. 50. 1943 . PP 340-396. อ้างในพรรณี ช. เจนจิต 2538 : 463)
ความต้องการทั้ง 7 ขั้น มาสโลว์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ความต้องการขั้นที่ 1 – 4 เรียกว่า “ความต้องการขั้นต่ำ”
กลุ่มที่ 2 ความต้องการขั้นที่ 5 - 7 เรียกว่า “ความต้องการขั้นสูง”
ซึ่งความต้องการของ 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกัน ดังนี้
ความต้องการขั้นต่ำ
1. มนุษย์ทำทุกวิถีทางเพื่อให้สำเร็จหรือขจัดความต้องการขั้นต่ำ เช่น เมื่อหิว ก็ต้องหาอาหารมากินเพื่อขจัดความหิว
2. แรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการขั้นต่ำจะนำไปสู่การกระทำเพื่อลดความตึงเครียดต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมดุล เช่น คนที่ต้องการการยอมรับนับถือจะทำทุกสิ่งให้ได้มาซึ่งการยอมรับนับถือ ความมีชื่อเสียง
3. การที่มนุษย์สามารถสนองความต้องการขั้นต่ำ ทำให้หลีกเลี่ยงจากความทุกข์หรือความเจ็บป่วยได้ เช่นอากาศหนาว เราจะนอนไม่หลับจนกว่าจะได้เสื้อหรือผ้าห่มจึงจะนอนหลับ
4. การที่มนุษย์สามารถสนองความต้องการขั้นต่ำจะรู้สึกว่าพ้นจากความทุกข์ พ้นจากความกระวนกระวาย จะเกิดความรู้สึกว่าไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้วในขณะนั้น
5. การสนองความต้องการขั้นต่ำจะมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือเป็นเป็นเวลา และมีลักษณะที่ใช้หมดไปในแต่ละครั้ง
6. ความต้องการขั้นต่ำซึ่งต้องการการตอบสนอง จากปัจจัยภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนมีประสบการณ์ร่วมกัน เช่น รู้ว่าความหิวเป็นเช่นไร หรือความต้องการความรัก การยอมรับจากกลุ่มเป็นอย่างไร
7. ความสนองต้องการขั้นต่ำ ซึ่งต้องการอาศัยปัจจัยภายนอกนั้น ส่วนใหญ่ผู้อื่นเป็นผู้สนองให้ ซึ่งจะทำให้คนเกิดความรู้สึกที่ต้องคอยพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะนำความรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำอะไรต้องคอยระมัดระวังการยอมรับของผู้อื่นคอยดูว่า ผู้อื่นจะคิดอย่างไรกับตน
8. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่คอยพึ่งพาผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่เห็นว่าจะสนองความต้องการให้ได้ ซึ่งจะกลายเป็นคนสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในวงจำกัด ไม่สนใจที่จะสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่สามารถทำประโยชน์ให้ได้
9. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นต่ำ มีแนวโน้มจะยึดตนเป็นศูนย์กลาง ไม่คอยคำนึกถึงปัญหา มักจะคำนึกถึงเรื่องส่วนตัว
10. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นต่ำ จะช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องคอยขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เมื่อเข้าที่คับขันหรือประสบปัญหายุ่งยากต่างๆ
ความต้องการขั้นสูง
1. มนุษย์จะแสวงหาความพึงพอใจขั้นสูงสุด เช่น แสวงหาความรู้ หรือทำประโยชน์ให้สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน นอกจากความพึงพอใจ
2. แรงจูงใจที่เนื่องมาจากความต้องการขั้นสูง จะทำให้คนมีความสบายใจอยู่ได้แม้ในสภาพที่มีความตึงเครียด เช่น ทนได้แม้นแต่คำนินทาว่าร้าย ไม่สะดุ้งสะเทือนเพราะตระหนักดีถึงความสามารถที่ตนจะทำประโยชน์ให้แก่สังคมเกินกว่าจะไปสนใจคำพูดของคนบางคนหรือคำพูดของคนบางกลุ่ม
3. การที่สามารถสนองความต้องการขั้นสูงได้ จะทำให้เกิดความสุข มีสุขภาพจิตดี เช่น คนที่มีความปรารถนาจะศึกษาค้นคว้าโดยมิได้มีสิ่งล่อใจอื่นใด จะมีความสุข ความอิ่มใจ มากกว่าการกระทำที่หวังสิ่งตอบแทน
4. การสนองความต้องการขั้นสูง จะนำไปสู่ความพึงพอใจและความปรารถนา จะแสวงหาความสุข ในขั้นต่อไป เช่นการแสวงหาโดยมิได้หวังสิ่งตอบแทนจะทำให้ผู้ที่แสวงหาเกิดความสุข ความพึงพอใจ โดยไม่มีที่สิ้นสุด
5.การสนองความต้องการขั้นสูง เป็นเรื่องต่อเนื่องกันไปไม่มีที่สิ้นสุด
6. ความต้องการขั้นสูง เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้เพราะความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น บางคนฟังดนตรี หรือมองพระจันทร์แล้วเกิดความซาบซึ้งจนน้ำตาไหล ซึ่งเป็นความรู้สึกเกินกว่าจะบรรยายให้ผู้ใดรับทราบได้
7. การสนองความต้องการขั้นสูงนั้น แต่ละคนจะเป็นผู้สนองความต้องการให้กับตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งตนเองหรือนำตนเองได้ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องวิตกกังวลว่าใครจะคิดอย่างไรกับตน ซึ่งสามารถทำงานได้เต็มที่
8. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นสูง จะเป็นคนที่พึ่งตนเองได้ จะเป็นผู้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนทั่วไป ไม่ใช่สร้างสัมพันธ์เฉพาะกับคนที่จะทำประโยชน์ให้เท่านั้น
9. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นสูง จะเป็นคนคำนึกถึงปัญหามากกว่า ไม่ค่อยคำนึกถึงเรื่องส่วนตัว เป็นผู้ทำงานเพื่องาน มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นสูง จะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี แม้เมื่อเข้าที่คับขันทั้งนี้เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
แนวคิดของนักวิจิตวิทยาที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าวข้างต้น เป็นพื้นฐานประการหนึ่งที่ผู้บริหารควรนำมาพิจารณาประกอบการพิจารณาคุณธรรมจริยธรรมของตนเองและบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชา เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของตนเองและในปกครองด้วย วิชาจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม การกระทำ และการะบวนการคิดไปพร้อมๆ กับการศึกษาถึงเรื่องสติปัญญา ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ การให้เหตุผล เรื่องของตนเอง หรือเรื่องของมนุษย์ และพยายามอธิบายเกี่ยวกับวิธีการปรับตัวของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าเป็นทางทฤษฎีจิตวิทายาด้านบุคลิกภาพจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล จิตวิทยาสังคม ล้วนเป็นเรื่องศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ เหตุแห่งความเป็นมาและผลที่เกิดขึ้น การศึกษาในแนวจิตวิทยาจึงเป็นการศึกษาที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคนทั่วไปค่อนข้างยอมรับในหลักการทฤษฎีว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ
แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาตัดสินว่า เรื่องใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อขอให้ถือตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ในบทกาลามสูตรที่ว่าการเชื่อสิ่งใดให้ถือปฏิบัติตามหลัก 10 ประการ คือ อย่าเชื่อเพราะฟังตามกันมา อย่าเชื่อเพราะถือปฏิบัติสืบต่อกันมา อย่าเชื่อเพราะเสียงเล่าลือ อย่าเชื่อเพราะการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าเชื่อด้วยว่าเป็นตรรกะ อย่าเชื่อด้วยการอมุมาน อย่าเชื่อด้วยความคิดตามแนวเหตุผล อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่าเชื่อเพราะมองเห็น รูปลักษณะน่าเชื่อ และอย่าเชื่อเพราะนับถือว่าผู้บอกนั้นเป็นครูของเรา แต่ให้เชื่อต่อเมื่อได้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาของตนเองและปฏิบัติตามจนเห็นจริงแล้วจึงค่อยเชื่อว่าจริง
มนุษย์ทุกคนมีการแสดงออกทางพฤติกรรมแตกต่างกันตามพื้นฐานของแต่ละคน ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งในความรู้ เจตคติ ค่านิยม รวมไปถึงสภาวะทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เหมือนกันทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน หรืออยู่ในสถานการณ์เหตุการณ์อันเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องน่าสนใจ โดยเฉพาะเกณฑ์การตัดสินว่าพฤติกรรมใดถูกพฤติกรรมใดผิด พฤติกรรมใดดีพฤติกรรมใดไม่ดี ซึ่งโดยทั่วไปมนุษย์มีอินทรีย์พิเศษ อันได้แก่ มโนธรรม หรือจิตสำนึกเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในการพิจารณาของนักจริยศาสตร์ จะมีเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินจริยธรรมแตกต่างกันบ้างดังนี้
1. หลักจริยศาสตร์ของคานท์ (Kant, 1724 – 1840 อ้างในวิทย์ วิศทเวทย์ 2520 : 65 – 67 ) กล่าวโดยสรุป ดังนี้
คานท์ (Kant) มีความหมายว่าดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นคุณค่าทางศีลธรรมนั้น จะต้องเป็นสิ่งตายตัว กล่าวคือ ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือการกระทำอันใดอันหนึ่งเป็นสิ่งดี มันจะต้องดีเสมอ โดยไม่เลือกเวลา สถานที่ สิ่งแวดล้อม หรือตัวบุคคลแต่อย่างใด เช่น การพูดความจริง ถ้าเราถือว่าการพูดความจริง บางเวลาก็ดี บางเวลาก็ไม่ดี เช่นนี้ เท่ากับเรายอมรับว่าโดยตัวมันแล้ว การพูดความจริงไม่มีค่าเลย ค่าของมันอยู่ที่เวลา ความดีของมันเปลี่ยนไปมาตามกาลเวลา โดยหลักของคานท์นั้น การพูดจริงเป็นสิ่งที่ดีและต้องดีตลอดไป ไม่ว่าจะพูดเมื่อใด ที่ไหน กับใคร และสถานการณ์เช่นใด
ความคิดของคานท์ (Kant) การกระทำที่ดี หรือการกระทำที่ถูกคือการกระทำที่เกิดจากเจตนา จุดเด่นที่สุดในแนวคิดของคานท์ (Kant) ก็คือการสอนให้คนรู้สึกสำนึกในหน้าที่ คานท์ (Kant) เห็นว่าการโกงนั้นผิดแน่ ๆ แต่ความซื่อสัตย์ก็มิใช่ว่าควรได้รับการสรรเสริญเสมอไป ความซื่อสัตย์ที่เกิดขึ้นจากการหวังผลประโยชน์ไม่มีความดีอะไรในทางศีลธรรม แต่ความซื่อสัตย์ที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่เป็นสิ่งประเสริฐ คานท์ (Kant) สอนไม่ให้ยกตัวเองเหนือกฎศีลธรรมซึ่งไม่มีข้อยกเว้นสำหรับใคร นอกจากนี้คานท์ยังบอกว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของตนเอง ดังนั้นการใช้คนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุจุดมุงหมายบางอย่างนั้นเป็นการกระทำที่ผิดอย่างไม่มีข้อแม้ เพราะทุกคนมีค่าของตนเองและค่าเท่ากับผู้อื่น
2. ประโยชน์นิยม (Utilitarianism)
แนวคิดของกลุ่มประโยชน์นิยมเชื่อว่าประโยชน์สุขเป็นเครื่องตัดสินการกระทำของมนุษย์ว่าดีว่าชั่ว ถูกหรือผิด ชอบหรือไม่ชอบ อยู่ที่ผลที่จะได้ คือ ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องเลือกกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวที่จะตัดสินก็คือ อันไหนให้ประโยชน์สุขมากกว่าถือว่าดีกว่า ประโยชน์นิยมเห็นว่าความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ ค่าของสิ่งอื่นๆนั้น ก็อยู่ที่ว่ามันพาไปสู่ความสุข ไม่มีอะไรมีค่าในตัวเอง นอกจากความสุข ดังนั้นการตัดสินใจว่าอะไรดี ไม่ดี ควร ไม่ควร ถูกหรือผิด จึงต้องใช้ความสุขเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ ถ้าสิ่งใดให้ประโยชน์มากกว่าสิ่งนั้นก็ดีกว่า และควรทำมากกว่า แต่ประโยชน์ในที่นี้มิได้หมายถึงประโยชน์สุขของผู้กระทำเอง แต่หมายถึงประโยชน์สุขของคนทั่วไป ซึ่งประโยชน์กล่าวว่า หมายถึงสิ่งที่ก่อประโยชน์สุขมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด หลักนี้รู้จักกันในนาม “หลักมหาสุข”
ประโยชน์นิยมมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมว่าสิ่งใดดูดี สิ่งใดถูกต้อง ดังนี้
มโนธรรมคือความสำนึกที่มนุษย์ทุกคนมีโดยธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ความสำนึกนี้เป็นเสียงภายในจิตที่ทำให้เราตัดสินได้ว่า อะไรผิด อะไรถูก มโนธรรมสัมบูรณ์เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกต้องมีลักษณะเป็นแก่นแท้ของมัน ลักษณะนี้จะต้องมีอยู่ในตัวเสมอ ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะตกอยู่ในสภาพใด เกลือย่อมเค็มอยู่เสมอ ไฟย่อมร้อนอยู่เสมอ ความถูกความผิดก็เหมือนกัน ความผิดเป็นลักษณะตายตัว การกระทำอาจก่อให้เกิดความพอใจกับบางคน ไม่พอใจกับบางคน แต่ความรู้สึกนี้ไม่เกี่ยวกับความถูกความผิดของมัน เพราะความถูกหรือผิดเป็นลักษณะตายตัวอยู่ที่ตัวมันเองแล้ว ปัญหาต่อไปนี้คือ ถ้า “ดี” เป็นลักษณะตายตัวของการกระทำที่ดีแล้วรู้จักสิ่งนั้นได้อย่างไร เกลือมีรสเค็มของเกลือได้ รสเค็มเป็นคุณสมบัติทางวัตถุ เรารู้รสนี้ด้วยลิ้น ลิ้นเป็นอินทรีย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ทำให้รารู้รสเค็มของเกลือได้ แต่ “ดี”เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง เราไม่มีอินทรีย์อะไรที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี “ดี” เป็นคุณสมบัติทางจริยธรรม อินทรีย์ทางกายภาพ จึงรับรู้ไม่ได้ นักทฤษฏีมโนธรรมสัมบูรณ์ถือว่า มนุษย์มีอินทรีย์พิเศษอีกอันหนึ่งที่เป็นเครื่องมือช่วยมนุษย์ให้รู้จักความดี ตัดสินความดีได้ อินทรีย์ช่วยให้มนุษย์ตัดสินชี้ขาดเรื่อง ความถูก – ผิด – ดี – ชั่ว – ได้ บางคนเรียกอินทรีย์พิเศษนี้ว่า “ปัญญา” (Intellect Understanding) บางคนเรียกว่า “มโนธรรม” (Conscience) บางคนเรียกว่า “อินทรีย์ทางศีลธรรม” (Moral Faculty) จะเรียกชื่ออะไรก็ตาม อินทรีย์พิเศษนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของร่างกาย เหมือนประสาทสัมผัสทั้งห้า แต่เป็นส่วนหนึ่งของจิตหรือวิญญาณ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นลักษณะรูปธรรม ต้องอาศัยอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นรูปธรรมชี้ขาด ส่วนดี – ชั่ว , ถูก – ผิด เป็นนามธรรม จึงต้องอาศัยปัญญา หรือมโนธรรมเป็นเครื่องตัดสิน
4. จริยธรรมแบบสัมบูรณ์ (absolute ethics)
หรือสัมบูรณ์นิยม เชื่อว่า คุณค่าทางจริยธรรม หรือ ความดี – ความชั่ว เป็นค่าที่มีอยู่จริงในตัวเอง สัมบูรณ์มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมพัทธ์ สิ่งสัมบูรณ์ คือ สิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่โดยตัวของมันเอง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือสถานที่ สำหรับแนวคิดของกลุ่มสัมบูรณ์นิยม เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ถูกต้องสูงสุดนั้นมีเพียงเกณฑ์เดียวและเป็นเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว แนวคิดของสมบูรณนิยมจะสอดคล้องกับแนวคิดของศาสนาโดยทั่วไป คือ ถือว่า ความดีความชั่ว เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างแน่นอนตายตัว ไม่ใช่ค่าที่มนุษย์ให้แก่การกระทำตามความชอบไม่ชอบของเขา ดี – ชั่ว ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเองตามประโยชน์สุขของพวกเขา และแนวคิดนี้ก็สอดคล้องกับลัทธิมโนธรรมสัมบูรณ์ คือลัทธิที่ถือว่ามโนธรรมเป็นเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ตายตัวเพียงเกณฑ์เดียว มโนธรรมคือความสำนึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ เป็นจิตสำนึกภายในที่อกเราว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว โดยที่เราไม่ต้องคิดหาเหตุผล หรืออ้างอิงหลักเกณฑ์ใดๆ แต่เป็นการหยั่งรู้เองโดยตรง
ลัทธิสัมบูรณ์นิยม มีแนวคิดสอดคล้องกับหลักจริยศาสตร์ของคานท์ (Kant) คือเห็นว่าศีลธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างแน่นอนตายตัว กฎศีลธรรมในทรรศนะของคานท์ จึงมีกฎเกณฑ์ตายตัวและเป็นสิ่งมีค่าในตัวเอง ความถูกผิดของการกระทำ พิจารณาจากหลักการหรือเจตนาที่กระทำไม่ใช่ผลจากการกระทำ ถ้าการกระทำนั้นเกิดจากเจตนาดี ก็ถือว่าเป็นการกระทำดี เช่น การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่เพื่อหน้าที่ โดยไม่หวังผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
5. สัมพัทธ์นิยม (Relationism)
สัมพัทธ์นิยม เชื่อว่า ความดีความชั่วมิได้มีคุณค่าที่ดีอยู่ในตัวเอง แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น คุณค่าทางจริยธรรม หรือความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด เป็นสิ่งสัมพัทธ์คือผันแปรตามตามสภาพการณ์และเวลา ดังนั้นการกระทำอย่างหนึ่ง เช่นการพูดปด จะถูก ผิด ดี ชั่ว ยังตอบไม่ได้จนกว่าจะทราบก่อนว่า ใครโกหกใคร โกหกทำไม โกหกแล้วเป็นอย่างไร เช่นถ้าแพทย์โกหกคนไข้ เพื่อหวังผลดีในการรักษา การโกหกเช่นนี้ก็ถือว่าไม่ผิด สัมพัทธ์นิยม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัมพัทธ์นิยมส่วนบุคคล และสัมพันธ์นิยมทางสังคม
โดยเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย มีบทบาทมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตหรือการอยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นเกณฑ์การตัดสินความดี ชั่ว ถูก ผิด ของจริยธรรมในสังคมไทย ควรใช้เกณฑ์ตัดสินตามหลักการทางพระพุทธศาสนาด้วย
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู (2525:28-29 อ้างใน บุญเรือง อินทวรันต์ 2534:28) กล่าวว่าในการพิจารณาหลักการทางพระพุทธศาสนา เราจะพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ
“..ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้วจึงทำด้วยกาย ด้วยใจ
บุคคลว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
บุคคลทำกรรมใดแล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลใดมีหน้าที่ชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ เสพผลของกรรมใดกรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง เสวยผลแห่งกรรมใด ด้วยหัวใจ
แช่มชื่น เบิกบาน กรรมนั้นทำแล้วเป็นการดี
บุคคลรู้กรรมใดว่า เป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้นทีเดียว”
จากพุทธพจน์ดังกล่าว แสดงพระพุทธศาสนาในเรื่องการพิจารณาเกณฑ์การชี้วัดการประพฤติทางจริยธรรมดังนี้
เกณฑ์ตัดสินที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นทัศนะของนักจริยศาสตร์ ซึ่งพอจะนำมาเป็นเครื่องพิจารณาตัดสินสถานการณ์บางอย่างได้ สำหรับนักสังคมวิทยาเห็นว่า คุณค่าทางจริยธรรมมีคุณค่าจริงๆ ก็ต่อเมื่อสังคมมนุษย์นำไปใช้ ดังนั้นการตัดสินทางจริยธรรมจึงต้องคำนึงหลักปทัสถานหรือบรรทัดฐาน (norms) ทางสังคมซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
1. จริยธรรมตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
2. สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต
3 สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน
1. จริยธรรมตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
ศาสนาที่สำคัญและศาสนาประจำชาติไทยคือ พุทธศาสนา ซึ่งเป็นศูนย์รวมของจิตใจ เป็นที่รวมของกิจกรรม พิธีการต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต เป็นแหล่งที่สร้างสรรค์และส่งเสริมค่านิยมประเพณีต่าง ๆ ของคนไทย และจากศาสนานี้เองเป็นพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมละศีลธรรมของคนในด้านต่าง ๆ อันก่อไห้เกิดคุณค่าที่สำคัญ 3 ประการ(เสฐียรโกเศศ, อ้างใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534: 41-42)
การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง คนไทยในอดีตนิยมทางสายกลาง ทำสิ่งใดก็ต้องรู้จักประมาณตน นับแต่การทำงาน การติดต่อสัมพันธ์ในวงงาน ความเป็นเพื่อนแม้จะสนิทสนมชิดเชื้อกันดี แต่ก็ต้องไม่สนิทสนมกันเกินไป ความเป็นอิสระของทุกคนยังมีอยู่
ความซื่อสัตย์จริงใจ เป็นคุณค่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของคนในอดีต คนซื่อสัตย์จริงใจจะได้รับการนับถืออย่างมาก คนคดโกงจะได้รับการประณาม
ความผสมผสานกลมกลืนระหว่าง คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม คนไทยจะเหมือนคนเอเชียโดยทั่วไปที่เล็งเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ทั้งทางชีวภาพและทางกายภาพ ศาสนาเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คนคิดแบบนี้ตามความเชื่อของคนตะวันออกแล้วถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และคนควรศึกษาธรรมชาติเพื่อความเข้าใจ ซาบซึ้งความสมดุลของธรรมชาติ ไม่ใช่บังคับบัญชาเอาชนะธรรมชาติ
2. สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต
(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534 , 34 : 48) ได้กล่าวถึงสังคมไทยในอดีต ว่ามีลักษณะเด่นในด้านสังคมเกษตรกรรม สังคมหมู่บ้าน สังคมครอบครัว และสังคมศาสนา
สังคมเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยซึ่งส่วนใหญ่พึ่งธรรมชาติ ไม่มีการแข่งขันกับใคร ช่วยกันบ้างตามสมควรลักษณะเช่นนี้ ทำเกิดค่านิยมหรือลักษณะนิสัยประจำชาติบางประการ คือ
จากสภาพของสังคมไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างมาก ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้จากตารางต่อไปนี้ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534 : 43)
สภาพของสังคมไทยในอดีต
ก .สังคมเกษตรกรรม
- การไม่เคร่งครัดเวลา
- สันโดษ เพียงพอ
- ไม่วางแผน แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ข. สังคมหมู่บ้าน
- รวมมือกัน
- ประนีประนอม
- ความสงบ
ค. สังคมศาสนา
- ทางสายกลาง
- ซื่อสัตย์ จริงใจ
- คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม
ง. สังคมครอบครัว
- เคารพอาวุโส ผู้มีอำนาจ
- สมัครพรรคพวก
- กตัญญูรู้คุณ
สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน
ก. สังคมอุตสาหกรรม
- เคร่งครัดเวลา
- มุ่งปริมาณ กำไรมาก
- วางแผนกำไรระยะยาว
ข. สังคมเมือง
- ตัวใครตัวมัน เห็นแก่ตัว
- แตกหักรุนแรง
- อึกทึกคึกโครม
ค. สังคมหย่อนศาสนา
- รุนแรง
- หลอกลวง เอาเปรียบ
- ทำลายสิ่งแวดล้อม
ง. สังคมครอบครัว
- เคารพอาวุโส ผู้มีอำนาจน้อยลง
- สมัครพรรคพวกเพื่อผลประโยชน์
- กตัญญูรู้คุณคนน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม นับว่าเป็นผลกรรมต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากสภาพความเครียดและความเบี่ยงเบนทางสังคมไทยในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด โสเภณี ฯลฯ จะมีคำกล่าวอยู่ว่าสังคมยิ่งเจริญทางวัตถุมากขึ้นเท่าใด ความเสื่อมทางจิตใจของคนยิ่งต่ำลงมากเพียงนั้น มีผู้วิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยหลายท่าน ขอยกนำมากล่าวพอเป็นตัวอย่างแต่พอเป็นสังเขป ดังนี้
กรมศาสนา (2539 : 3 – 5 ) กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า
1. ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมของไทยมีมาก เป็นอันดับสองของโลก ทั้งที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา
2. คนไทยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย มีค่านิยมชอบบริโภค ไม่ชอบผลิต ไม่ชอบทำงาน
3. คนส่วนใหญ่มีหนี้สินทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว จนกระทั่งระดับประเทศ
4. คนไม่สนใจประโยชน์สาวนรวม ส่วนใหญ่เห็นแก่ตัว
5. ชอบความโก้เก๋ มีวัตถุไว้โอ้อวดความโก้ อวดมั่งอวดมี
6. มีนิสัยชอบสนุกสนานรื่นเริง ทำอะไรต้องเพื่อความสนุกสนาน
7. ขาดระเบียบ ไม่รักษาความสะอาด
8. ขาดความรับผิดชอบ ทั้งในชีวิต ในการงานและต่อสังคม
9. ปัญหาคอรัปชั่น อันเนื่องมาจากความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ
10. มีอบายมุขมาก มียาเสพติดระบาด
11. มีความยากจน ขาดแคลน ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ
12. ปัญหาการขาดอาชีพ การว่างงาน
13. ทำงานเป็นทีมไม่ได้ งานไม่สำเร็จต้องทำงานเองตัวคนเดียว
ปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นทั้งตัวปัญหาเอง และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆไปในตัว
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ( 2539 : 20-24) กล่าวเป็นปัญหาอันเนื่องมาจากการศึกษา ซึ่งจะขอนำมากล่าวโดยสรุป ดังนี้
1. สังคมไทยไม่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเนื่องมาจากระบบการสอนเน้นการท่องจำ และทำให้เกิดลักษณะนิสัย ดังนี้
3. สังคมไทยพลาดจากอุดมคติ เพราะความเสื่อมของคุณธรรม อันเนื่องมาจาก
พระธรรมปิฎก (2535 : 17-27) ได้วิเคราะห์เหตุแห่งสังคมไทย กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากสังคมไทยกำลังพัฒนา เพื่อเจริญตามแบบอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเพ่งเล็งไปทางพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะเรามองเห็นแต่ผลของการพัฒนาของประเทศที่เจริญแล้ว แต่ไมใส่ใจกับกระบวนการพัฒนาของประเทศเหล่านั้น มุ่งแต่จะเสพผลของความเจริญ คือ ความสะดวกสบาย ความมั่งคั่งรุ่งเรืองทางวัตถุ ทำให้เรากลายเป็นสังคม “ผู้บริโภค”
2. สังคมไทยมีความต้องการ 2 ด้าน พร้อมกัน คือ การพัฒนาเพื่อให้พ้นจากสภาพด้อยพัฒนา และอีกด้านหนึ่ง คือต้องการพัฒนาด้านจิตใจ ให้มีความอบอุ่นเกื้อกูลกัน แต่การทำตามประเทศที่พัฒนาอย่างไม่สมดุล การพัฒนาไม่ถูกต้องปฏิบัติผิดพลาด จนเกิดปัญหานานัปการ ดังกล่าวข้างต้นและแสดงออกมาในอาการรุนแรง คือ การฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหานี้ อเมริกาและญี่ปุ่นก็เคยประสบมาแล้ว
กรมวิชาการ (2538 : 5-22) ได้สังเคราะห์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการก้าวการสื่อสาร ทำให้โลก “ไร้พรมแดน” พลโลกติดต่อสัมพันธ์กันได้รวดเร็ว นำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัฒน์” ส่งผลต่อธุรกิจ สังคมและวัฒนธรรม คนมีเสรีภาพในการเลือกรับสื่อจากแหล่งต่างๆ หลากหลายรูปแบบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและรสนิยมของตน การเรียนรู้จะเกิดจากภายนอกโรงเรียนมากยิ่งขึ้น โครงสร้างสังคมแบบกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นมากขึ้น ท้องถิ่นจะพัฒนาเอกลักษณ์โดยเฉพาะทางวัฒนธรรม พลโลกเกิดค่านิยมที่เป็นความตระหนักและสำนึกต่อการแก้ปัญหาหลักบางเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อนานาประเทศในโลก เช่นสภาวะแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยการขัดแย้งกับทางศาสนา ฯลฯ อย่างไรก็ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ดังกล่าวมีผลทำให้วัฒนธรรมดังเดิมของประเทศต่างๆ เสื่อมลง กระตุ้นกระแสบริโภคนิยมพร้อมทั้งทำลายสามัญสำนึกและวิจารณญาณของคนเกี่ยวกับแก่นสาระสำคัญของชีวิต
ดังนั้น การพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นสังคมที่พึงปรารถนาควรมีลักษณะ คือ สังคมที่มีสมรรถภาพ มีเสรีภาพ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติ เศรษฐกิจสมดุล สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประเทศมีความมั่นคง ปรัชญาในการพัฒนาประเทศควรเป็นการพัฒนา “คน” เพื่อให้คนเป็นองค์รวมมีช่วยและมีบทบาทในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สรุปก็คือ เป้าหมายการศึกษา จะต้องมุ่งสร้างคนที่มีความมั่นใจ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ ใฝ่การศึกษาที่สนองปัญหา และพัฒนาความเป็นมนุษย์ เพื่อส่งเสริมอิสรภาพปัจเจกบุคคล ส่งเสริมให้คนมีคุณธรรมต่อกัน มีค่านิยมและจริยธรรมตามศาสนาของตน มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีขันติธรรม
ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีแก่พสกนิกรไทยดังนี้
“...ระยะนี้บ้านเมืองของเราพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า สังคมของเราเสื่อมทรามไปในทางความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตกว่า ถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไป เราอาจเอาตัวไม่รอด ปัจจุบันนี้ แม้ว่าเราจะอยู่ท่ามกลางความเจริญรุดหน้าแห่งยุคปัจจุบันอย่างไร เราก็ทอดทิ้งการศึกษาทางด้านจิตใจ และศีลธรรมจรรยาไม่ได้ ตรงข้ามเราควรจะเอาใจใส่สั่งสอนกันให้หนักแน่นทั่วถึงยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความคิดความเข้าใจถูกต้องสอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อมที่วิวัฒนาการไปไม่หยุดยั้ง
เราจะต้องสอนทั้งสองอย่าง สอนวิทยาการทำมาหาเลี้ยงชีพ นี้หมายความว่ามีอาชีพ มีความรู้ทางวัตถุ และต้องรู้จักควบคุมจิตใจ ควบคุมสติของตัวให้เราสามารถใช้ความรู้ทางด้านวัตถุเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ถ้าไม่รู้จักควบคุมความรู้ที่มีในวัตถุ ก็อาจเกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ในที่สุดก็เป็นความเดือดร้อนต่อตนเอง”
สภาวการณ์ในยุคนี้ ทุกคนทุกฝ่ายต้องยอมรับกันแล้วว่า ภาวะสังคมไทยกำลังอยู่ในสภาพวิกฤติเกือบทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้แต่การศึกษา ทุกระบบดังกล่าวยังไม่อยู่ในสภาวะที่พึงพอใจ ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอีกหลายประการ แม้รัฐบาลจะได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวดังเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ( พ.ศ.2540 -2544 ) เป้าหมายสำคัญอยู่ที่มีการสังคมที่พึงปรารถนา ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ประเทศชาติมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกรวมว่า เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยเน้นให้คนมีความสุข มีศีลธรรม มีการศึกษา มีจิตสำนึก ต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคม มีระเบียบวินัย เห็นคุณค่าของศาสนา ในการพัฒนา “คน” เพื่อให้มีคุณลักษณะทุกฝ่ายตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สื่อมวลชน ตลอดจนผู้บริหารทุกฝ่ายทุกระดับต้องเป็นแกนและตัวจักรสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริหารในระดับใดจะต้องเห็นคุณค่าของตน ต้องเสริมสร้างพัฒนาตนเอง และเอื้ออำนวยในการพัฒนาบุคลากรในความรับผิดชอบ รวมทั้งเยาวชนที่ผู้บริหารนั้นๆ มีส่วนเกี่ยวข้องให้บุคคลเหล่านั้นเป็นคนเก่งและคนดี เพื่อจะได้ดำรงชีวิตในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุข สามารถช่วยสร้างสรรค์สังคมได้ ผู้บริหารต้องตระหนักในบทบาทของตนเองในฐานผู้นำ เป็นแบบอย่าง เป็นแกนสำคัญในการจะเป็นแรงจูงใจ กระตุ้นให้บุคลากรในความดูแลรับผิดชอบเป็นบุคคลที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี เพื่อจะช่วยพยุงจรรโลงสังคมไทยให้พ้นจากสภาวะวิกฤติดังกล่าวข้างต้น.
1. ความหมายของค่านิยม ค่านิยม (Value)
ตามความหมายที่นักการศึกษาให้ความหมายไว้ ดังนี้
ค่านิยม หมายถึง การยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนมีอยู่ต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นวัตถุ ความคิด อุดมคติ รวมทั้งการกระทำในด้านเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสุนทรียภาพ ทั้งนี้ได้กระทำการประเมินค่าจากทรรศนะต่าง ๆ โดยรอบคอบแล้ว (พนัส หันนาคินทร์, 2526 : 18 )
ค่านิยม คือหลักการประพฤติปฏิบัติตนต่อสิ่งต่างๆ ที่บุคคลถือว่าดีงามถูกต้อง และควรแก่การยึดถือ (วัชรี ธุวธรรม 2538 : 2 – 4)
ค่านิยม หมายถึง การให้ค่าแก่สิ่งต่างๆว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่นเราให้ค่าแก่ความซื่อสัตย์ว่าเป็นสิ่งที่ดี เราจะแสดงความซื่อสัตย์ หรือบางคนพอใจจะให้ค่าแก่การมีวัตถุสิ่งของว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าการได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของนั้นจะได้มาด้วยวิธีใด บุคคลก็จะสะสมวัตถุสิ่งของเอาไว้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ค่านิยมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสังคม (สมพร สุทัศนีย์, 2541 : 108 – 109)
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าค่านิยมเป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่า มีคุณค่าแก่ตนเอง หรือแก่สังคม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ ค่านิยมยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสังคม เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเลือกกระทำ ซึ่งหมายถึงจริยธรรมของแต่ละบุคคลและแต่ละสังคมนั่นเอง
2. ที่มาของค่านิยม
ค่านิยมเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ ยอมรับและเปลี่ยนแปลงได้ค่านิยมของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากที่มาของค่านิยมที่แตกต่างกันดังนี้
ค่านิยม อาจจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ค่านิยมส่วนบุคคล (individual values) เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลยึดถือปฏิบัติโดยเห็นคุณค่าในสิ่งนั้น (เช่น ความขยัน ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความประหยัด ฯลฯ)
2. ค่านิยมของสังคม (social values) เป็นค่านิยมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ ยอมรับในคุณค่า สมาชิกในสังคมพึงปฏิบัติจึงจะได้ชื่อว่าเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม
ค่านิยมของคนในสังคมไทย
คนไทยจะมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกันคือ คนไทยอยู่ใน “สังคมอำนาจนิยม” (Thinapan Nakata : 1975 : 55) คือยกย่องผู้มีอำนาจ ฉะนั้นคนไทยจึงมีค่านิยมตามลักษณะของสังคมไทยดังนี้
1. ยกย่องผู้มีอำนาจ
2. เคารพเชื่อฟังผู้มีอาวุโส
3. ค่านิยมของความสงบ
4. ค่านิยมของความเกรงใจ
5. ยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ
นอกจากนี้ยังมีค่านิยมอีกประการหนึ่งคือ “อิสรนิยม” นั่นก็คือ คนไทยรักอิสรภาพ ชอบทำสิ่งต่าง ๆ ตามสบาย ไม่ชอบกฎมาบังคับ ไม่ชอบใครมาควบคุมมากนัก จึงอาจกล่าวได้ว่ามีความเป็น “ปัจเจกชน” คือเป็นตัวของตัวเองในระดับสูง จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาว่าค่านิยมเหล่านี้ควรยึดปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใด หรือควรลดละเพื่อความเป็นสังคมที่มีประสิทธิภาพต่อไป
4. ค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทย
เนื่องจากค่านิยมเป็นสิ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมและจริยธรรมของคนในสังคม การปลูกฝังค่านิยมที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ผู้มีบทบาทหน้าที่ นับตั้งแต่พ่อแม่ ครูอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารควรปลูกฝังให้เยาวชนและคนในครอบครัว คนในสังคม รวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีค่านิยมที่พึงประสงค์ต่อไปนี้
กรมศาสนา (2525 : 2) ได้เสนอค่านิยมที่ควรปลูกฝังเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ อุปนิสัยและพฤติกรรมที่ดีของคนไทย ดังนี้
1. ความมีระเบียบวินัย
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและยุติธรรม
3. ขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาชีพ
4. สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
5. รู้จักคิดริเริ่ม มีวิจารณญาณ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
6. กระตือรือร้นในการปกครองแบบประชาธิปไตย รักและเทิดทูนชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
7. มีพลานามัยสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ
8. รู้จักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ
9. มีความภาคภูมิใจ และรู้จักทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และทรัพยากรของชาติ
10. มีความเสียสละ เมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และสามัคคีกัน
อำไพ สุจริตกุล และคณะ (2540 : 134 – 135) ได้กล่าวถึงค่านิยมอันพึงประสงค์ของคนไทยในปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากในรอบ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารระหว่างมวลมนุษย์ ได้ผลักดันให้คนมีการแข่งขันและการร่วมมือกันมากขึ้น มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตระหว่างกันสูงขึ้น ยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคที่ผลักดันให้คนต้องมีความเป็น “พลโลก” และ “ทันโลก” เพื่อ “การอยู่ร่วม” และ “การอยู่รอด”
ดังนั้นเป้าหมายแห่งการพัฒนาสังคมไทยในปัจจุบัน คือการสร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงทางวัตถุกับความเจริญงอกงามทางจิตใจ และความอาทรต่อธรรมชาติ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เป็นคนที่มีความสุข นำทางให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน จึงจำเป็นต้องกำหนดลักษณะของค่านิยม หรือคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญดังนี้
1. การมีมารยาท และมีวิธีการปฏิบัติตนทางกาย วาจา ใจ ขั้นพื้นฐาน
2. ความมีสติ สัมปชัญญะ เพื่อการครองตน ไม่กล้าสู่ความชั่ว
3. มีคุณธรรมที่สำคัญ ได้แก่
5. ความรักในธรรมชาติ
ในฐานะที่ค่านิยมเป็นเครื่องนำทางพฤติกรรมของคน และมีลักษณะที่ไม่คงที่ เมื่อประสบการณ์มากขึ้นก็จะมีผลทำให้บุคคลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่านิยมเดิม เราทราบค่านิยมของคนจากการประพฤติ การปฏิบัติในภาวะต่าง ๆ โดยผ่านการวินิจฉัยและเลือกสรรเข้าเป็นแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของตนจนออกมาในรูปของความคิดที่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พึงปรารถนามีคุณค่าควรแก่การประพฤติปฏิบัติต่อไป
5. จรรยาบรรณ
ในวงงานวิชาชีพนั้น จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่สำคัญ วิชาชีพที่กำหนดจรรยาบรรณจะเป็นอาชีพที่ต้องศึกษาด้วยศาสตร์ชั้นสูง มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นอาชีพที่มีองค์กรหรือสมาคมรองรับ เช่นคุรุสภาเป็นองค์กรของวิชาชีพครู เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเป็นวิชาชีพที่มีการจัดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งด้านทฤษฏีและด้านปฏิบัติ จนผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีประสบการณ์อย่างสมบูรณ์ในศาสตร์สาขานั้นๆ
6. ความหมายของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลลดความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่าง กำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2538 : 214 )
จรรยาบรรณ หมายถึง จริยวิชาชีพ จรรยาวิชาชีพ หรือจริยธรรมวิชาชีพ (professional ethics) จริยธรรมวิชาชีพจะครอบคลุมในทุกเรื่องทุกประการที่เป็นข้อควรประพฤติสำหรับกลุ่มวิชาชีพอันรวมถึงข้าราชการด้วย (พระเมธีธรรมาภรณ์, 2538 : 3)
จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพ โดยที่ข้อบัญญัตินั้นอาจจะเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือบอกกล่าวด้วยวาจาในสังคมวิชาชีพนั้นก็ได้ ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับโทษ โดยการว่ากล่าวตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ (วัลลภา เทพหัวดิน ณ อยุธยา, 2541 : 4)
จรรยาบรรณจึงเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นศาสตร์ชั้นสูง มีองค์กรหรือสมาคมรองรับ จะต้องปฏิบัติเพื่อการครองตนและครองงาน อันเป็นทางที่จะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ และบรรลุความสำเร็จของงาน วิชาชีพที่มีการกำหนดจรรยาบรรณจะแตกต่างจากอาชีพธรรมดา คนที่มีอาชีพธรรมดามุ่งที่การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ แต่ไม่ใช่วิชาชีพ (profession) เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ไม่จัดเป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องศึกษาศาสตร์ เฉพาะชั้นสูงที่มีจรรยาบรรณนั้นถือว่าเป็นผู้ทำหน้าที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. เป็นอาชีพที่ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนระดับสูง
2. มีการคัดเลือกสรรหาบุคคลเข้ามาในวงการวิชาชีพนั้น
3. มีจรรยาบรรณหรือจริยธรรมของผู้ที่อยู่ในวงการของวิชาชีพนั้น
4. มีสมาคมวิชาชีพที่คอยควบคุมกำกับดูแล
จุดมุ่งหมายของการกำหนดจรรยาบรรณ เพื่อ
1. ให้คนที่อยู่ในวิชาชีพนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการ
3. รักษาชื่อเสียงเกียรติ ศักดิ์ศรีของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพนั้น ๆ
4. การกำหนดจรรยาบรรณเป็นลายลักษณ์อักษร จะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพตน และให้ผู้รับบริการรับรู้และเข้าใจ
ในส่วนจรรยาบรรณของนักบริหารการศึกษานั้น แม้ไม่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาจจะพิจารณารับจากจรรยาบรรณและวินัยของข้าราชการครู และจริยธรรมของข้าราชการรวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานของผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540 มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนดังนี้
7.จรรยาบรรณครู
ตามที่คุรุสภาได้กำหนดไว้มี 9 ประการดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ตราข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 เพื่อให้ข้าราชการถือปฏิบัติ ดังมีสาระสำคัญดังนี้
โดยทีข้าราชการพลเรือนมีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงสมควรมีข้อบังคับ ก.พ.ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้เป็นประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะของข้าราชการพลเรือน อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา และยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8(5) และมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2525 จึงออกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ดังต่อไปนี้
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ 1 ข้าราชการพลเรือนพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดีและประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
ข้อ 2 ข้าราชการพลเรือนพึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพกำหนดไว้ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย
ข้อ 3 ข้าราชการพลเรือนพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมจริยธรรมรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
ข้อ 4 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ
ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถรอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ
ข้อ 6 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่
ข้อ 7 ข้าราชการพลเรือนพึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระวังมิให้เสียหาย หรือสิ้นเปลื้องเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน
ข้อ 8 ข้าราชการพลเรือนพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตนทั้งในด้านการให้ความคิด การช่วยทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย
ข้อ 9 ข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงดุแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญ กำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตลอดจนปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ข้อ 10 ข้าราชการพลเรือนพึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ข้อ 11 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพมีน้ำใจและมนุษยสัมพันธ์อันดี
ข้อ 12 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นจากการนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน
จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม
ข้อ 13 ข้าราชการพลเรือนพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำให้ติดต่อหน่วยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆต่อไป
ข้อ 14 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชนจะให้กันโดยเสน่หาจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หากได้รับแล้วและทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัย ก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามสมควรแกกรณี
9. เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา ของคุรุสภา พ.ศ. 2540
เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา ของคุรุสภา พ.ศ. 2540 นับเป็นฉบับแรกที่คุรุสภาจัดทำขึ้น โดยยึดถือแนวคิดและความเชื่อที่ว่าผู้บริหารการศึกษาเป็น “ผู้จัดการ” ทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคนและการพัฒนาในรูแบอื่นๆ เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา มีอยู่ 12 ข้อ ดังนี้ (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาบุคคล ผู้เรียน และชุมชน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนงานขององค์กร ให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานที่ 6 ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร
มาตรฐานที่ 7 รายงานคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนาทุกสถานการณ์
ผู้บริหารการศึกษาที่จะประสบความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ประสบความสำเร็จ และประสบความสุข นอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม เป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ และเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีหลักปฏิบัติทั้งในฐานะเป็นข้าราชการและในฐานะเป็นครู หรือแม้จะอยู่ในองค์การหน่วยงานใดก็ตามก็ต้องศรัทธาต่อวิชาชีพนั้นๆ ต้องรักและภาคภูมิใจในวิชาชีพนั้นๆ เห็นความสำคัญของวิชาชีพนั้นด้วยความชื่นชม ธำรงปกป้องรักษาเกียรติภูมิของวิชาชีพ เพื่อไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ ทำให้ตนเองต้องมัวหมอง โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องอยู่ในฐานะที่ผู้คนรอบข้าง ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถืออย่างจริงใจ เพื่อการคนบริหารคนบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี จึงจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องครองตนให้สมกับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
พุทธสาวกผู้บริโภคอย่างคุ้มค่า
พูดถึงเรื่องประหยัด หรือใช้สิ่งของให้คุ้มคา พระอานนท์ก็เป็นผู้ประหยัด และฉลาดในเรื่องนี้มาก ดังครั้งหนึ่งหลังพุทธปรินิพพาน ท่านได้เดินทางเรือไปสู่นครโกสัมพีเพื่อประกาศพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระหัวดื้อตามคำสั่งของพระภูมีพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน เมื่อขึ้นจากเรือแล้วท่านเข้าอาศัยพัก ณ พระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน ราชาแห่งนครนั้น ขณะนั้นพระเจ้าอุเทนและมเหสีประทับอยู่ ณ พระราชอุทยาน พระมเหสีทรงทราบว่าพระอานนท์มาก็ทรงโสมนัส ทูลลาพระสวามีไปเยี่ยมพระอานนท์ สนทนาพอเป็นสัมโมทนียกถาแล้วพระอานนท์แสดงธรรมเป็นที่เลื่อมใสจับจิตยิ่งนัก พระนางได้ถวายจีวรจำนวนมาก 500 ผืน ในเวลาต่อมาแต่พระอานนท์ พระเจ้าอุเทนทรงทราบเรื่องนี้แทนที่จะทรงพิโรธพระมเหสี กลับทรงตำหนิท่านอานนท์ว่ารับจีวรไปทำไมมากมายหลายร้อยผืน จะไปตั้งร้านขายจีวรหรือไร เมื่อมีโอกาสได้พบพระอานนท์ พระองค์ทรงเรียนถามว่า
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ ๓ ด้าน ประกอบด้วย
๑. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน
ภาค ก 1.1 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการปัจจุบัน
ตามลิงค์
http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_4116.html
ภาค ก (ใหม่) 1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ของความเป็นครู
ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
คำว่า”คุณธรรมจริยธรรม” นี้ เป็นคำที่คนส่วนใหญ่จะกล่าวควบคู่กันเสมอ จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า คำทั้งสองคำมีความหมายอย่างเดียวกันหรือมีความหมายเหมือนกัน แท้ที่จริงแล้วคำว่า “คุณธรรม” กับคำว่า”จริยธรรม” เป็นคำแยกออกได้ 2 คำ และมีความหมายแตกต่างกันคำว่า “ คุณ” แปลว่า ความดี เป็นคำที่มีความหมายเป็นทางนามธรรม ส่วนคำว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติกริยาที่ควรประพฤติเป็นคำที่มีความหมายทางรูปธรรม ดังนั้น จึงควรที่ผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำสองคำนี้ให้ถ่องแท้ก่อนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 189) ให้ความหมายว่า” คุณธรรม หมายถึงสภาพคุณงามความดี”
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตโต ) (2540: 14) ได้กล่าวว่าคุณธรรมเป็น ภาพของจิตใจกล่าวคือคุณสมบัติที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม ให้เป็นจิตใจที่สูง ประณีตและประเสริฐ เช่น
เมตตา คือ ความรักปรารถนาดี เป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือผู้อื่นมีความสุข
มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสำเร็จให้มีความสุขหรือก้าวหน้าในการทำสิ่งที่ดีงาม
อุเบกขา คือ การวางตัววางใจเป็นกลาง เพื่อรักษาธรรมเมื่อผู้อื่นควรจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาตามเหตุและผล
จาคะ คือ ความมีน้ำใจเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว
วศิน อินทสระ (2541: 106,113) กล่าวตามหลักจริยศาสตร์ว่า คุณธรรม คือ อุปนิสัยอันดีงามซึ่งสั่งสมอยู่ในดวงจิต อุปนิสัยอันนี้ได้มาจากความพยายามและความประพฤติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน... คุณธรรมสัมพันธ์กับหน้าที่อย่างมาก เพราะการทำหน้าที่จนเป็นนิสัย จะกลายเปํนอุปนิสัยอันดีงามที่สั่งสมในดวงจิตเป็นบารมี มีลักษณะอย่างเดียวกันนี้ ถ้าเป็นฝ่ายชั่ว เรียกว่า “อาสวะ” คือ กิเลสที่หมักหมมในดวงจิต ย้อมจิตให้เศร้าหมองเกรอะกรังด้วยความชั่วนานาประการกลายเป็นสันดานชั่ว ทำให้แก้ไขยากสอนยาก กล่าวโดยสรุป คุณธรรมคือความล้ำเลิศแห่งอุปนิสัยซึ่งเป็นผลของการการะทำหน้าที่จนกลายเป็นนิสัยนั่นเอง
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 15-16) กล่าวว่า คุณธรรมคือคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ ถ้าปลูกฝังเรื่องคุณธรรมได้จะเป็นพื้นฐานจรรยาบรรณ... จรรยาบรรณนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมในการที่จะพัฒนาต้องตีความออกไปว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีพื้นฐานจากคุณธรรมข้อใด เช่น เบญจศีลเป็นจริยธรรม เบญจธรรมเป็นคุณธรรมคือ ความเมตตากรุณา ถ้ามีความเมตตากรุณาจะมีฐานของศีลข้อที่ 1 เป็นต้น ส่วนจริยธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2538 : 216 ) ให้ความหมายว่า “จริยธรรมหมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม”
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2535: 81-82) กล่าวว่าจริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติ หรือแนวทางการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการประพฤติปฏิบัติจนให้เป็นคนดีเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
นอกจากนี้พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 2) ยังให้แนวคิดว่าจริยธรรมคือหลักแห่งความประพฤติดีงามสำหรับทุกคนในสังคม ถ้าเป็นข้อปฏิบัติทั่วไป เรียกว่าจริยธรรม ถ้าเป็นข้อควรประพฤติที่มีสาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ศีลธรรม แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยาธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นยังหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี แม้นักปราชญ์คนสำคัญ เช่น อริสโตเติล คานท์ มหาตมะคานธี ก็มีส่วนสร้างจริยธรรมสำหรับเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง
จากทัศนะของพระเมธีธรรมภรณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าจริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยความประพฤติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี ท่านผู้นี้มองจริยธรรมในฐานะที่เป็นระบบ อันมีศีลธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่ก็มีแนวคิดปรัชญา ค่านิยม ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีเข้ามาเกียวข้องด้วยจากที่กล่าวมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า คำว่า คุณธรรม จริยธรรม สองคำนี้เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านคุณงามความดี กล่าวคือ จริยธรรมคือความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกายและวาจา สมควรที่บุคคลจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ตนเองและคนในสังคมรอบข้างมีความสุข สงบ เยือกเย็น จริยธรรมเป็นเรื่องของการฝึกนิสัยที่ดี โดยกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ผู้มีความประพฤติดีงามอย่างแท้จริงจะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกในด้านดีอยู่ตลอดเวลา คือ มี “คุณธรรม “ อยู๋ในจิตใจหรืออาจกล่าวได้ว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมภายนอก ส่วนคุณธรรมเป็นสภาพคุณงามความดีภายในจิตใจ ซึ่งทั้งสองส่วนต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและวาจานั้น ย่อมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจและสติปัญญา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลจึงต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ควบคู่กันไป คือ การพัฒนาด้านสติปัญญา ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรม
ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรมจริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมืองการปกครอง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหารและนักการเมืองที่ดี ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริ-ยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ. ศ.2525 ไว้ ดังนี้
“.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว เป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำทางให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์..”
จริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม ที่จะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจิตใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไมก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลมีคุณค่ามีประโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองต่อไป
วศิน อินทสระ (2541 : 6-9) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของจริยธรรมดังจะกล่าวโดยย่อดังนี้
1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงและความสงบสุขของปัจเจกชน สังคมและประเทศชาติอย่างยิ่ง รัฐควรส่งเสริมประชาชนให้มีจริยธรรมเป็นอันดับแรก เพื่อให้เป็นแกนกลางของการพัฒนาด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง ฯลฯ การพัฒนาที่ขาดจริยธรรมเป็นหลักยึดย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าดี เพราะผู้มีความรู้แต่ขาดคุณธรรม ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้ด้อยความรู้ โดยท่านกล่าวว่า “ ผู้มีความรู้แต่ไม่รู้วิธีที่จะประพฤติตน ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้มีความรู้น้อย ถ้าเปรียบความรู้เหมือนดิน จริยธรรมย่อมเป็นเหมือนน้ำ ดินที่ไม่มีน้ำยึดเหนี่ยวเกาะกุมย่อมเป็นฝุ่นละอองให้ความรำคาญมากกว่าให้ประโยชน์ คนที่มีความรู้แต่ไม่มีจริยธรรมจึงมักเป็นคนที่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นอยู่เนืองๆ”
2. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้พร้อมๆไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่นๆ เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนำนั้นจะสูญเปล่าและเกิดผลเสียเป็นอันมากทำให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุข การที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคมละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไปขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ำใจในการดำเนินชีวิตซึ่งกันและกัน
3. จริยธรรม มิได้หมายถึง การถือศีล กินเพล เข้าวัดฟังธรรม จำศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทำประโยชน์ให้แก่สังคม แต่จริยธรรมหมายถึงความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เว้นสิ่งควรเว้น ทำสิ่งควรทำ ด้วยความฉลาดรอบคอบ รู้เหตุรู้ผลถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล ดังนั้นจะเห็นว่าจริยธรรมจึงจำเป็นและมีคุณค่าสำหรับทุกคนในทุกวิชาชีพทุกสังคม สังคมจะอยู่รอดด้วยจริยธรรม
4.การทุจริต คดโกง การเบียดเบียนกันในรูปแบบต่างๆอันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้น่าจะพอเลี้ยงชาวโลกไปได้อีกนาน ถ้าชาวโลกช่วยกันละทิ้งความละโมบโลภมาก แล้วมามีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม ยึดเอาจริยธรรมเป็นทางดำเนินชีวิต ไม่ใช่ยึดเอาลาภยศความมีหน้ามีตาในสังคมเป็นจุดหมาย ถ้าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นก็ถือเป็นเพียงผลพลอยได้และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประพฤติธรรม เช่น อาศัยลาภผลเป็นเครื่องมือในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อาศัยยศและความมีหน้ามีเกียรติในสังคมเป็นเครื่องมือในการจูงใจคนผู้เคารพนับถือเข้าหาธรรม
5. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุพการีของชาติ สอนให้เราถ่อมตัวเพื่อเข้าหากันได้ดีกับคนทั้งหลาย และไม่วางโตโอหังอวดดีหรือก้าวร้าวผู้อื่น สอนให้เราลดทิฏฐิมานะลงให้มากๆเพื่อจะได้มองเห็นสิ่งต่างๆตามความจริง ไม่หลงสำคัญตัวว่ารู้ดีกว่า มีความสามารถกว่าใคร ผู้นำที่มีจริยธรรมสูงย่อมเป็นที่เคารพกราบไหว้ของทั้งหลายได้อย่างสนิทใจ เราควรเลือกผู้นำที่สามารถนำความสงบสุขทางใจมาสู่มวลชนได้ด้วย เพื่อสันติสุขจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ความแข็งแกร่งทางกำลังกายกำลังทรัพย์และอาวุธนั้น ถ้าปราศจากความแข็งแกร่งทางจริยธรรมเสียแล้ว บุคคลหรือประเทศชาติจะมั่นคงอยู่ได้ไม่นาน สังคมที่เจริญมั่นคงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องรับรอบหรือเป็นแกนกลาง เหมือนถนนที่มั่นคงหรือตึกที่แข็งแรง เขาใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแม้เหล็กจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็นภายนอก แต่มีความสำคัญอยู่ภายในนายช่างย่อมรู้ดี ทำนองเดียวกันกับบัณฑิตย่อมมองเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าจริยธรรมมีความสำคัญในสังคมเพียงใด
จากข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอสรุปได้ว่าคุณธรรมจริยธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคน ปัญหาของสังคมไทยที่ประสบพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดจาก “คน” ปัญหาเริ่มต้นที่ “คน” และมีผลกระทบถึง “คน “ การแก้ปัญหาสังคมไทยจึงต้องแก้ด้วย “การพัฒนาคน” เพื่อให้คนมีปัญญา มีความรู้มีคุณธรรมและมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะพัฒนาคนอย่างไรเพื่อให้คนมีชีวิตที่ดีงามสามารถใช้ความรู้และแก้ปัญหาได้ สร้างสรรค์ได้ ปฏิบัติต่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง อยู่ในระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ บริโภคผลผลิตด้วยปัญญา รู้อะไรดี อะไรชั่ว มีทัศนคติทางจริยธรรมที่เหมาะสม ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของคนที่มีคุณธรรม การจัดการศึกษาคงต้องยึดหลักสำคัญคือ “ให้ความรู้คู่คุณธรรม “ สังคมไทยจึงจะมีสมาชิกของสังคมที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ดังคำกลอนของอำไพ สุจริตกุล (2534 : 186)
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
สิ่งที่น่าสนใจในอันดับต่อไปคือ จริยธรรมเกิดขึ้น ได้อย่างไร ต้นกำเนิดของจริยธรรมที่เป็นแหล่งที่มาที่สำคัญของจริยธรรมด้วย เพราะวรรณคดีเป็นที่รวบรวมแนวคิดทางจริยธรรม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดจริยธรรม ดังรายละเอียดที่กล่าวต่อไปนี้แหล่งที่มาของจริยธรรม
แหล่งที่เป็นบ่อเกิดของจริยธรรมที่เป็นแหล่งสำคัญ มีดังนี้
1. ปรัชญา วิชาปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง สาระของปรัชญาจะกล่าวถึงลักษณะของชีวิตที่พึงปรารถนาควรเป็นอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์ สภาพสังคมที่ดี ความคิดเชิงปรัชญาจะแถลงออกมาเป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผล จนคนต้องยอมรับว่าเป็นความคิดที่ได้รับการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบแล้วปรัชญาจะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับความดี ความงาม ค่านิยม เพื่อจะได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติประจำตัวต่อไป
2. ศาสนา คำสอนของศาสดาในศาสนาต่างๆ ตามที่ศาสดาเหล่านั้นท่านได้ปฏิบัติเองและสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม จนเกิดผลดีงามของการปฏิบัตินั้นเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว เช่น หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา คำสอนของศาสนาคริสต์ หรือข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
3. วรรณคดี หนังสือวรรณคดีเป็นหนังสือที่มีมาตรฐานทั้งด้านเนื้อหาสาระ คุณค่าและวิธีแต่ง จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ชาติที่เจริญด้วยวัฒนธรรมย่อมมีวรรณคดีเป็นของตนเองในหนังสือวรรณคดีจะมีแนวคิด คำสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง จึงกล่าวได้ว่าวรรณคดีก็เป็นแหล่งกำเนิดหรือเป็นที่รวบรวมแนวคิดทางจริยธรรมด้วย
4. สังคม สิ่งที่สังคมกำหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ถือปฏิบัติกันในสังคมและยอมรับสืบทอดกันมา
5. การเมืองการปกครอง ในระบอบการเมืองการปกครอง ได้กำหนดข้อบังคับระเบียบกฎหมายของบ้านเมือง จรรยาบรรณต่างๆ ซึ่งเป็นข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเพื่อความยุติธรรมโดยทั่วกัน
การเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดได้จากลักษณะต่อไปนี้
เกิดจากการเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับ การเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่แวดล้อมตนอยู่แล้วนำมาปรับเข้ากับตนเอง กระบวนการนี้จัดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญ่จะเกิดในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและชุมชน
การสร้างจริยธรรมในตนเอง โดยตัวเองเป็นผู้กำหนดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของมโนธรรม เหตุผลหรืออารมณ์ของมนุษย์ นักปรัชญาบางคนเช่นคานต์ (Kant) เชื่อว่า มนุษย์มีกฎจริยธรรมเกิดขึ้นในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด แนวศีลธรรม ให้ยึดถือปฏิบัติการบำเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตามหลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามที่ได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบำเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึงเป้าหมายของความเชื่อสูงสุดที่ยึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสุคติหรือหนทางดีงาม หลักจริยธรรมที่ขยายขอบเขตจากจุดเล็กสุดคือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก
ระดับจริยธรรม
เป้าหมายของคุณงามความดีที่บุคคลได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้วนั้น จะได้รับผลมากน้อยขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาของบุคคลนั้น ๆ ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งระดับจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะเนื่องในโลก เช่น ศีล 5 เป็นต้น โลกียธรรมเป็นธรรมขั้นต้นสำหรับผู้มีสติปัญญาไม่แก่กล้า การปฏิบัติตามโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ทำชั่วสร้างแต่คุณงามความดีและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นการน้อมนำเอาพุทธโอวาทมาปฏิบัติในฐานะที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ จริยธรรมในระดับโลกียธรรม จะถูกกำหนดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากคำสอนของศาสนาแล้วก็ยังมีองค์กรทางสังคม เช่น ระเบียบ กติกา จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ องค์กรทางการเมือง อันได้แก่ กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด เป็นต้น
2. ระดับโลกุตตรธรรม โลกุตตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือผู้พ้นจากกิเลส ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ จากระดับต่ำไปสู่ระดับสูง ดังนี้
- โสดาบันอริยบุคคล
- สกทาคามีอริยบุคคล
- อนาคามีอริยบุคคล
- อรหันตอริยบุคคล
องค์ประกอบของจริยธรรม
กรมวิชาการ (2535 : 5 ) ได้จัดทำเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย สรุปว่า จริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
ด้านความรู้ (moral reasoning) คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องได้ด้วยการคิด
ด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือ ความพึงพอใจ ความศรัทธาเลื่อมใส ความนิยมยินดี ที่จะรับจริยธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน
ด้านพฤติกรรม (moral conduct) คือการกระทำหรือหารแสดงออกของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากอิทธิพลของทั้งสององค์ประกอบข้างต้น
เนื่องจากองค์ประกอบของจริยธรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาคนในด้านจริยธรรมจึงต้องพัฒนา 3 ด้านไปด้วยกัน ในการดำเนินชีวิตของคนนั้น องค์ประกอบทั้ง 3 ประการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและทางวาจานั้น จะมีความสัมพันธ์กับทางจิตใจและสติปัญญา คนที่มีอารมณ์โกรธจะแสดงพฤติกรรมออกมาทางการก้าวร้าวรุนแรง และยิ่งเป็นคนที่มีปัญญาน้อยด้วยแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกก็จะก้าวร้าวรุนแรงยิ่งกว่าบุคคลที่มีสติปัญญาซึ่งจะสามารถควบคุมจิตใจของตนได้โดยไม่แสดงพฤติกรรมไม่ดีให้ออกมาปรากฏ นั่นก็แสดงว่าผู้มีสติปัญญาดีย่อมสามารถควบคุมอารมณ์และความประพฤติได้ดีกว่าผู้ด้อยปัญญานั่นเอง
แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ด้าน กล่าวคือ เริ่มจากการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญอันดับแรก ได้แก่ ปัญญาหรือความรู้ ด้วยเห็นว่า “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในทางที่ถูกต้องและเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นอิสระ เป็นสุขจากแรงกระทบกระทั่งทั้งปวงนั้น นักปราชญ์ทางการศึกษาได้เห็นพร้องกันดังนี้
พระธรรมปิฎก ( 2539 : 15-21) กล่าวไว้พอนำมาสรุปความได้ว่า มนุษย์นั้นเมื่อรับรู้ประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะมีความรู้สึกหรือเวทนาเกิดขึ้น ความรู้สึกนี้อาจเป็นได้ทั้งสุข เวทนา หรือทุกขเวทนา เมื่อมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมนุษย์ที่ยังมีอวิชชาก็จะมีปฏิกิริยาแตกต่างจากผู้มีปัญญา คือถ้าผู้มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ตัณหา” ตัณหาจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม การใช้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ก็เพราะมนุษย์ยังไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา การใช้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมอาจทำให้เกิดโทษหลายประการ คือ เป็นอันตรายต่อตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์หรือสังคม เป็นอันตายต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเกิดปัญหาเช่นนี้ เนื่องจากมนุษย์ปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมการแก้ปัญหา ก็คือ เราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมไม่ได้ มนุษย์จะต้องกำหนดรู้อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตของตนแล้วทำตามความรู้นั้น คือเอาความรู้เป็นตัวกำหนดนำพฤติกรรม
ดังนั้น ในการศึกษา จึงต้องฝึกคนให้พัฒนาปัญญา เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไป เช่นการบริโภคอาหาร ก็จะกำหนดรู้ด้วยปัญญาว่าเรากินเพื่อบำรุงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ให้มีความสุขภาพดี เพื่อให้เรามีชีวิตที่ผาสุก หรือเป็นเครื่องเกื้อหนุนชีวิตที่ดีงาม เพื่อการบำเพ็ญกิจอันประเสริฐคือการทำหน้าที่และประโยชน์ต่างๆ นั่นก็คือใช้ปัญญาในการทำหน้าที่รู้คุณค่าของอาหาร รู้ความประสงค์ในการกินการบริโภคและ “ปัญญา” นี้จะมาเป็นตัวนำพฤติกรรมตัวใหม่ “ปัญญา” จะมากำหนดพฤติกรรมแทน “ตัณหา” นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการศึกษาหรือการพัฒนาคน คือพัฒนาปัญญาหรือความรู้ก่อน นอกจากแนวคิดของพระธรรมปิฎกแล้ว ยีงมีแนวคิดของนักการศึกษาตะวันตกที่เห็นพร้องต้องกันกับแนวคิดนี้คือ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964 : 385-390) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาทางสติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โคลเบิร์กเชื่อว่าจริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กจะสอดคล้องกับทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ นักการศึกษาทั้งสองท่านเชื่อว่า จริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น และจากการศึกษาและวิจัยของโคลเบิร์ก (Kohlberg) ยืนยันว่าจริยธรรมมีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะและมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา
คุณธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี เพราะคุณธรรมเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั่วไป คุณธรรมตามแนวคิดของนักปราชญ์ทั้งหลายจึงจำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความรู้ความเข้าใจ ส่วนอารมณ์ความรู้สึกและส่วนที่เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงอกมา เช่น การปฏิบัติตามศาสนา การควบคุมตนเอง ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ฯลฯ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างถูกต้องดีงาม การที่ผู้บริหารจะพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม หรือการที่ผู้บริหารจะพัฒนาผู้อื่นที่แวดล้อมใกล้ชิดและเกี่ยวข้องอยู่ในความดูแล เพื่อให้เป็นบุคคลผู้มีคุณธรรมจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจ อารมณ์ เพื่อให้ทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นต่อไป
องค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมนี้ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า จิตใจเป็นส่วนสำคัญที่สุด เป็นตัวที่ควบคุมพฤติกรรมของคนดังคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” คำกล่าวนี้ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานให้พบเห็นเสมอว่า ความอุตสาหะ ความกล้าหาญ ความรัก ความชัง ฯลฯ ล้วนเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่มีผลให้คนแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน หากแต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเราย่อมอ่อนไหวผันแปรได้ง่าย หากไม่มีปัญญาเป็นตัวกำกับ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ เมื่อจิตใจผันผวนปรวนแปรพฤติกรรมของคนก็จะเปลี่ยนแปลง เพราะเกิดตัณหาเป็นตัวนำจิตใจ แต่ถ้าหากบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา รู้แจ้งในความเป็นจริงของโลกและชีวิต ปัญญาก็จะเป็นตัวชี้นำไม่ให้จิตใจอ่อนไหวไปตามสิ่งที่มากระทบ จิตใจก็จะเข้มแข็งไม่อ่อนไหวปรวนแปร จนเกิดผลกระทบไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ เพราะมีปัญญาเป็นตัวควบคุมจิตใจไว้อีกระดับหนึ่ง จึงสรุปได้ว่า ในองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วนนี้ “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ที่จะชี้นำให้จิตใจและพฤติกรรมของคนดำเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“ สพฺเพ ธมฺมา ปญฺญุตฺตา ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นเยี่ยมยอด”
แนวคิดของพุทธปรัชญา
“ ...เนื้อหาสาระและกฎเกณฑ์ของพระพุทธศาสนา
เกิดจากการค้นหาความจริงของชีวิตด้วยปัญญามนุษย์
พระพุทธศาสนาแสดงความจริงของชีวิต
แสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสูงสุดของชีวิต
มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุผลว่าทุกสิ่งเกิดจากเหตุ
ผู้ใดประกอบเหตุอย่างเพียงใด
ก็จะได้ผลอย่างนั้นเพียงนั้น...”
พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม
แนวคิด หลักการ ทฤษฏี รวมทั้งหลักคำสอนทางศาสนาต่างๆ มีอยู่มากมาย ผู้บริหารควรศึกษาน้อมนำมาพิจารณาเป็นแนวทางปฏิบัติตนและการดำเนินงาน หลักคำสอนที่จะนำมาพอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้มีทั้งจากคำสอนทางศาสนา หลักปรัชญา แนวคิดของนักปราชญ์ทั้งในอดีตกาล และแนวใหม่ ทั้งของทางตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งของไทยดังนี้โสคราตีส (Socrates) กล่าวถึงคุณธรรมว่า คุณธรรมคือความรู้ (virtue is knowledge) การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม คือการแสวงหาคุณธรรม เพราะคุณธรรมคือความรู้ที่แท้จริง ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริงๆ แล้ว เขาจะไม่พลาดจากการประกอบความดีละเว้นความชั่ว คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์มี 5 ประการ คือ
1. ปัญญา หรือความรู้ (wisdom) หมายถึง รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
2. การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (duty) คือ การทำความดี การเคารพยกย่องสิ่งที่ควรเคารพ เช่นพระผู้เป็นเจ้า พระธรรม การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
3. ความกล้าหาญ (courage) คือกล้าในสิ่งควรกล้าและกลัวในสิ่งควรกลัว
4.การควบคุมตนเอง (self control หรือ temperance) คือ การใช้ปัญญาควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก
5.ยุติธรรม (justice) คือการปฏิบัติต่อผู้อื่น และต่อตนเองอย่างเหมาะสม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เพลโต ( Plato) กล่าวว่า คุณธรรม คือ การปฏิบัติที่ดีตามหน้าทีของวิญญาณ และคุณธรรมไม่สารถเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เพราะมนุษย์จะต้องรู้ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร คุณธรรมจึงเกิดขึ้นจากความรู้ ไม่ใช่ความรู้ทฤษฏี แต่เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง คุณธรรมตามแนวคิดของเพลโต มี 4 ประการ คือ
1. ปัญญาหรือความรู้ (wisdom) คือการหยั่งรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ
2. ประมาณ (temperance) คือ การรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายชีวิต มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
3. กล้าหาญ (courage) คือ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตราย เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง หรือด้วยความมั่นใจว่าได้กระทำดีที่สุดแล้ว
4. ยุติธรรม (justice) คือการให้แก่ทุกคนอย่างเหมาะสม เช่น การให้แก่ตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างมีเหตุผลอันควร
อริสโตเติล (Aristotle) ได้นำคุณธรรมของเพลโต ( Plato) มาอธิบายว่าคุณธรรม ได้แก่ การเดินสายกลางระหว่างความไม่พอดีกับความพอดี หรือคุณธรรมคือความพอดีพองาม ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความกล้าหาญจะอยู่ระหว่างความบ้าบิ่นกับความขลาด ความสุภาพอยู่ระหว่างความขี้อายกับความไร้ยางอาย และความเอื้อเฟื้ออยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ คุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือการรู้และค้นหาความจริงนั่นเอง
2. คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปคำสอน ละมุ่งเพื่อความดีงาม คนมีคุณธรรมก็คือคนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม อริสโตเติลเสนอคุณธรรมพิเศษไว้ 4 ประการ คือ มิตรภาพ ประมาณ กล้าหาญ และยุติธรรม
หลักจริยธรรมของขงจื้อ
หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต
หลักจริยธรรมของศาสนาเชน
หลักจริยธรรมของศาสนาเต๋า
หลักจริยธรรมของศาสนาคริสต์
หลักจริยธรรมของศาสนาอิสลาม
หลักพุทธจริยศาสตร์
ธรรมชาติของมนุษย์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
ผู้บริหารควรเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งบุคคลที่อยู่รอบข้างและผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อการบริหารงานจะได้เป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ โดยธรรมชาติมนุษย์เป็นอย่างไร เกิดมาพร้อมที่จะเป็นคนดีหรือคนชั่ว หรือไม่ดี ไม่ชั่ว แต่มาดี ชั่ว เพราะการอบรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมทำให้เป็นในภายหลัง เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์นี้ สามารถศึกษาได้หลายแนวทาง เช่น แนวคิดทางปรัชญา แนวจิตวิทยา แนวมานุษยวิทยา แนวสังคมวิทยาเป็นต้นแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงคำสอนให้เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งดีและชั่วติดตัวมาแต่ชาติก่อน (วศิน อินทสระ, 2541 : 81) กล่าวคือ พระพุทธศาสนายอมรับเรื่องชาติก่อน เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ช่วงเวียนว่ายตายเกิดก็ได้สั่งสมทั้งดีทั้งชั่ว ดี-ชั่ว เหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในจิตของเขา เขาเกิดมาพร้อมทั้งดีและชั่วอยู่แล้ว จะดีมากขึ้นถ้าได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการฝึกฝนอบรมดี และอาจจะชั่วได้ ถ้าได้รับการกระตุ้นให้ชั่ว หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
บุญมี ปาละวงศ์ (2537 : 99-100) กล่าวว่า มนุษย์ตามที่นักปราชญ์จำแนกไว้มีหลายประเภท โดยแบ่งตามคุณธรรมจริยธรรมที่มีอยู่ในจิตใจและการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้
1. วิญญูชน ได้แก่ มนุษย์ผู้รับผิดชอบตามปรกติ เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา หลุดพ้นจากกิเลส มีความคิดระลึกได้ตลอดเวลาทั้งก่อนทำ ก่อนพูด จัดบุคคลประเภทนี้เป็นอริยชน เป็นผู้ประเสริฐโดยแท้
2. ปัญญาชน ได้แก่ บุคคลได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ทางคดีโลก เช่น นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ เป็นต้น แต่อาจมีความบกพร่องทางคดีธรรมคือไม่มีความอายแก่ใจในการทำความชั่ว ไม่เกรงกลัวผลของความชั่วหรือเห็นผิดเป็นชอบ นิยมวัตถุมากกว่าการแสวงหาคุณธรรม
3. กัลยาณชน ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีงาม มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา รู้บาปบุญคุณโทษ พวกนี้ไม่ค่อยคำนึงถึงวัตถุมากนัก แต่คำนึงถึงความดีทางด้านจิตใจ
4. กัลยาณปุถุชน ได้แก่ บุคคลธรรมดา เป็นผู้มากด้วยกิเลสตัณหา แต่ยังรู้ดีรู้ชั่ว รู้บาปบุญคุณโทษอยู่ เห็นคุณค่าทางวัตถุและจิตใจเท่าๆกัน มีความสำนึกและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
5. ปุถุชน ได้แก่ บุคคลผู้หนาด้วยกิเลสตัณหา ติดอยู่ในความอยากความปรารถนาในรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส ยังมีอวิชชาครอบงำ ยึดมั่นในตัวตน ยึดถือเรา ถือเขา มีทิฏฐิมานะ
6. พาลชน ได้แก่ คนชั่วร้าย คนเกเร คนไร้สติปัญญาไม่มีเหตุผล ไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว ไม่รู้ถูกรู้ผิด ชอบเกะกะระรานรังแกผู้อื่น
7. อันธพาลชน ได้แก่ คนชั่วร้าย โง่เขลาเบาปัญญา ชอบรังแกผู้อื่นทั้งต่อหน้าและหลับหลัง รวมกลุ่มกันเป็นแก็งค์ ชอบก่อกวนสร้างปัญหาให้สังคม
8. เปตชน ได้แก่ คนที่มีลักษณะคล้ายเปรตหรือคนไม่สมประกอบ อาศัยคนอื่นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ ช่วยตัวเองไม่ได้ มีความทุกข์ ความเดือดร้อนอยู่เป็นนิจ ทั้งกายและใจ
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักจิตวิทยา
แนวคิดนักจิตวิทยาเกี่ยวกับจริยธรรมของมนุษย์มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วนและแตกต่างกันในบางประการดังนี้ (สมพร สุทัศนีย์ , 2541 : 42-43)
1. นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมต่างๆ เกิดจากสัญชาตญาณซึ่งอยู่ภายในตัวตน
2. นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีไม่เลว มนุษย์จะดีเลวขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้ามนุษย์อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะเป็นคนดี ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวก็จะเป็นคนเลว มนุษย์จึงเป็นผลผลิตของสิ่งแวดล้อม
3. นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม เชื่อว่ามนุษย์จะดีเลวขึ้นอยู่กับการปรับตัวในสภาพแวดล้อม มนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา
4. นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม เชื่อว่าเกิดมามาดีโดยกำเนิดพฤติกรรมของมนุษย์เกิดมาจากความต้องการพื้นฐาน มนุษย์เป็นหน่วยรวมของร่างกายและจิตใจ ซึ่งแสดงความคิด ความรู้สึกและการกระทำอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ถ้ามีความไม่ปรกติเกิดขึ้นในจิตใจ อาจก่อผลกระทบอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมได้
กล่าวโดยสรุป นักจิตวิทยามองมนุษย์แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ เกิดมาเลวและเกิดมาไม่ดีไม่เลว การเป็นคนดี คนเลว อาจติดมาโดยกำเนิดหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักสังคมวิทยา
นักสังคมวิทยาเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์คือสัตว์สังคม ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอยู่รวมกันจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาทางสังคม เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม กฎเกณฑ์ดังกล่าว เรียกว่า ปทัสถานทางสังคม (norms) ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. วิถีประชา (folkways) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลควรปฏิบัติ เช่น การบวชก่อนการแต่งงาน
2. จารีตประเพณี (mores) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลต้องปฏิบัติ หากฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำผิดทางศีลธรรม เช่น การเลี้ยงดูพ่อแม่ยามเฒ่า
3. กฎหมาย (laws) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
ถ้าบุคคลปฏิบัติตามปทัสถานของสังคมก็จะได้รับการยกย่องชมเชย สังคมยอมรับ และทำให้คนในสังคมอยู่กันอย่างสันติ
กลุ่มสังคมจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพความเป็นอยู่ทางธรรมชาติ แบบอย่างของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ กลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวมีดังนี้
1. กลุ่มญาติพี่น้อง เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันจากความสัมพันธ์ทางสายเลือดจะพบปะกันเสมอ มีความสนใจ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมคล้ายกันมาก มีความผูกพันกันมาก จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระดับสูง
2. กลุ่มเพื่อนบ้าน ในชนบทมีความสำคัญมาก จะมีความสัมพันธ์กันฉันญาติมิตร คอยให้ความช่วยเหลือกันโดยมีได้หวังผลตอบแทน ส่วนกลุ่มเพื่อนบ้านในเมืองใหญ่จะไม่ค่อยมีลักษณะแบบนี้
3. กลุ่มเพื่อนร่วมงาน จะเป็นกลุ่มมารวมกันในเวลาทำงานเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การนั้น ๆ
4. กลุ่มความสนใจ เกิดจากการความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นการรวมตัวกันเพื่อสนองความต้องการความสนใจในสิ่งเดียวกัน
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักบริหาร
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของแมกเกรเกอร์ (Mc Gregor :1966 : 33-34) กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีพฤติกรรมแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คอ
1. ทฤษฏีเอ็กซ์ ( X theory) เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (Man is wanting animal) และมีลักษณะอื่นๆ อีกเช่น
- ไม่ชอบทำงาน มักหลบงานเมื่อมีโอกาส การจูงใจให้ทำงานต้องใช้การบังคับ ควบคุม สั่งการ ลงโทษ
- ชอบเป็นผู้ตาม เวลาทำงานต้องคอยตามคำสั่ง พยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ แต่ต้องการความมั่นคงปลอดภัย
- ให้ความสนใจเฉพาะตนเองเท่านั้น ไม่สนใจความต้องการของผู้อื่น
- มักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
- รักงาน จะทำงานด้วยความสุข เชื่อว่างานเป็นสิ่งที่สนองความต้องการ คนจะหลีกเลี่ยงงานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา
- จะทำงานด้วยตัวของเขาเอง มีความรับผิดชอบในการทำงานจนได้รับความสำเร็จ
- ชอบทำงานเป็นกลุ่ม
- จะเรียนรู้จากสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบและจะแสวหาความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
- มีความเฉลียวฉลาด มีความคิด จินตนาการสร้างสรรค์ตนและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มนุษย์ทุกคนรู้จักตนเองว่าเป็นใคร
3. ทฤษฏีแซด( Z theory) เรดดิน (เรดดิน อ้างในศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ 2529 : 69-68) ทฤษฏีแซด( Z theory) เชื่อว่ามนุษย์มีความซับซ้อน (Man is a complex man) ซึ่งในความจริงมนุษย์มีลักษณะทั่วไปดังนี้
- เป็นผู้มีความตั้งใจในการทำงาน
- ยอมรับทั้งความดีและความชั่ว
- จะถูกผลักดันจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ทำสิ่งต่างๆ
- มีเหตุผลเป็นสิ่งจูงใจให้ทำงาน
- มักจะพึ่งพาอาศัยกัน และจะต้องติดต่อเกี่ยวข้องกันในสังคม
- ทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย
จะเห็นได้ว่า ทฤษฏีแซด( Z theory) มีแนวคิดว่ามนุษย์มีลักษณะโดยทั่วไป ไม่ดี ไม่เลว แต่จะทำสิ่งต่าง ๆ เพราะมีเหตุจูงใจหรือได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
จากการวิเคราะห์แนวคิดของนักปรัชญา นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยาและนักบริหาร พบว่ามนุษย์มีจริยธรรมที่แตกต่างกัน มีทั้งดี เลวและไม่ดีไม่เลว ระดับจริยธรรมของมนุษย์แต่ละคน อาจมีติดตัวมาแต่เกิด หรือมาพัฒนาได้ในภายหลังจากสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และกรอบประเพณีสังคม จากการศึกษาพอได้แนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนต่างมุ่งหวังสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่สุดแห่งตน ซึ่งสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่สุดเป็นสิ่งที่อยู่ในความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ที่จะสามารถดำเนินไปได้ด้วยตนเอง แต่เขาจะต้องรับผิดชอบต่อการเสริมสร้างชีวิตตนเองให้พัฒนาสูงขึ้นสู่ระดับที่ดีกว่า สูงกว่า แต่มนุษย์ขาดคุณธรรมในตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นสู่ความสมบูรณ์ของชีวิตได้ มนุษย์ยังขาดจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปล่อยตัวเองเป็นทาสของอารมณ์ ความอยาก กิเลสตัณหา ตลอดเวลา หากมนุษย์สร้างจิตสำนึกให้มั่นคง และหนักแน่นได้แล้วก็จะเป็นบันไดก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์ต่อไป
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
การเรียนรู้ทางจริยธรรมและการพัฒนาจริยธรรมของมนุษย์ มีกล่าวทั้งในวิชาจิตวิทยา แนวคิดของนักการศึกษา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิดแต่ละทฤษฏีอาจคล้ายกันบ้างแตกต่างกันบ้าง ในการศึกษาและนำมาปฏิบัติจะต้องพิจารณาจุดเด่นจุดด้อยของทฤษฏีนั้น ๆ แล้วนำมาบูรณาการกับทฤษฏีอื่น ๆ เพื่อให้การพัฒนาจริยธรรมมนุษย์มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีข้อบกพร่องน้อยที่สุดทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget is Theory of lntellectual Development)
เพียเจต์ ( Piaget, 1932 : 9-55 ) เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ และพัฒนาการของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาทางสติปัญญาของบุคคลนั้น เพียเจต์ ( Piaget ) ได้แบ่งขั้นตอนของพัฒนาสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้นรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor operation)
2. ขั้นเริ่มคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking)
3. ขั้นคิดด้วยรูปธรรม (concrete operational thinking)
4. ขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal prepositional thinking or formal operational thinking)
จากพัฒนาการทางสติปัญญาทั้ง 4 ขั้นนี้ เพียเจต์ ( Piaget) ได้นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งขั้นพัฒนาจริยธรรมออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
ระดับพัฒนาทางสติปัญญา
1. ขั้นรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor operation) อายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ขวบ
2. ขั้นเริ่มคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking) และขั้นเริ่มคิดด้วยรูปธรรม (early concrete operational thinking) อายุประมาณ 2-7 ปี
3. ขั้นคิดค้นด้วยรูปธรรมในช่วงปลาย (late concrete operational thinking) อายุ 7-11 ปี ถึงขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal operational thinking) อายุตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไปถึง 15 ปี
ระดับพัฒนาทางจริยธรรม
1. ขั้นก่อนจริยธรรม เป็นชั้นที่ยังไม่มีความสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมได้อย่างละเอียด มีแต่ความต้องการทางร่างกาย
2. ขั้นยึดคำสั่ง ในขั้นนี้เด็กจะรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมและบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น รู้จักเกรงกลัวผู้ใหญ่ เห็นว่าคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน เด็กสามารถใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจและตั้งเกณฑ์ที่เป็นตัวของตัวเอง
ผลจาการวิจัยในระยะต่อมา เพียเจต์ ( Piaget) ได้ตั้งเกณฑ์การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 เกณฑ์ คือ
1. การตัดสินจากเจตนาการกระทำ (intentional in judgment) เด็กเล็กจะตัดสินการกระทำจากปริมาณสิ่งของ ส่วนเด็กโตจะตัดสินจากเจตนาของการกระทำ
2. การตัดสินเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relativism in Judgment) เด็กเล็กจะตัดสินการกระทำโดยยึดเอาความเชื่อความเห็นของผู้ใหญ่ว่าดี ส่วนเด็กโตจะยึดเอาเหตุผลและสถานการณ์ประกอบการตัดสิน
3. ความเห็นอิสระจากการลงโทษ (independent of sanction) เด็กเล็กจะตัดสินว่าการกระทำใดไม่ดีจากการกระทำใดไม่ดีจากการถูกทำโทษ แต่เด็กโตจะตัดสินการกระทำใดไม่ดี เพราะสิ่งนั้นไปขัดกับเกณฑ์และเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น
4. ใช้วิธีการแก้แค้น (use of reciprocity) วิธีนี้เด็กเล็กใช้น้อยกว่าเด็กโต
5. การลงโทษเพื่อตัดสินนิสัย (use of punishment as restitution and reform) เด็กเล็กจะสนับสนุนการลงโทษอย่างหนักเพื่อแก้นิสัย แต่เด็กโตไม่ค่อยเห็นด้วย
6. หลักธรรมชาติของความโหดร้าย (nationalist of misfortune) เด็กเล็กจะถือว่าการกระทำผิดจะต้องได้รับการลงโทษจากพระเจ้า
จากที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่าตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) เด็กเล็กจะมองกฎเกณฑ์ว่าเป็นสิ่งจริงจัง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ( absolute) และมาจากอำนาจภายนอก ( external) หมายความว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กเล็กจะอยู่ในลักษณะผิดว่ากันไปตามสิ่งที่สังเกตเห็นได้ โดยมิได้คำนึกถึงเจตนาของผู้กระทำ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากการใช้ภาษา และความคิดของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นหลาย ๆ สิ่งได้ ในเวลาเดียวกัน เมื่อเด็กโตขึ้นอายุประมาณ 11-12 ปี พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กวัยนี้จะมีการเชื่อมโยงหาเหตุผล เด็กจะคำนึงถึงเจตนาของผู้ทำมากกว่าสิ่งที่สังเกตได้เฉพาะหน้า เนื่องจากเด็กวัยนี้สามารถมองหลาย ๆ สิ่งได้ในเวลาเดียวกัน เด็กโตจึงสามารถเข้าใจถึงเจตนาของผู้อื่นและสามารถยืดหยุ่นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ได้ โดยตระหนักว่ากฎเกณฑ์เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างบุคคลในการควบคุมพฤติกรรมในแต่ละสถานการณ์เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกฎเกณฑ์ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kolberg)
โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนำแนวเชื่อทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์ ( Piaget) คือ เชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โรงสร้างทางปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซึ่งความหมายว่า “ความถูกต้อง” “ความดี” “ความงาม” ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ
นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย (Kolberg, 1964 : 383-432) โดยวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกทำพฤติกรรมอย่างหนึ่งในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคม และนำมาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่งจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับๆ ละ 2 ขั้น ดังนี้
ระดับจริยธรรม
ระดับที่ 1. ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การที่เรียกระดับนี้ว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดว่าอะไรดี ไม่ดี จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู หรือ เด็กที่โตกว่า จริยธรรมในระดับนี้ คือ หลีกเลี่ยงการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวัล
ระดับที่ 2. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์
ระดับที่ 3. ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติคนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับนี้ หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับนี้จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์สังคม กล่าวคือคนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิมนุษยชน โดยปรกติคนจะพัฒนาถึงระดับนี้มีจำนวนไม่มากนัก
ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ขั้นที่ 1. การเชื่อฟังและการลงโทษ (obedience and punishment orientation) พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรม “ไม่ดี” คือพฤติกรรมที่ทำแล้งได้รับการลงโทษ
ขั้นที่ 2. กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง (instrumental relativist orientation) เด็กจะเชื่อฟังหรือทำตามผู้ใหญ่ ถ้าคิดว่าตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับความพึงพอใจ
ขั้นที่ 3. หลักการทำตามผู้อื่นเห็นชอบ (good boy nice girl orientation ) อายุ 9-13 ปี เป็นการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
ขั้นที่ 4. หลักการทำตามกฎระเบียบสังคม (Law and order orientation) อายุ 14-20 ปี เป็นขั้นที่ยอมรับในอำนาจและกฎเกณฑ์ของสังคม พร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. หลักการทำตามสัญญาสังคม (social contract orientation) เป็นขั้นที่เน้นความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซึ่งกันและกัน ในขั้นนี้สิ่ง ถูก-ผิด จะขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6. หลักการทางจริยธรรมที่เป็นสากล (universal ethical principle orientation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่แต่ละบุคคลเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรมด้วยตัวของมันเอง และเมื่อเลือกแล้วก็ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน
นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับลักษณะอื่นของมนุษย์ ที่สำคัญคือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับระดับสติปัญญาทั่วไป และความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับความสามารถที่จะผลได้ที่ดีกว่าในอนาคต แทนที่จะรับผลที่เล็กน้อยกว่าในปัจจุบันหรือในทันที ซึ่งลักษณะนี้เรียกว่า “ลักษณะมุ่งอนาคต”
2. ผู้มีจริยธรรมสูงจะเป็นผู้มีสมาธิดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตน และมีความภาคภูมิใจในตนเองและสภาพแวดล้อม สูงกว่าผู้มีจริยธรรมต่ำ
3. โคลเบิร์ก (Kolberg) ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) และพบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ ไม่ได้บรรลุจุดสมบูรณ์ในบุคคลอายุ 16 ปี เป็นส่วนมาก แต่มนุษย์ในสภาพปรกติจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมอีกหลายขั้นตอนจนอายุ 16-25 ปี
4. การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจ ที่จะเลือกการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผนและยังอาจทำให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เหตุผลเชิงจริยธรรมของแต่ละบุคคลเป็นเครื่องทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นในสถานการณ์แต่ละอย่างได้อีกด้วย
ทฤษฏีของโคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นที่นิยมนำมาใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฏีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reasoning) เป็นฐานความคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาของตะวันตกเป็นจำนวนมาก แม้ในประเทศไทย นักจิตวิทยาและนักพฤติกรรมศาสตร์ก็ได้ทำวิจัยโดยยึดกรอบแนวคิดของโคลเบิร์ก (เช่น วิจัยของดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจญปัจจนึก, 25520)
ตามทัศนะของโคลเบิร์ก (Kolberg) จริยธรรมแต่ละขั้นเป็นผลจากการคิดไตร่ตรองซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข้อมูลที่นำมาพิจารณาส่วนหนึ่งเป็นความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่ได้รับฟังจากทัศนะของผู้อื่นซึ่งอยู่สูงกว่าระดับของตนเอง 1 ชั้น
วิธีปลูกฝังจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ไม่อาจกระทำได้ด้วยการสอน หรือการปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดู และไม่อาจเรียนรู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ จริยธรรมสอนกันไม่ได้ จริยธรรมพัฒนาขึ้นมาด้วยการนึกคิดของแต่ละบุคคล ตามลำดับขั้นและพัฒนาการของปัญญาซึ่งผูกพันกับอายุ ดังนั้นหากยังไม่ถึงวัยอันควร จริยธรรมบางอย่างก็ไม่เกิด (ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระพร อุวรรณโณ ,2534 : 96)
ทฤษฏีการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผล (moral reasoning)ของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใช้กิจกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาจริยธรรมคือ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็น โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้ดำเนินการเสนอประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีความยากแก่การตัดสินใจ
ขั้นตอนที่ 2 แยกผู้อภิปรายออกเป็นกลุ่มย่อยตามความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ขั้นตอนที่ 3 ให้กลุ่มย่อยอภิปรายเหตุผล พร้อมหาข้อสรุปว่า เหตุผลที่ถูก – ผิด หรือควรทำ ไม่ควรทำ เพราะเหตุอะไร
ขั้นตอนที่ 4 สรุปเหตุผลของฝ่ายที่คิดว่าควรทำและไม่ควรทำ
จากที่กล่าวมาจะพบว่าแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใกล้คียงกับเพียเจต์ ( Piaget) คือเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์พัฒนาการได้ตามวัย และวุฒิภาวะทางสติปัญญา พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ใช่การป้อนรูปแบบ กล่าวคือดูรูปหนึ่งจบแล้ว ดูอีกรูปหนึ่งโดยที่รูปแรกไม่ปรากฏในสายตาอีกต่อไป แต่พัฒนาการของมนุษย์จะค่อยๆพัฒนาไปตามวัน เวลา เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ตามวุฒิภาวะ จริยธรรมเก่ายังจะมีรากแก้วฝังอยู่ และพัฒนาตามกาลเวลาที่มนุษย์มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เกิดเป็นจริยธรรมใหม่ขึ้น จริยธรรมไม่ได้สร้างขึ้นภายในหนึ่งวัน คนจะมีอุปนิสัยดีงามต้องสร้างเสริมและสะสมจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมด้วยกระบวนการทางสังคม และจะเรียนรู้ได้ตามความสามารถของวุฒิภาวะ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ผู้นำทฤษฏีนี้ คือ ฟรอยด์ (Freud) จิตแพทย์ออสเตรีย (สมพร สุทัศนีย์ 2541 ,185-186) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาตั้งแต่เกิด พฤติกรรมต่างๆเกิดจากสัญชาตญาณซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากภายใน สัญชาตญาณดังกล่าวมี 2 ชนิด คือ สัญชาตญาณทางเพศ ซึ่งผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด และสัญชาตญาณความก้าวร้าว เป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะก้าวร้าวทำลาย ซึ่งแสดงออก 2 ลักษณะคือ ก้าวร้าวตนเอง และก้าวร้าวผู้อื่น
นอกจากพฤติกรรมจะเกิดจากสัญชาตญาณดังกล่าว ซึ่งแอบแฝงอยู่ในจิต ที่เรียกว่า จิตไร้สำนึกแล้ว พฤติกรรมจะเกิดจากระบบของจิต 3 ระบบ คือ คิด (id) อีโก้ (ego) และซุปเปอร์อีโก้ (super ego)
พฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจาก (id) คือพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อสนองความพอใจของตนเองฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น เมื่อบุคคลต้องการกระทำสิ่งใดก็ลงมือทำทันทีโดยไม่ใคร่ครวญ การกระทำจึงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่หากทำไม่ได้ก็จะเกิดความเครียดทางออกที่ดีที่สุดคือใช้กลไกการป้องกันตนเองที่เรียกว่า “การทดเทิด” (Sublimation) คือ แสดงพฤติกรรมที่ดีแทนพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ฝึกเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงแทนพฤติกรรมก้าวร้าวเกเร หรือ ทดแทนความกดดันทางเพศ
ทางศาสนาเรียกอิดว่า (id) นี้ว่า สัญชาตญาณดิบ ซึ่งมีราคะ โลภะ โทสะ เป็นพื้นฐานอยู่และอาจแฝงด้วยโมหะ กล่าวโดยรวมสิ่งที่ฟรอยด์เรียกว่า (id) นั่นก็คืออกุศลจิตในพระพุทธศาสนานั่นเอง (วศิน อินทสระ ,2541 : 82)
พฤติกรรมที่เกิดจากอีโก้ (ego) คือ พฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผล และความเป็นจริง เช่น นายแดงอยากฟังเพลงเสียงดัง เขาจะไม่เปิดให้เสียงดังเพราะจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่เขาจะคิดหาเหตุผลว่าทำอย่างไรจึงจะสนองความต้องการได้
แสดงว่าพฤติกรรมแบบอีโก้ (ego) แม้จะเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผลก็จริง แต่ยังมีความต้องการสนองความพอใจของตนเอง เรียกว่า ยังมี “อัสมิมานะ” ได้แก่ ความรู้สึกว่า ตัวฉัน ตัวเรา คืออหังการ หรือความรู้สึกของจิตที่ยังมีอหังการอยู่ ยังมีอัสมิมานะอยู่นั่นเอง
พฤติกรรมที่เกิดจากซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนของคุณธรรม คนที่มีซุปเปอร์อีโก้จะเป็นคนที่มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบสูง
แสดงว่ามนุษย์ยังมีคุณธรรม จริยธรรม หรือทางพระเรียกว่ามี “กุศลเจตสิก” คอยยับยั้งเอาไว้ ไม่ให้กระทำตามใจอยากเสียทุกอย่าง คนที่มีซุปเปอร์อีโก้สูงจึงเป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรับผิดชอบสูง
ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน การถูกควบคุมโดยขนบธรรมเนียมประเพณี การกลัวโทษทัณฑ์เมื่อทำผิด เมื่ออิด (id) กับ ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) เกิดขึ้นในจิตพร้อมกัน อีโก้ (ego) จะต้องทำหน้าที่ตัดสินว่าจะเอาอย่างไรดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในตน (self – conflict) ทำให้มนุษย์ยุ่งยากใจในการตัดสินใจ แม้ธรรมจะชนะอธรรมในบางคราว ก็ไม่ได้แปลว่า อิด (id) จะหายไป มันเพียงแต่ถูกกดข่มไว้เท่านั้น เมื่อใดจริยธรรมหรือซุปเปอร์อีโก้อ่อนแอลง เมื่อนั้นอิด (id) จะแผลงฤทธิ์ขึ้นมาอีก และอาจรุนแรงกว่าเดิม เพราะถูกเก็บกดไว้มาก
ในสังคมมนุษย์มีขนบประเพณีเข้มงวดกวดขัน มนุษย์ต้องอยู่ในกรอบทั้งที่ไม่สมัครใจนั้น ดูอาการภายนอกเหมือนว่าเรียบร้อยดี เพราะอิด (id) ถูกกดข่มไว้ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม แต่ภายในใจของเขาจะรุ่มร้อน วุ่นวาย สับสน ไม่เหมือนผู้ที่อยู่อย่างสมัครใจ และเห็นคุณค่า จิตของใครมีแต่ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ไม่มีอิด (id) จิตนั้นจะสงบร่มเย็น ไม่มีความขัดแย้งสดชื่นอยู่ภายในเสมอ
ทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow is Theory of Need Gratification)
มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมาดีและพร้อมที่จะทำสิ่งดี ถ้าความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ มาสโลว์ (Maslow) เป็นผู้หนึ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าถึงความต้องการของมนุษย์ โดยมองเห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีความต้องการที่จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น ซึ่งความต้องการมนุษย์ มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน เขาได้นำความต้องการเหล่านั้นมาจัดเรียงเป็นลำดับจากขั้นต่ำไปขั้นสูงสุดเป็น 5 ขั้น ด้วยกัน
1. ความต้องการด้านร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม อากาศ การพักผ่อน ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ต้องการขจัดความเจ็บป่วย และต้องการรักษาความสมดุลของร่างกาย ทุกคนต้องการสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน อาจแตกต่างกันเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพศ วัย และสถานการณ์ ฯลฯ ความต้องการปัจจัย 4 ดังกล่าวข้างต้น หากเพียงพอแล้ว มนุษย์จะพัฒนาในขั้นต่อไป
2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (safety needs) เมื่อได้รับความพึงพอใจทางด้านร่างกายแล้ว มนุษย์จะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สองคือ ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย สิ่งที่แสดงถึงความต้องการขั้นนี้คือ การที่มนุษย์ชอบอยู่อย่างสงบ มีระเบียบวินัย ไม่รุกรานผู้อื่น ความต้องการระดับนี้อาจแยกย่อยได้ดังนี้
- ความมั่นคงในครอบครัว การมีบ้านแข็งแรงปลอดภัย มีความรักใคร่ปรองดองกันในครอบครัว
- ความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพ มีรายได้ยุติธรรม ไม่ถูกไล่ออก งานไม่เสี่ยงอันตราย ผู้บังคับบัญชาดีมีความยุติธรรม ฯลฯ
- มีหลักประกันชีวิต เช่น มีผู้ดูแลเอาใจใส่ยามชรา ยามเจ็บไข้
- ความต้องการมีเพื่อน
- ความต้องการการยอมรับจากกลุ่ม
- ต้องการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
- ต้องการรักคนอื่นและได้รับความรักจากคนอื่น
- ต้องการความรู้สึกว่าสังคมเป็นของตน
- ต้องการยอมรับความคิดเห็นหรือข้อเสนอ
- ต้องการเกียรติยศชื่อเสียงจากสังคม
- ต้องการนับถือตนเอง มีความมั่นใจตนเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
- ต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น
- ต้องการความมั่นใจในตนเอง และรู้สึกตนเองมีคุณค่า
- ต้องการรู้จักตนเอง ยอมรับตนเอง เปิดใจรับฟังคำวิจารณ์โดยไม่โกรธ
- ต้องการรู้จักแก้ไขตนเองในส่วนที่ยังบกพร่อง
- ต้องการพัฒนาตนเอง พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเกี่ยวกับตนเอง
- ต้องการค้นพบความจริง พร้อมที่จะเปิดเผยตนเองโดยไม่มีการปกป้อง
- ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง
พรรณี ช. เจนจิต (2538 :461-476) ได้กล่าวถึงลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ว่ามาสโลว์กำหนดความต้องการของมนุษย์จากขั้นต่ำสุดไปสู่ขั้นสูงสุดเป็น 7 ชั้น ด้วยกัน โดยที่มนุษย์จะมีความต้องการในขั้นสูงต่อไป ถ้าความต้องการในขั้นต้น ๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว
ลำดับ 7 ขั้นของความต้องการมีดังนี้
ความต้องการทางสุนทรียะ
ความต้องการที่จะรู้และเข้าใจ
ความต้องการที่จะตระหนักในความสามารถของตนเอง
ความต้องการการยอมรับและได้รับการยอมรับ
ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
ความต้องการความปลอดภัย
ความต้องการทางด้านร่างกาย
(Abraham H. Maslow, “A Theory of Hunman Motivation” Psychological Review vol. 50. 1943 . PP 340-396. อ้างในพรรณี ช. เจนจิต 2538 : 463)
ความต้องการทั้ง 7 ขั้น มาสโลว์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ความต้องการขั้นที่ 1 – 4 เรียกว่า “ความต้องการขั้นต่ำ”
กลุ่มที่ 2 ความต้องการขั้นที่ 5 - 7 เรียกว่า “ความต้องการขั้นสูง”
ซึ่งความต้องการของ 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกัน ดังนี้
ความต้องการขั้นต่ำ
1. มนุษย์ทำทุกวิถีทางเพื่อให้สำเร็จหรือขจัดความต้องการขั้นต่ำ เช่น เมื่อหิว ก็ต้องหาอาหารมากินเพื่อขจัดความหิว
2. แรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการขั้นต่ำจะนำไปสู่การกระทำเพื่อลดความตึงเครียดต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมดุล เช่น คนที่ต้องการการยอมรับนับถือจะทำทุกสิ่งให้ได้มาซึ่งการยอมรับนับถือ ความมีชื่อเสียง
3. การที่มนุษย์สามารถสนองความต้องการขั้นต่ำ ทำให้หลีกเลี่ยงจากความทุกข์หรือความเจ็บป่วยได้ เช่นอากาศหนาว เราจะนอนไม่หลับจนกว่าจะได้เสื้อหรือผ้าห่มจึงจะนอนหลับ
4. การที่มนุษย์สามารถสนองความต้องการขั้นต่ำจะรู้สึกว่าพ้นจากความทุกข์ พ้นจากความกระวนกระวาย จะเกิดความรู้สึกว่าไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้วในขณะนั้น
5. การสนองความต้องการขั้นต่ำจะมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือเป็นเป็นเวลา และมีลักษณะที่ใช้หมดไปในแต่ละครั้ง
6. ความต้องการขั้นต่ำซึ่งต้องการการตอบสนอง จากปัจจัยภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนมีประสบการณ์ร่วมกัน เช่น รู้ว่าความหิวเป็นเช่นไร หรือความต้องการความรัก การยอมรับจากกลุ่มเป็นอย่างไร
7. ความสนองต้องการขั้นต่ำ ซึ่งต้องการอาศัยปัจจัยภายนอกนั้น ส่วนใหญ่ผู้อื่นเป็นผู้สนองให้ ซึ่งจะทำให้คนเกิดความรู้สึกที่ต้องคอยพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะนำความรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำอะไรต้องคอยระมัดระวังการยอมรับของผู้อื่นคอยดูว่า ผู้อื่นจะคิดอย่างไรกับตน
8. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่คอยพึ่งพาผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่เห็นว่าจะสนองความต้องการให้ได้ ซึ่งจะกลายเป็นคนสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในวงจำกัด ไม่สนใจที่จะสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่สามารถทำประโยชน์ให้ได้
9. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นต่ำ มีแนวโน้มจะยึดตนเป็นศูนย์กลาง ไม่คอยคำนึกถึงปัญหา มักจะคำนึกถึงเรื่องส่วนตัว
10. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นต่ำ จะช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องคอยขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เมื่อเข้าที่คับขันหรือประสบปัญหายุ่งยากต่างๆ
ความต้องการขั้นสูง
1. มนุษย์จะแสวงหาความพึงพอใจขั้นสูงสุด เช่น แสวงหาความรู้ หรือทำประโยชน์ให้สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน นอกจากความพึงพอใจ
2. แรงจูงใจที่เนื่องมาจากความต้องการขั้นสูง จะทำให้คนมีความสบายใจอยู่ได้แม้ในสภาพที่มีความตึงเครียด เช่น ทนได้แม้นแต่คำนินทาว่าร้าย ไม่สะดุ้งสะเทือนเพราะตระหนักดีถึงความสามารถที่ตนจะทำประโยชน์ให้แก่สังคมเกินกว่าจะไปสนใจคำพูดของคนบางคนหรือคำพูดของคนบางกลุ่ม
3. การที่สามารถสนองความต้องการขั้นสูงได้ จะทำให้เกิดความสุข มีสุขภาพจิตดี เช่น คนที่มีความปรารถนาจะศึกษาค้นคว้าโดยมิได้มีสิ่งล่อใจอื่นใด จะมีความสุข ความอิ่มใจ มากกว่าการกระทำที่หวังสิ่งตอบแทน
4. การสนองความต้องการขั้นสูง จะนำไปสู่ความพึงพอใจและความปรารถนา จะแสวงหาความสุข ในขั้นต่อไป เช่นการแสวงหาโดยมิได้หวังสิ่งตอบแทนจะทำให้ผู้ที่แสวงหาเกิดความสุข ความพึงพอใจ โดยไม่มีที่สิ้นสุด
5.การสนองความต้องการขั้นสูง เป็นเรื่องต่อเนื่องกันไปไม่มีที่สิ้นสุด
6. ความต้องการขั้นสูง เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้เพราะความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น บางคนฟังดนตรี หรือมองพระจันทร์แล้วเกิดความซาบซึ้งจนน้ำตาไหล ซึ่งเป็นความรู้สึกเกินกว่าจะบรรยายให้ผู้ใดรับทราบได้
7. การสนองความต้องการขั้นสูงนั้น แต่ละคนจะเป็นผู้สนองความต้องการให้กับตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งตนเองหรือนำตนเองได้ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องวิตกกังวลว่าใครจะคิดอย่างไรกับตน ซึ่งสามารถทำงานได้เต็มที่
8. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นสูง จะเป็นคนที่พึ่งตนเองได้ จะเป็นผู้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนทั่วไป ไม่ใช่สร้างสัมพันธ์เฉพาะกับคนที่จะทำประโยชน์ให้เท่านั้น
9. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นสูง จะเป็นคนคำนึกถึงปัญหามากกว่า ไม่ค่อยคำนึกถึงเรื่องส่วนตัว เป็นผู้ทำงานเพื่องาน มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10. คนที่มีลักษณะของความต้องการขั้นสูง จะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี แม้เมื่อเข้าที่คับขันทั้งนี้เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
แนวคิดของนักวิจิตวิทยาที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าวข้างต้น เป็นพื้นฐานประการหนึ่งที่ผู้บริหารควรนำมาพิจารณาประกอบการพิจารณาคุณธรรมจริยธรรมของตนเองและบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชา เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของตนเองและในปกครองด้วย วิชาจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม การกระทำ และการะบวนการคิดไปพร้อมๆ กับการศึกษาถึงเรื่องสติปัญญา ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ การให้เหตุผล เรื่องของตนเอง หรือเรื่องของมนุษย์ และพยายามอธิบายเกี่ยวกับวิธีการปรับตัวของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าเป็นทางทฤษฎีจิตวิทายาด้านบุคลิกภาพจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล จิตวิทยาสังคม ล้วนเป็นเรื่องศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ เหตุแห่งความเป็นมาและผลที่เกิดขึ้น การศึกษาในแนวจิตวิทยาจึงเป็นการศึกษาที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคนทั่วไปค่อนข้างยอมรับในหลักการทฤษฎีว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ
แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาตัดสินว่า เรื่องใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อขอให้ถือตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ในบทกาลามสูตรที่ว่าการเชื่อสิ่งใดให้ถือปฏิบัติตามหลัก 10 ประการ คือ อย่าเชื่อเพราะฟังตามกันมา อย่าเชื่อเพราะถือปฏิบัติสืบต่อกันมา อย่าเชื่อเพราะเสียงเล่าลือ อย่าเชื่อเพราะการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าเชื่อด้วยว่าเป็นตรรกะ อย่าเชื่อด้วยการอมุมาน อย่าเชื่อด้วยความคิดตามแนวเหตุผล อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่าเชื่อเพราะมองเห็น รูปลักษณะน่าเชื่อ และอย่าเชื่อเพราะนับถือว่าผู้บอกนั้นเป็นครูของเรา แต่ให้เชื่อต่อเมื่อได้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาของตนเองและปฏิบัติตามจนเห็นจริงแล้วจึงค่อยเชื่อว่าจริง
เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม
มนุษย์ทุกคนมีการแสดงออกทางพฤติกรรมแตกต่างกันตามพื้นฐานของแต่ละคน ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งในความรู้ เจตคติ ค่านิยม รวมไปถึงสภาวะทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เหมือนกันทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน หรืออยู่ในสถานการณ์เหตุการณ์อันเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องน่าสนใจ โดยเฉพาะเกณฑ์การตัดสินว่าพฤติกรรมใดถูกพฤติกรรมใดผิด พฤติกรรมใดดีพฤติกรรมใดไม่ดี ซึ่งโดยทั่วไปมนุษย์มีอินทรีย์พิเศษ อันได้แก่ มโนธรรม หรือจิตสำนึกเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในการพิจารณาของนักจริยศาสตร์ จะมีเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินจริยธรรมแตกต่างกันบ้างดังนี้
1. หลักจริยศาสตร์ของคานท์ (Kant, 1724 – 1840 อ้างในวิทย์ วิศทเวทย์ 2520 : 65 – 67 ) กล่าวโดยสรุป ดังนี้
คานท์ (Kant) มีความหมายว่าดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นคุณค่าทางศีลธรรมนั้น จะต้องเป็นสิ่งตายตัว กล่าวคือ ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือการกระทำอันใดอันหนึ่งเป็นสิ่งดี มันจะต้องดีเสมอ โดยไม่เลือกเวลา สถานที่ สิ่งแวดล้อม หรือตัวบุคคลแต่อย่างใด เช่น การพูดความจริง ถ้าเราถือว่าการพูดความจริง บางเวลาก็ดี บางเวลาก็ไม่ดี เช่นนี้ เท่ากับเรายอมรับว่าโดยตัวมันแล้ว การพูดความจริงไม่มีค่าเลย ค่าของมันอยู่ที่เวลา ความดีของมันเปลี่ยนไปมาตามกาลเวลา โดยหลักของคานท์นั้น การพูดจริงเป็นสิ่งที่ดีและต้องดีตลอดไป ไม่ว่าจะพูดเมื่อใด ที่ไหน กับใคร และสถานการณ์เช่นใด
ความคิดของคานท์ (Kant) การกระทำที่ดี หรือการกระทำที่ถูกคือการกระทำที่เกิดจากเจตนา จุดเด่นที่สุดในแนวคิดของคานท์ (Kant) ก็คือการสอนให้คนรู้สึกสำนึกในหน้าที่ คานท์ (Kant) เห็นว่าการโกงนั้นผิดแน่ ๆ แต่ความซื่อสัตย์ก็มิใช่ว่าควรได้รับการสรรเสริญเสมอไป ความซื่อสัตย์ที่เกิดขึ้นจากการหวังผลประโยชน์ไม่มีความดีอะไรในทางศีลธรรม แต่ความซื่อสัตย์ที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่เป็นสิ่งประเสริฐ คานท์ (Kant) สอนไม่ให้ยกตัวเองเหนือกฎศีลธรรมซึ่งไม่มีข้อยกเว้นสำหรับใคร นอกจากนี้คานท์ยังบอกว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของตนเอง ดังนั้นการใช้คนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุจุดมุงหมายบางอย่างนั้นเป็นการกระทำที่ผิดอย่างไม่มีข้อแม้ เพราะทุกคนมีค่าของตนเองและค่าเท่ากับผู้อื่น
2. ประโยชน์นิยม (Utilitarianism)
แนวคิดของกลุ่มประโยชน์นิยมเชื่อว่าประโยชน์สุขเป็นเครื่องตัดสินการกระทำของมนุษย์ว่าดีว่าชั่ว ถูกหรือผิด ชอบหรือไม่ชอบ อยู่ที่ผลที่จะได้ คือ ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องเลือกกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวที่จะตัดสินก็คือ อันไหนให้ประโยชน์สุขมากกว่าถือว่าดีกว่า ประโยชน์นิยมเห็นว่าความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ ค่าของสิ่งอื่นๆนั้น ก็อยู่ที่ว่ามันพาไปสู่ความสุข ไม่มีอะไรมีค่าในตัวเอง นอกจากความสุข ดังนั้นการตัดสินใจว่าอะไรดี ไม่ดี ควร ไม่ควร ถูกหรือผิด จึงต้องใช้ความสุขเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ ถ้าสิ่งใดให้ประโยชน์มากกว่าสิ่งนั้นก็ดีกว่า และควรทำมากกว่า แต่ประโยชน์ในที่นี้มิได้หมายถึงประโยชน์สุขของผู้กระทำเอง แต่หมายถึงประโยชน์สุขของคนทั่วไป ซึ่งประโยชน์กล่าวว่า หมายถึงสิ่งที่ก่อประโยชน์สุขมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด หลักนี้รู้จักกันในนาม “หลักมหาสุข”
ประโยชน์นิยมมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมว่าสิ่งใดดูดี สิ่งใดถูกต้อง ดังนี้
- สิ่งที่ให้ประโยชน์สุขยาวนานกว่า
- ถ้าไม่มีสิ่งใดดีเลือกสิ่งที่เลวน้อยกว่า
- ถือประโยชน์สุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุดเป็นหลักสำคัญ
- ไม่ลดส่วนของตนเองให้น้อยกว่าผู้อื่น และไม่ลดส่วนของผู้อื่นให้น้อยกว่าตนทุกฝ่ายมีประโยชน์เท่าเทียมกัน
- เจตนาในการกระทำไม่สำคัญ แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากกระทำสำคัญกว่า
มโนธรรมคือความสำนึกที่มนุษย์ทุกคนมีโดยธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ความสำนึกนี้เป็นเสียงภายในจิตที่ทำให้เราตัดสินได้ว่า อะไรผิด อะไรถูก มโนธรรมสัมบูรณ์เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกต้องมีลักษณะเป็นแก่นแท้ของมัน ลักษณะนี้จะต้องมีอยู่ในตัวเสมอ ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะตกอยู่ในสภาพใด เกลือย่อมเค็มอยู่เสมอ ไฟย่อมร้อนอยู่เสมอ ความถูกความผิดก็เหมือนกัน ความผิดเป็นลักษณะตายตัว การกระทำอาจก่อให้เกิดความพอใจกับบางคน ไม่พอใจกับบางคน แต่ความรู้สึกนี้ไม่เกี่ยวกับความถูกความผิดของมัน เพราะความถูกหรือผิดเป็นลักษณะตายตัวอยู่ที่ตัวมันเองแล้ว ปัญหาต่อไปนี้คือ ถ้า “ดี” เป็นลักษณะตายตัวของการกระทำที่ดีแล้วรู้จักสิ่งนั้นได้อย่างไร เกลือมีรสเค็มของเกลือได้ รสเค็มเป็นคุณสมบัติทางวัตถุ เรารู้รสนี้ด้วยลิ้น ลิ้นเป็นอินทรีย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ทำให้รารู้รสเค็มของเกลือได้ แต่ “ดี”เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง เราไม่มีอินทรีย์อะไรที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี “ดี” เป็นคุณสมบัติทางจริยธรรม อินทรีย์ทางกายภาพ จึงรับรู้ไม่ได้ นักทฤษฏีมโนธรรมสัมบูรณ์ถือว่า มนุษย์มีอินทรีย์พิเศษอีกอันหนึ่งที่เป็นเครื่องมือช่วยมนุษย์ให้รู้จักความดี ตัดสินความดีได้ อินทรีย์ช่วยให้มนุษย์ตัดสินชี้ขาดเรื่อง ความถูก – ผิด – ดี – ชั่ว – ได้ บางคนเรียกอินทรีย์พิเศษนี้ว่า “ปัญญา” (Intellect Understanding) บางคนเรียกว่า “มโนธรรม” (Conscience) บางคนเรียกว่า “อินทรีย์ทางศีลธรรม” (Moral Faculty) จะเรียกชื่ออะไรก็ตาม อินทรีย์พิเศษนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของร่างกาย เหมือนประสาทสัมผัสทั้งห้า แต่เป็นส่วนหนึ่งของจิตหรือวิญญาณ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นลักษณะรูปธรรม ต้องอาศัยอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นรูปธรรมชี้ขาด ส่วนดี – ชั่ว , ถูก – ผิด เป็นนามธรรม จึงต้องอาศัยปัญญา หรือมโนธรรมเป็นเครื่องตัดสิน
4. จริยธรรมแบบสัมบูรณ์ (absolute ethics)
หรือสัมบูรณ์นิยม เชื่อว่า คุณค่าทางจริยธรรม หรือ ความดี – ความชั่ว เป็นค่าที่มีอยู่จริงในตัวเอง สัมบูรณ์มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมพัทธ์ สิ่งสัมบูรณ์ คือ สิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่โดยตัวของมันเอง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือสถานที่ สำหรับแนวคิดของกลุ่มสัมบูรณ์นิยม เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ถูกต้องสูงสุดนั้นมีเพียงเกณฑ์เดียวและเป็นเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว แนวคิดของสมบูรณนิยมจะสอดคล้องกับแนวคิดของศาสนาโดยทั่วไป คือ ถือว่า ความดีความชั่ว เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างแน่นอนตายตัว ไม่ใช่ค่าที่มนุษย์ให้แก่การกระทำตามความชอบไม่ชอบของเขา ดี – ชั่ว ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเองตามประโยชน์สุขของพวกเขา และแนวคิดนี้ก็สอดคล้องกับลัทธิมโนธรรมสัมบูรณ์ คือลัทธิที่ถือว่ามโนธรรมเป็นเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ตายตัวเพียงเกณฑ์เดียว มโนธรรมคือความสำนึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ เป็นจิตสำนึกภายในที่อกเราว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว โดยที่เราไม่ต้องคิดหาเหตุผล หรืออ้างอิงหลักเกณฑ์ใดๆ แต่เป็นการหยั่งรู้เองโดยตรง
ลัทธิสัมบูรณ์นิยม มีแนวคิดสอดคล้องกับหลักจริยศาสตร์ของคานท์ (Kant) คือเห็นว่าศีลธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างแน่นอนตายตัว กฎศีลธรรมในทรรศนะของคานท์ จึงมีกฎเกณฑ์ตายตัวและเป็นสิ่งมีค่าในตัวเอง ความถูกผิดของการกระทำ พิจารณาจากหลักการหรือเจตนาที่กระทำไม่ใช่ผลจากการกระทำ ถ้าการกระทำนั้นเกิดจากเจตนาดี ก็ถือว่าเป็นการกระทำดี เช่น การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่เพื่อหน้าที่ โดยไม่หวังผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
5. สัมพัทธ์นิยม (Relationism)
สัมพัทธ์นิยม เชื่อว่า ความดีความชั่วมิได้มีคุณค่าที่ดีอยู่ในตัวเอง แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น คุณค่าทางจริยธรรม หรือความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด เป็นสิ่งสัมพัทธ์คือผันแปรตามตามสภาพการณ์และเวลา ดังนั้นการกระทำอย่างหนึ่ง เช่นการพูดปด จะถูก ผิด ดี ชั่ว ยังตอบไม่ได้จนกว่าจะทราบก่อนว่า ใครโกหกใคร โกหกทำไม โกหกแล้วเป็นอย่างไร เช่นถ้าแพทย์โกหกคนไข้ เพื่อหวังผลดีในการรักษา การโกหกเช่นนี้ก็ถือว่าไม่ผิด สัมพัทธ์นิยม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัมพัทธ์นิยมส่วนบุคคล และสัมพันธ์นิยมทางสังคม
- สัมพัทธ์นิยมส่วนบุคคล หมายถึง ความเชื่อที่ว่า ความดี ความชั่ว เป็นเรื่องส่วนบุคคล คนแต่ละคนย่อมมีความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน การกระทำอย่างเดียวกัน คนหนึ่งอาจบอกว่าดี อีกคนหนึ่งอาจบอกว่าไม่ดีก็ได้ ในสมัยกรีกโบรานนักปรัชญาที่มีแนวคิดแบบนี้ได้แก่ พวกโซฟิสต์ (Sophist) ซึ่งกล่าวว่า “มนุษย์เป็นเครื่องวัดสิ่งทั้งปวง” ซึ่งหมายความว่า จริง เท็จ ดี ชั่วเป็นเรื่องส่วนบุคคล ใครรู้สึกว่าจริงก็จริง สำหรับคนนั้น ใครว่าเท็จก็เท็จสำหรับคนนั้น สิ่งที่ดีก็คือสิ่งที่ตรงกับความปรารถนาของคน ๆ หนึ่ง และสิ่งที่ชั่วก็คือสิ่งที่ตรงกับความเกลียดของคน ๆ นั้นไม่มีอะไรดีชั่วในตัวเอง และไม่มีเหตุการณ์อะไรตัดสินชี้ขาดสิ่งต่าง ๆ ว่า ดี ชั่ว ได้นอกจากบุคลเหล่านั้น
- สัมพัทธ์นิยมทางสังคม หมายถึง ความเชื่อที่ว่า ความดี ความชั่ว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม สังคมเป็นตัวตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะความรู้สึกทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับการอบรมมาจากจารีตประเพณีของสังคมที่เขาอาศัยอยู่ ความชอบไม่ชอบหรือค่านิยมของแต่ละคนไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เป็นสิ่งที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่เจริญเติบโตขึ้นมา เนื่องจากสังคมมีจารีตที่แตกต่างกัน มีค่านิยมไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ถือว่าดี ชั่ว ถูก ผิด จึงไม่เหมือนกัน เช่นบางสังคม ชายมีภรรยาพร้อมกันได้หลายคนถือว่าไม่ผิด
โดยเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย มีบทบาทมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตหรือการอยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นเกณฑ์การตัดสินความดี ชั่ว ถูก ผิด ของจริยธรรมในสังคมไทย ควรใช้เกณฑ์ตัดสินตามหลักการทางพระพุทธศาสนาด้วย
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู (2525:28-29 อ้างใน บุญเรือง อินทวรันต์ 2534:28) กล่าวว่าในการพิจารณาหลักการทางพระพุทธศาสนา เราจะพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ
“..ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้วจึงทำด้วยกาย ด้วยใจ
บุคคลว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
บุคคลทำกรรมใดแล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลใดมีหน้าที่ชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ เสพผลของกรรมใดกรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง เสวยผลแห่งกรรมใด ด้วยหัวใจ
แช่มชื่น เบิกบาน กรรมนั้นทำแล้วเป็นการดี
บุคคลรู้กรรมใดว่า เป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้นทีเดียว”
จากพุทธพจน์ดังกล่าว แสดงพระพุทธศาสนาในเรื่องการพิจารณาเกณฑ์การชี้วัดการประพฤติทางจริยธรรมดังนี้
- พิจารณาจากเจตนา ถ้าทำด้วยเจตนาดี จัดว่าเป็นการกระทำที่ดี เป็นความดี ถ้าทำด้วยเจตนาไม่ดี จัดว่าเป็นการกระทำไม่ดี เป็นความชั่ว
- พิจารณาจากลักษณะของการกระทำ ถ้าการกระทำนั้นเป็นการเบียดเบียนทำให้ผู้อื่นหรือตนเองเดือดร้อน จัดว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่เบียดเบียน หรือไม่ทำให้ผู้อื่นหรือตนเองเดือดร้อน จัดว่าเป็นการกระทำที่ดี เป็นความดี
- พิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นในภายหลัง การกระทำใดทำแล้วมีผลให้เกิดความเดือดร้อนในภายหลัง การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ดี การกระทำใดไม่เดือดร้อนในภายหลัง เป็นการกระทำที่ดี ทำดีย่อมได้รับผลดีเสมอ ถ้ากระทำชั่วย่อมได้รับผลชั่วเสมอ
เกณฑ์ตัดสินที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นทัศนะของนักจริยศาสตร์ ซึ่งพอจะนำมาเป็นเครื่องพิจารณาตัดสินสถานการณ์บางอย่างได้ สำหรับนักสังคมวิทยาเห็นว่า คุณค่าทางจริยธรรมมีคุณค่าจริงๆ ก็ต่อเมื่อสังคมมนุษย์นำไปใช้ ดังนั้นการตัดสินทางจริยธรรมจึงต้องคำนึงหลักปทัสถานหรือบรรทัดฐาน (norms) ทางสังคมซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
- วิถีประชา (folkways) เป็นความประพฤติที่เหมาะสมดีงาม ปฏิบัติกันมานานจนเกิดความเคยชิน เช่น ขนมประเพณี แบบแผน กิริยามารยาท การมีสัมมาคารวะ การรู้จักที่ต่ำที่สูง การอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานสำหรับแต่ละบุคคล และไม่มีผลบังคับเคร่งครัดนัก ถ้าใครไม่ประพฤติตาม เช่น ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่อ่อนน้อม ไม่แต่งตัวตามธรรมเนียมประเพณี เช่น ไปงานศพไม่แต่งสีดำ หรือชายที่แต่งงานก่อนอุปสมบท สังคมก็จะซุบซิบนินทาตำหนิติเตียน หรือไม่คบหาสมาคมด้วย ทำให้ผู้นั้นเกิดความไม่สบายใจ วิถีประชาเป็นเรื่องของความเหมาะสมไม่เหมาะสม ในการแสดงพฤติกรรมทางสังคม
- จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (mores) เป็นบรรทัดฐานทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อห้ามของสังคมที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสังคม หรือเพื่อสวัสดิภาพของคนส่วนใหญ่ จารีตเป็นข้อบังคับที่มีผลสะท้อนรุนแรง ถ้าหากไม่กระทำตาม เช่น ห้ามไม่ให้ลูกเนรคุณพ่อแม่ ห้ามแพทย์เปิดเผยความลับของคนไข้ จารีตจึงเป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของบุคคล จารีตจะกำหนดสิ่งถูกหรือผิด บุญหรือบาป โดยไม่ต้องบอกเหตุผล
- กฎหมาย ( laws) เป็นบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร และมีหน่วยงานบังคับ เป็นแนวประพฤติปฏิบัติโดยรัฐ มีการลงโทษอย่างมีระเบียบแผน ถ้าหากไม่ประพฤติตามกฎหมายที่เขียนไว้ บางครั้งก็นำจารีตไปใช้ในกฎหมายก็มี ถ้ามีการตัดสินตามกระบวนการกฎหมายแล้วถือว่าถูกต้องชัดเจน เป็นแบบแผนได้เป็นเกณฑ์การตัดสินพฤติกรรมทางจริยธรรมได้ถูกต้องเพราะกฎหมายมีไว้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยยึดถือประโยชน์ของสังคมมาก่อนผลประโยชน์ของแต่ละบุคคล ( สุพัตรา สุภาพ , สัญญา สัญญาวิวัฒน์ , 2534 : 10)
จริยธรรมของคนไทย
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีประวัติความเป็นมาสืบทอดต่อกันมาเนิ่นนาน มีลักษณะหลายประการที่เป็นของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด เช่นการเคารพผู้มีอาวุโส ความเกรงอกเกรงใจกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฯลฯ ผู้บริหารควรศึกษาว่าอะไรเป็นส่วนสำคัญที่หล่อหลอมนิสัยของคนไทยไห้มีลักษณะดังกล่าว สิ่งที่หล่อหลอมอุปนิสัยของคนไทยในด้านคุณธรรมจริยธรรม อาจพิจารณาในด้านกว้าง ๆ ได้ 3 ประการ ดังนี้1. จริยธรรมตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
2. สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต
3 สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน
1. จริยธรรมตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
ศาสนาที่สำคัญและศาสนาประจำชาติไทยคือ พุทธศาสนา ซึ่งเป็นศูนย์รวมของจิตใจ เป็นที่รวมของกิจกรรม พิธีการต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต เป็นแหล่งที่สร้างสรรค์และส่งเสริมค่านิยมประเพณีต่าง ๆ ของคนไทย และจากศาสนานี้เองเป็นพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมละศีลธรรมของคนในด้านต่าง ๆ อันก่อไห้เกิดคุณค่าที่สำคัญ 3 ประการ(เสฐียรโกเศศ, อ้างใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534: 41-42)
การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง คนไทยในอดีตนิยมทางสายกลาง ทำสิ่งใดก็ต้องรู้จักประมาณตน นับแต่การทำงาน การติดต่อสัมพันธ์ในวงงาน ความเป็นเพื่อนแม้จะสนิทสนมชิดเชื้อกันดี แต่ก็ต้องไม่สนิทสนมกันเกินไป ความเป็นอิสระของทุกคนยังมีอยู่
ความซื่อสัตย์จริงใจ เป็นคุณค่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของคนในอดีต คนซื่อสัตย์จริงใจจะได้รับการนับถืออย่างมาก คนคดโกงจะได้รับการประณาม
ความผสมผสานกลมกลืนระหว่าง คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม คนไทยจะเหมือนคนเอเชียโดยทั่วไปที่เล็งเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ทั้งทางชีวภาพและทางกายภาพ ศาสนาเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คนคิดแบบนี้ตามความเชื่อของคนตะวันออกแล้วถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และคนควรศึกษาธรรมชาติเพื่อความเข้าใจ ซาบซึ้งความสมดุลของธรรมชาติ ไม่ใช่บังคับบัญชาเอาชนะธรรมชาติ
2. สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต
(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534 , 34 : 48) ได้กล่าวถึงสังคมไทยในอดีต ว่ามีลักษณะเด่นในด้านสังคมเกษตรกรรม สังคมหมู่บ้าน สังคมครอบครัว และสังคมศาสนา
สังคมเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยซึ่งส่วนใหญ่พึ่งธรรมชาติ ไม่มีการแข่งขันกับใคร ช่วยกันบ้างตามสมควรลักษณะเช่นนี้ ทำเกิดค่านิยมหรือลักษณะนิสัยประจำชาติบางประการ คือ
- การไม่เคร่งครัดเรื่องเวลา
- ความรู้สึกเพียงพอไม่มักได้ สันโดษ พอใจสิ่งที่ได้และมีอยู่
- มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ค่อยจำเป็นต้องวางแผนเพื่ออนาคต
- มีการร่วมมือกัน เพื่อการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันเอง เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว
- การประนีประนอม เนื่องจากคนในหมู่บ้านรู้จักกันดี จึงอยู่กันอย่างยอมรับการประนีประนอม ไม่นิยมการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง ถ้ามีปัญหาขัดแย้งก็จะหาหนทางแก้ไขกันเอง หรือมีคนกลางไกล่เกลี่ย ถ้าขัดแย้งกันจริงๆก็จะเฉยเมยไม่ร่วมมือ ตีตนออกห่างจากกัน
- การรักษานิยมความสงบ ซึ่งควบคู่มากับการประนีประนอม เมื่อมีปัญหาใดเกิดขึ้น จะต้องมีมาตรการกันเองภายใน ทำให้เกิดความสงบขึ้นในหมู่บ้าน
- คนไทยส่วนใหญ่มักมีความเกรงใจ มีความสุภาพ ไม่ต้องการรบกวนคนอื่น และไม่อยากให้คนอื่นเดือดร้อน
- เคารพอาวุโส ซึ่งรวมไปถึงการคารวะเชื่อฟังผู้มีอำนาจหน้าที่
- ยึดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ทำให้เกิดระบบพรรคพวก
- ความกตัญญูรู้คุณ ระบบครอบครัวรวมกับระบบศาสนา ทำให้เกิดการกตัญญูรู้คุณผู้ที่ให้อุปการคุณแก่ตน ใครไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ ไม่เคารพครูอาจารย์ ไม่รู้คุณคน จะถูกประณามและดูถูกจากสังคมอย่างมาก
จากสภาพของสังคมไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างมาก ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้จากตารางต่อไปนี้ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534 : 43)
สภาพของสังคมไทยในอดีต
ก .สังคมเกษตรกรรม
- การไม่เคร่งครัดเวลา
- สันโดษ เพียงพอ
- ไม่วางแผน แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ข. สังคมหมู่บ้าน
- รวมมือกัน
- ประนีประนอม
- ความสงบ
ค. สังคมศาสนา
- ทางสายกลาง
- ซื่อสัตย์ จริงใจ
- คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม
ง. สังคมครอบครัว
- เคารพอาวุโส ผู้มีอำนาจ
- สมัครพรรคพวก
- กตัญญูรู้คุณ
สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน
ก. สังคมอุตสาหกรรม
- เคร่งครัดเวลา
- มุ่งปริมาณ กำไรมาก
- วางแผนกำไรระยะยาว
ข. สังคมเมือง
- ตัวใครตัวมัน เห็นแก่ตัว
- แตกหักรุนแรง
- อึกทึกคึกโครม
ค. สังคมหย่อนศาสนา
- รุนแรง
- หลอกลวง เอาเปรียบ
- ทำลายสิ่งแวดล้อม
ง. สังคมครอบครัว
- เคารพอาวุโส ผู้มีอำนาจน้อยลง
- สมัครพรรคพวกเพื่อผลประโยชน์
- กตัญญูรู้คุณคนน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม นับว่าเป็นผลกรรมต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากสภาพความเครียดและความเบี่ยงเบนทางสังคมไทยในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด โสเภณี ฯลฯ จะมีคำกล่าวอยู่ว่าสังคมยิ่งเจริญทางวัตถุมากขึ้นเท่าใด ความเสื่อมทางจิตใจของคนยิ่งต่ำลงมากเพียงนั้น มีผู้วิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยหลายท่าน ขอยกนำมากล่าวพอเป็นตัวอย่างแต่พอเป็นสังเขป ดังนี้
กรมศาสนา (2539 : 3 – 5 ) กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า
- สังคมไทยปัจจุบันหลอกลวงกันมาก คนรู้ไม่เท่าทันสังคมจะเป็นเหยื่อของคนฉลาด
- คนหลายคนทำงานเพื่อประโยชน์ของตนเองทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องศาสนา
- สังคมยังเชื่อถือฝากความหวังไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ไม่ฝึกฝนพัฒนาตน
- สังคมมีการแข่งขัน ทำให้เห็นแก่ตัว แตกสามัคคี
- เมืองไทยเจริญทางเศรษฐกิจเฉพาะกลุ่ม ช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยมากขึ้น
- คนไทยชอบความสะดวกสบาย เพราะธรรมชาติเคยอุดมสมบูรณ์ จึงขาดการคิดค้น พัฒนาเทคโนโลยีที่จะก่อให้เกิดความเจริญแก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างจริงจังขาดระบบการแก้ปัญหาและช่วยตนเอง ทำให้สังคมอ่อนแอ
- คนไทยไม่ชอบคิดค้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมขึ้นเอง จึงยอมรับเทคโนโลยีของชาติอื่นมาใช้เพื่อความสะดวกสบายของตนเอง ซึ่งอาจตรงกับความต้องการ แต่ก็ไม่เหมาะสมกับสังคม ดังนั้น คนไทยจึงคอยแต่เฝ้ารอ ไม่รู้จักคิดแก้ปัญหา ไม่ศึกษาไม่ช่วยตัวเอง เป็นผลให้คนไทยมีคุณภาพลดลง อ่อนแอ สังคมอ่อนแอ
- คนไทยมีวัฒนธรรมน้ำใจ ซึ่งเป็นเรื่องดี หากใช้ไม่เป็นอาจเสียหายได้ เช่น น้ำใจรักพวกพ้อง ญาติพี่น้อง จึงช่วยเหลือในการคัดเลือกต่างๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อหน่วยงาน และคอยช่วยเหลือญาติลูกหลานมากเกินไป คนไทยจึงไม่เข้มแข็ง
- ปัจจุบันประชาชนมีจิตใจไม่เข้มแข็งอดทน มีความสุขยาก มีความทุกข์ยาก ทำให้เกิดปัญหาอื่นมาก เพราะต้องหาหนทางสร้างสุข แก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความพอดีไม่อดทน เกิดการเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบแข่งขันเพื่อจะดึงเอาความสะดวกสบายมาเป็นตนและพวกพ้องให้มากที่สุด
- ประชากรที่มีปัญหามักมีลักษณะขี้เกียจ สำรวย อ่อนแอ ใจเสาะ เปราะบาง ทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่พัฒนา ซ้ำยังต้องมุ่งหาทางสร้างความสบายให้ตัวเองโดยอาศัยบุคคลและวัตถุเป็นที่ยึดถือ ทำให้ปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น
- ประชากรในโลกทั้งประเทศมหาอำนาจ หรือคนที่มีอำนาจในประเทศมุ่งรักษาอำนาจของตน จึงต้องหาผลประโยชน์จากผู้อื่นทางด้านวัตถุทั้งทางตรงและทางอ้อม เอารัดเอาเปรียบขึ้นในสังคม
- สังคมเต็มไปด้วยการแข่งขันและการร่วมมือ ทั้งระดับระหว่างประเทศ และในประเทศ ทำให้การดำเนินงานร่วมกันไม่ราบรื่น ขาดความสามัคคี เพราะผู้ร่วมงานจะมองผู้อื่นที่มาร่วมงานด้วยความหวาดระแวง
- ปัจจุบันองค์ประกอบของสังคมขาดความสัมพันธ์กันอย่างสมดุล องค์ประกอบเหล่านี้คือ มนุษย์ สังคม และธรรมชาติ องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน อยู่อย่างไม่เกื้อกูลกัน ไม่ช่วยเหลือกัน แต่กลับทำลายกันและกัน ทำให้สังคมอ่อนแอล่มสลาย
1. ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมของไทยมีมาก เป็นอันดับสองของโลก ทั้งที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา
2. คนไทยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย มีค่านิยมชอบบริโภค ไม่ชอบผลิต ไม่ชอบทำงาน
3. คนส่วนใหญ่มีหนี้สินทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว จนกระทั่งระดับประเทศ
4. คนไม่สนใจประโยชน์สาวนรวม ส่วนใหญ่เห็นแก่ตัว
5. ชอบความโก้เก๋ มีวัตถุไว้โอ้อวดความโก้ อวดมั่งอวดมี
6. มีนิสัยชอบสนุกสนานรื่นเริง ทำอะไรต้องเพื่อความสนุกสนาน
7. ขาดระเบียบ ไม่รักษาความสะอาด
8. ขาดความรับผิดชอบ ทั้งในชีวิต ในการงานและต่อสังคม
9. ปัญหาคอรัปชั่น อันเนื่องมาจากความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ
10. มีอบายมุขมาก มียาเสพติดระบาด
11. มีความยากจน ขาดแคลน ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ
12. ปัญหาการขาดอาชีพ การว่างงาน
13. ทำงานเป็นทีมไม่ได้ งานไม่สำเร็จต้องทำงานเองตัวคนเดียว
ปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นทั้งตัวปัญหาเอง และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆไปในตัว
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ( 2539 : 20-24) กล่าวเป็นปัญหาอันเนื่องมาจากการศึกษา ซึ่งจะขอนำมากล่าวโดยสรุป ดังนี้
1. สังคมไทยไม่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเนื่องมาจากระบบการสอนเน้นการท่องจำ และทำให้เกิดลักษณะนิสัย ดังนี้
- ขาดโอกาสในการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
- ไร้ความคิดอ่าน
- ชอบใช้ชีวิตอย่างสบาย
- ชอบอะไรที่ได้มาง่ายๆ
- ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า
- ไม่เห็นคุณค่าแห่งการเรียนรู้
- ขาดวินัยในการดำเนินชีวิต
- ใช้ชีวิตตามอารมณ์ ความรู้สึก
- ชอบละเมิดกฎระเบียบ
- ขาดความซื่อสัตย์ในการเรียนและการทำงาน
3. สังคมไทยพลาดจากอุดมคติ เพราะความเสื่อมของคุณธรรม อันเนื่องมาจาก
- การรับอิทธิพลและค่านิยมจากต่างประเทศ โดยผ่านจากสื่อต่างๆอย่างขาดการกลั่นกรองให้รอบคอบ
- มุ่งอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าการสอนให้รู้จักการประเมินคุณค่า การประยุกต์คุณธรรมและค่านิยมที่รับมา
- การศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ปรับตัวแนวกระแสสังคมที่เน้นวัตถุ เปิดสอนสาขาที่จบแล้วที่รายได้ดีมากกว่าเน้นที่ปรัชญาและการสะสมความรู้
- ระบบการสอบคัดเลือกเน้นการแข่งขัน ทำให้เกิดการแกว่งแย่งกลายเป็นเรียนเพื่อแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง ไม่เน้นคุณธรรมและจริยธรรม
- ขาดการช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสกว่าในสังคม กลายเป็นการศึกษาทำให้คนเห็นแก่ตัว ขาดความเมตตากรุณา ขาดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น
- การดำเนินชีวิตตามกระแสสังคมอุตสาหกรรม ทำให้คนอยู่ในลักษณะวัตถุนิยม ประเมินความสุขสบายของชีวิตบนพื้นฐานความมั่งคั่งในทรัพย์สิน
- สังคมไม่ยกย่องคนดีเท่ากับคนมีชื่อเสียง ทำให้วัดคุณค่ากันและกันบนมาตรฐานที่ผิด แม้ชื่อเสียงทรัพย์สินจะได้มาด้วยความไม่ซื่อสัตย์ก็ตาม
- สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่บีบคั้น เกิดภาวะครอบครัวขาดความอบอุ่น มีการหย่าร้าง เด็กถูกทอดทิ้ง
พระธรรมปิฎก (2535 : 17-27) ได้วิเคราะห์เหตุแห่งสังคมไทย กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากสังคมไทยกำลังพัฒนา เพื่อเจริญตามแบบอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเพ่งเล็งไปทางพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะเรามองเห็นแต่ผลของการพัฒนาของประเทศที่เจริญแล้ว แต่ไมใส่ใจกับกระบวนการพัฒนาของประเทศเหล่านั้น มุ่งแต่จะเสพผลของความเจริญ คือ ความสะดวกสบาย ความมั่งคั่งรุ่งเรืองทางวัตถุ ทำให้เรากลายเป็นสังคม “ผู้บริโภค”
2. สังคมไทยมีความต้องการ 2 ด้าน พร้อมกัน คือ การพัฒนาเพื่อให้พ้นจากสภาพด้อยพัฒนา และอีกด้านหนึ่ง คือต้องการพัฒนาด้านจิตใจ ให้มีความอบอุ่นเกื้อกูลกัน แต่การทำตามประเทศที่พัฒนาอย่างไม่สมดุล การพัฒนาไม่ถูกต้องปฏิบัติผิดพลาด จนเกิดปัญหานานัปการ ดังกล่าวข้างต้นและแสดงออกมาในอาการรุนแรง คือ การฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหานี้ อเมริกาและญี่ปุ่นก็เคยประสบมาแล้ว
กรมวิชาการ (2538 : 5-22) ได้สังเคราะห์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการก้าวการสื่อสาร ทำให้โลก “ไร้พรมแดน” พลโลกติดต่อสัมพันธ์กันได้รวดเร็ว นำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัฒน์” ส่งผลต่อธุรกิจ สังคมและวัฒนธรรม คนมีเสรีภาพในการเลือกรับสื่อจากแหล่งต่างๆ หลากหลายรูปแบบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและรสนิยมของตน การเรียนรู้จะเกิดจากภายนอกโรงเรียนมากยิ่งขึ้น โครงสร้างสังคมแบบกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นมากขึ้น ท้องถิ่นจะพัฒนาเอกลักษณ์โดยเฉพาะทางวัฒนธรรม พลโลกเกิดค่านิยมที่เป็นความตระหนักและสำนึกต่อการแก้ปัญหาหลักบางเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อนานาประเทศในโลก เช่นสภาวะแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยการขัดแย้งกับทางศาสนา ฯลฯ อย่างไรก็ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ดังกล่าวมีผลทำให้วัฒนธรรมดังเดิมของประเทศต่างๆ เสื่อมลง กระตุ้นกระแสบริโภคนิยมพร้อมทั้งทำลายสามัญสำนึกและวิจารณญาณของคนเกี่ยวกับแก่นสาระสำคัญของชีวิต
ดังนั้น การพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นสังคมที่พึงปรารถนาควรมีลักษณะ คือ สังคมที่มีสมรรถภาพ มีเสรีภาพ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติ เศรษฐกิจสมดุล สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประเทศมีความมั่นคง ปรัชญาในการพัฒนาประเทศควรเป็นการพัฒนา “คน” เพื่อให้คนเป็นองค์รวมมีช่วยและมีบทบาทในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สรุปก็คือ เป้าหมายการศึกษา จะต้องมุ่งสร้างคนที่มีความมั่นใจ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ ใฝ่การศึกษาที่สนองปัญหา และพัฒนาความเป็นมนุษย์ เพื่อส่งเสริมอิสรภาพปัจเจกบุคคล ส่งเสริมให้คนมีคุณธรรมต่อกัน มีค่านิยมและจริยธรรมตามศาสนาของตน มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีขันติธรรม
ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีแก่พสกนิกรไทยดังนี้
“...ระยะนี้บ้านเมืองของเราพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า สังคมของเราเสื่อมทรามไปในทางความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตกว่า ถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไป เราอาจเอาตัวไม่รอด ปัจจุบันนี้ แม้ว่าเราจะอยู่ท่ามกลางความเจริญรุดหน้าแห่งยุคปัจจุบันอย่างไร เราก็ทอดทิ้งการศึกษาทางด้านจิตใจ และศีลธรรมจรรยาไม่ได้ ตรงข้ามเราควรจะเอาใจใส่สั่งสอนกันให้หนักแน่นทั่วถึงยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความคิดความเข้าใจถูกต้องสอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อมที่วิวัฒนาการไปไม่หยุดยั้ง
เราจะต้องสอนทั้งสองอย่าง สอนวิทยาการทำมาหาเลี้ยงชีพ นี้หมายความว่ามีอาชีพ มีความรู้ทางวัตถุ และต้องรู้จักควบคุมจิตใจ ควบคุมสติของตัวให้เราสามารถใช้ความรู้ทางด้านวัตถุเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ถ้าไม่รู้จักควบคุมความรู้ที่มีในวัตถุ ก็อาจเกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ในที่สุดก็เป็นความเดือดร้อนต่อตนเอง”
สภาวการณ์ในยุคนี้ ทุกคนทุกฝ่ายต้องยอมรับกันแล้วว่า ภาวะสังคมไทยกำลังอยู่ในสภาพวิกฤติเกือบทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้แต่การศึกษา ทุกระบบดังกล่าวยังไม่อยู่ในสภาวะที่พึงพอใจ ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอีกหลายประการ แม้รัฐบาลจะได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวดังเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ( พ.ศ.2540 -2544 ) เป้าหมายสำคัญอยู่ที่มีการสังคมที่พึงปรารถนา ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ประเทศชาติมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกรวมว่า เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยเน้นให้คนมีความสุข มีศีลธรรม มีการศึกษา มีจิตสำนึก ต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคม มีระเบียบวินัย เห็นคุณค่าของศาสนา ในการพัฒนา “คน” เพื่อให้มีคุณลักษณะทุกฝ่ายตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สื่อมวลชน ตลอดจนผู้บริหารทุกฝ่ายทุกระดับต้องเป็นแกนและตัวจักรสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริหารในระดับใดจะต้องเห็นคุณค่าของตน ต้องเสริมสร้างพัฒนาตนเอง และเอื้ออำนวยในการพัฒนาบุคลากรในความรับผิดชอบ รวมทั้งเยาวชนที่ผู้บริหารนั้นๆ มีส่วนเกี่ยวข้องให้บุคคลเหล่านั้นเป็นคนเก่งและคนดี เพื่อจะได้ดำรงชีวิตในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุข สามารถช่วยสร้างสรรค์สังคมได้ ผู้บริหารต้องตระหนักในบทบาทของตนเองในฐานผู้นำ เป็นแบบอย่าง เป็นแกนสำคัญในการจะเป็นแรงจูงใจ กระตุ้นให้บุคลากรในความดูแลรับผิดชอบเป็นบุคคลที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี เพื่อจะช่วยพยุงจรรโลงสังคมไทยให้พ้นจากสภาวะวิกฤติดังกล่าวข้างต้น.
ค่านิยมและจรรยาบรรณ
จริยธรรมของคนในสังคมย่อมเกี่ยวเนื่องมีผลมาจากรากฐานทางสังคมหลายด้าน ทั้งด้านแนวความคิด แนวความเชื่อ ด้านปรัชญา คำสอนทางศาสนา ขนบประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ รวมทั้งค่านิยม และจรรยาบรรณของตนในสังคม1. ความหมายของค่านิยม ค่านิยม (Value)
ตามความหมายที่นักการศึกษาให้ความหมายไว้ ดังนี้
ค่านิยม หมายถึง การยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนมีอยู่ต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นวัตถุ ความคิด อุดมคติ รวมทั้งการกระทำในด้านเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสุนทรียภาพ ทั้งนี้ได้กระทำการประเมินค่าจากทรรศนะต่าง ๆ โดยรอบคอบแล้ว (พนัส หันนาคินทร์, 2526 : 18 )
ค่านิยม คือหลักการประพฤติปฏิบัติตนต่อสิ่งต่างๆ ที่บุคคลถือว่าดีงามถูกต้อง และควรแก่การยึดถือ (วัชรี ธุวธรรม 2538 : 2 – 4)
ค่านิยม หมายถึง การให้ค่าแก่สิ่งต่างๆว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่นเราให้ค่าแก่ความซื่อสัตย์ว่าเป็นสิ่งที่ดี เราจะแสดงความซื่อสัตย์ หรือบางคนพอใจจะให้ค่าแก่การมีวัตถุสิ่งของว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าการได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของนั้นจะได้มาด้วยวิธีใด บุคคลก็จะสะสมวัตถุสิ่งของเอาไว้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ค่านิยมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสังคม (สมพร สุทัศนีย์, 2541 : 108 – 109)
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าค่านิยมเป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่า มีคุณค่าแก่ตนเอง หรือแก่สังคม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ ค่านิยมยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสังคม เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเลือกกระทำ ซึ่งหมายถึงจริยธรรมของแต่ละบุคคลและแต่ละสังคมนั่นเอง
2. ที่มาของค่านิยม
ค่านิยมเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ ยอมรับและเปลี่ยนแปลงได้ค่านิยมของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากที่มาของค่านิยมที่แตกต่างกันดังนี้
- จากประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งมีการยอมรับและปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา
- จาการอบรมเลี้ยงดู นับว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก การอบรมเลี้ยงดูแบบต่าง ๆ ก่อให้เกิดค่านิยม และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
- จากอิทธิพลจากสื่อมวลชน รวมทั้งการรับอารยธรรมตะวันตกและสังคมอื่น
- จากประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งผ่านการสั่งสมมาอย่างมากมาย สิ่งที่เคยพบเห็น เคยรู้สึก เคยปฏิบัติมาแล้ว ย่อมส่งผลให้เกิดค่านิยมในแต่ละคน
- ค่านิยมที่ว่าด้วยจริยธรรม (ethical value) เป็นสาขาที่กล่าวถึงคุณค่าในด้านความประพฤติของมนุษย์ด้านจริยธรรม คำสอนทางศาสนา
- ค่านิยมที่ว่าด้วยสุนทรียภาพ (esthetical value) เป็นสาขาที่พิจารณาถึงคุณค่าในด้านความงามที่แสดงออกมาโดยสื่อต่าง ๆ เช่น ศีลปะ ดนตรี การแสดง เป็นต้น
- ค่านิยมที่ว่าด้วยสังคมการเมือง (social – political value) จะพิจารณาถึงคุณค่าทางสังคม การเมือง (รวมทั้งการเศรษฐกิจ) ที่มีอยู่ในแต่ละสังคม เป็นลักษณะค่านิยมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย และมักทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการพิจารณาค่านิยมอยู่เสมอ (พนัส หันนาคินทร์ ,2526 : 27)
ค่านิยม อาจจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ค่านิยมส่วนบุคคล (individual values) เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลยึดถือปฏิบัติโดยเห็นคุณค่าในสิ่งนั้น (เช่น ความขยัน ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความประหยัด ฯลฯ)
2. ค่านิยมของสังคม (social values) เป็นค่านิยมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ ยอมรับในคุณค่า สมาชิกในสังคมพึงปฏิบัติจึงจะได้ชื่อว่าเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม
ค่านิยมของคนในสังคมไทย
คนไทยจะมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกันคือ คนไทยอยู่ใน “สังคมอำนาจนิยม” (Thinapan Nakata : 1975 : 55) คือยกย่องผู้มีอำนาจ ฉะนั้นคนไทยจึงมีค่านิยมตามลักษณะของสังคมไทยดังนี้
1. ยกย่องผู้มีอำนาจ
2. เคารพเชื่อฟังผู้มีอาวุโส
3. ค่านิยมของความสงบ
4. ค่านิยมของความเกรงใจ
5. ยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ
นอกจากนี้ยังมีค่านิยมอีกประการหนึ่งคือ “อิสรนิยม” นั่นก็คือ คนไทยรักอิสรภาพ ชอบทำสิ่งต่าง ๆ ตามสบาย ไม่ชอบกฎมาบังคับ ไม่ชอบใครมาควบคุมมากนัก จึงอาจกล่าวได้ว่ามีความเป็น “ปัจเจกชน” คือเป็นตัวของตัวเองในระดับสูง จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาว่าค่านิยมเหล่านี้ควรยึดปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใด หรือควรลดละเพื่อความเป็นสังคมที่มีประสิทธิภาพต่อไป
4. ค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทย
เนื่องจากค่านิยมเป็นสิ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมและจริยธรรมของคนในสังคม การปลูกฝังค่านิยมที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ผู้มีบทบาทหน้าที่ นับตั้งแต่พ่อแม่ ครูอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารควรปลูกฝังให้เยาวชนและคนในครอบครัว คนในสังคม รวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีค่านิยมที่พึงประสงค์ต่อไปนี้
กรมศาสนา (2525 : 2) ได้เสนอค่านิยมที่ควรปลูกฝังเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ อุปนิสัยและพฤติกรรมที่ดีของคนไทย ดังนี้
1. ความมีระเบียบวินัย
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและยุติธรรม
3. ขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาชีพ
4. สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
5. รู้จักคิดริเริ่ม มีวิจารณญาณ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
6. กระตือรือร้นในการปกครองแบบประชาธิปไตย รักและเทิดทูนชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
7. มีพลานามัยสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ
8. รู้จักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ
9. มีความภาคภูมิใจ และรู้จักทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และทรัพยากรของชาติ
10. มีความเสียสละ เมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และสามัคคีกัน
อำไพ สุจริตกุล และคณะ (2540 : 134 – 135) ได้กล่าวถึงค่านิยมอันพึงประสงค์ของคนไทยในปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากในรอบ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารระหว่างมวลมนุษย์ ได้ผลักดันให้คนมีการแข่งขันและการร่วมมือกันมากขึ้น มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตระหว่างกันสูงขึ้น ยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคที่ผลักดันให้คนต้องมีความเป็น “พลโลก” และ “ทันโลก” เพื่อ “การอยู่ร่วม” และ “การอยู่รอด”
ดังนั้นเป้าหมายแห่งการพัฒนาสังคมไทยในปัจจุบัน คือการสร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงทางวัตถุกับความเจริญงอกงามทางจิตใจ และความอาทรต่อธรรมชาติ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เป็นคนที่มีความสุข นำทางให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน จึงจำเป็นต้องกำหนดลักษณะของค่านิยม หรือคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญดังนี้
1. การมีมารยาท และมีวิธีการปฏิบัติตนทางกาย วาจา ใจ ขั้นพื้นฐาน
2. ความมีสติ สัมปชัญญะ เพื่อการครองตน ไม่กล้าสู่ความชั่ว
3. มีคุณธรรมที่สำคัญ ได้แก่
- ความมีวินัย รู้คุณค่าแห่งความมีระเบียบ
- ความกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
- ความกตัญญู รู้คุณบรรพชน รู้คุณคน รู้คุณธรรมชาติ
- ความมีเมตตา รู้จักให้ ยินดีและเป็นสุขกับการให้
- ความอดทน สู้งาน มีความมุ่งมั่นใฝ่ความสำเร็จ
- ความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว
- ความสามัคคี ประนีประนอม รักสันติ
- ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม
- ความขยันหมั่นเพียร ไม่หวังแต่จะหาทางลัดในชีวิตการงาน
- ความเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในตนเอง และรู้จักพึ่งตนเอง
- ความสันโดษ รู้จักพอ ไม่ดิ้นรนแสวงหาจนลืมความเป็นมนุษย์
- ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เป็นคนวางก้าม ชอบมีและชอบใช้อำนาจ
5. ความรักในธรรมชาติ
ในฐานะที่ค่านิยมเป็นเครื่องนำทางพฤติกรรมของคน และมีลักษณะที่ไม่คงที่ เมื่อประสบการณ์มากขึ้นก็จะมีผลทำให้บุคคลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่านิยมเดิม เราทราบค่านิยมของคนจากการประพฤติ การปฏิบัติในภาวะต่าง ๆ โดยผ่านการวินิจฉัยและเลือกสรรเข้าเป็นแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของตนจนออกมาในรูปของความคิดที่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พึงปรารถนามีคุณค่าควรแก่การประพฤติปฏิบัติต่อไป
5. จรรยาบรรณ
ในวงงานวิชาชีพนั้น จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่สำคัญ วิชาชีพที่กำหนดจรรยาบรรณจะเป็นอาชีพที่ต้องศึกษาด้วยศาสตร์ชั้นสูง มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นอาชีพที่มีองค์กรหรือสมาคมรองรับ เช่นคุรุสภาเป็นองค์กรของวิชาชีพครู เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเป็นวิชาชีพที่มีการจัดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งด้านทฤษฏีและด้านปฏิบัติ จนผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีประสบการณ์อย่างสมบูรณ์ในศาสตร์สาขานั้นๆ
6. ความหมายของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลลดความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่าง กำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2538 : 214 )
จรรยาบรรณ หมายถึง จริยวิชาชีพ จรรยาวิชาชีพ หรือจริยธรรมวิชาชีพ (professional ethics) จริยธรรมวิชาชีพจะครอบคลุมในทุกเรื่องทุกประการที่เป็นข้อควรประพฤติสำหรับกลุ่มวิชาชีพอันรวมถึงข้าราชการด้วย (พระเมธีธรรมาภรณ์, 2538 : 3)
จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพ โดยที่ข้อบัญญัตินั้นอาจจะเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือบอกกล่าวด้วยวาจาในสังคมวิชาชีพนั้นก็ได้ ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับโทษ โดยการว่ากล่าวตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ (วัลลภา เทพหัวดิน ณ อยุธยา, 2541 : 4)
จรรยาบรรณจึงเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นศาสตร์ชั้นสูง มีองค์กรหรือสมาคมรองรับ จะต้องปฏิบัติเพื่อการครองตนและครองงาน อันเป็นทางที่จะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ และบรรลุความสำเร็จของงาน วิชาชีพที่มีการกำหนดจรรยาบรรณจะแตกต่างจากอาชีพธรรมดา คนที่มีอาชีพธรรมดามุ่งที่การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ แต่ไม่ใช่วิชาชีพ (profession) เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ไม่จัดเป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องศึกษาศาสตร์ เฉพาะชั้นสูงที่มีจรรยาบรรณนั้นถือว่าเป็นผู้ทำหน้าที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. เป็นอาชีพที่ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนระดับสูง
2. มีการคัดเลือกสรรหาบุคคลเข้ามาในวงการวิชาชีพนั้น
3. มีจรรยาบรรณหรือจริยธรรมของผู้ที่อยู่ในวงการของวิชาชีพนั้น
4. มีสมาคมวิชาชีพที่คอยควบคุมกำกับดูแล
จุดมุ่งหมายของการกำหนดจรรยาบรรณ เพื่อ
1. ให้คนที่อยู่ในวิชาชีพนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการ
3. รักษาชื่อเสียงเกียรติ ศักดิ์ศรีของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพนั้น ๆ
4. การกำหนดจรรยาบรรณเป็นลายลักษณ์อักษร จะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพตน และให้ผู้รับบริการรับรู้และเข้าใจ
ในส่วนจรรยาบรรณของนักบริหารการศึกษานั้น แม้ไม่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาจจะพิจารณารับจากจรรยาบรรณและวินัยของข้าราชการครู และจริยธรรมของข้าราชการรวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานของผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540 มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนดังนี้
7.จรรยาบรรณครู
ตามที่คุรุสภาได้กำหนดไว้มี 9 ประการดังนี้
- ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาอกเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
- ครูต้องอบรมสั่งสอนฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้อง ดีงามให้แก่ศิษย์เต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
- ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
- ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปรกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบ
- ครูย่อมพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
- ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
- พึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
- พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
- ครูต้องสนับสนุนและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ครูต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตนด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวังผลประโยชน์ของสถานศึกษา
- ครูต้องสุภาพเรียบร้อย เชื่อฟังและไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป ยกเว้น ผู้บังคับบัญชาเหนือคนสั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งชั่วคราว
- ครูต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่สถานศึกษา จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
- ครูต้องประพฤติตนอยู่ในความสุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความชื่อสัตย์ เที่ยงธรรม
- ครูต้องรักษาชื่อเสียง มิใช่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามมิให้ประพฤติการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์และชื่อเสียงครู เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพเครื่องดื่มของเมาจนไม่สามารถครองสติได้ มีหนี้สินรุงรัง หมกมุ่นในการพนัน การกระทำผิดอาญา ประพฤติประเวณีต่อบุคคลหรือคู่สมรสของผู้อื่น กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอันใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่แห่งตน
- ครูต้องประพฤติให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใดๆ
- ครูต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมของสถานศึกษา
- ครูต้องรักษาความสามัคคีระหว่างครู และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน
- ครูต้องรักษาความลับของศิษย์ ผู้ร่วมและสถานศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ตราข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 เพื่อให้ข้าราชการถือปฏิบัติ ดังมีสาระสำคัญดังนี้
โดยทีข้าราชการพลเรือนมีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงสมควรมีข้อบังคับ ก.พ.ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้เป็นประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะของข้าราชการพลเรือน อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา และยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8(5) และมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2525 จึงออกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ดังต่อไปนี้
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ 1 ข้าราชการพลเรือนพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดีและประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
ข้อ 2 ข้าราชการพลเรือนพึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพกำหนดไว้ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย
ข้อ 3 ข้าราชการพลเรือนพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมจริยธรรมรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
ข้อ 4 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ
ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถรอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ
ข้อ 6 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่
ข้อ 7 ข้าราชการพลเรือนพึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระวังมิให้เสียหาย หรือสิ้นเปลื้องเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน
ข้อ 8 ข้าราชการพลเรือนพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตนทั้งในด้านการให้ความคิด การช่วยทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย
ข้อ 9 ข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงดุแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญ กำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตลอดจนปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ข้อ 10 ข้าราชการพลเรือนพึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ข้อ 11 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพมีน้ำใจและมนุษยสัมพันธ์อันดี
ข้อ 12 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นจากการนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน
จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม
ข้อ 13 ข้าราชการพลเรือนพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำให้ติดต่อหน่วยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆต่อไป
ข้อ 14 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชนจะให้กันโดยเสน่หาจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หากได้รับแล้วและทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัย ก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามสมควรแกกรณี
9. เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา ของคุรุสภา พ.ศ. 2540
เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา ของคุรุสภา พ.ศ. 2540 นับเป็นฉบับแรกที่คุรุสภาจัดทำขึ้น โดยยึดถือแนวคิดและความเชื่อที่ว่าผู้บริหารการศึกษาเป็น “ผู้จัดการ” ทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคนและการพัฒนาในรูแบอื่นๆ เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา มีอยู่ 12 ข้อ ดังนี้ (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาบุคคล ผู้เรียน และชุมชน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนงานขององค์กร ให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานที่ 6 ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร
มาตรฐานที่ 7 รายงานคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนาทุกสถานการณ์
ผู้บริหารการศึกษาที่จะประสบความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ประสบความสำเร็จ และประสบความสุข นอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม เป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ และเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีหลักปฏิบัติทั้งในฐานะเป็นข้าราชการและในฐานะเป็นครู หรือแม้จะอยู่ในองค์การหน่วยงานใดก็ตามก็ต้องศรัทธาต่อวิชาชีพนั้นๆ ต้องรักและภาคภูมิใจในวิชาชีพนั้นๆ เห็นความสำคัญของวิชาชีพนั้นด้วยความชื่นชม ธำรงปกป้องรักษาเกียรติภูมิของวิชาชีพ เพื่อไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ ทำให้ตนเองต้องมัวหมอง โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องอยู่ในฐานะที่ผู้คนรอบข้าง ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถืออย่างจริงใจ เพื่อการคนบริหารคนบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี จึงจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องครองตนให้สมกับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
พุทธสาวกผู้บริโภคอย่างคุ้มค่า
พูดถึงเรื่องประหยัด หรือใช้สิ่งของให้คุ้มคา พระอานนท์ก็เป็นผู้ประหยัด และฉลาดในเรื่องนี้มาก ดังครั้งหนึ่งหลังพุทธปรินิพพาน ท่านได้เดินทางเรือไปสู่นครโกสัมพีเพื่อประกาศพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระหัวดื้อตามคำสั่งของพระภูมีพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน เมื่อขึ้นจากเรือแล้วท่านเข้าอาศัยพัก ณ พระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน ราชาแห่งนครนั้น ขณะนั้นพระเจ้าอุเทนและมเหสีประทับอยู่ ณ พระราชอุทยาน พระมเหสีทรงทราบว่าพระอานนท์มาก็ทรงโสมนัส ทูลลาพระสวามีไปเยี่ยมพระอานนท์ สนทนาพอเป็นสัมโมทนียกถาแล้วพระอานนท์แสดงธรรมเป็นที่เลื่อมใสจับจิตยิ่งนัก พระนางได้ถวายจีวรจำนวนมาก 500 ผืน ในเวลาต่อมาแต่พระอานนท์ พระเจ้าอุเทนทรงทราบเรื่องนี้แทนที่จะทรงพิโรธพระมเหสี กลับทรงตำหนิท่านอานนท์ว่ารับจีวรไปทำไมมากมายหลายร้อยผืน จะไปตั้งร้านขายจีวรหรือไร เมื่อมีโอกาสได้พบพระอานนท์ พระองค์ทรงเรียนถามว่า
พระ ราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๘ ให้คุรุสภามีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ (๒) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ มาตรา ๙ ให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (๑๑) ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย (จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพ (ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
ปัจจุบัน คุรุสภาได้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวน ๔ กลุ่มวิชาชีพ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ และขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ
ปัจจุบัน คุรุสภาได้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวน ๔ กลุ่มวิชาชีพ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ และขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ
คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษาและกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ ๓ ด้าน ประกอบด้วย
๑. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคล ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุก ๆ ๕ ปี
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน
หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนว ทางในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ซึ่งแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพกำหนดเป็นข้อบังคับคุรุสภา หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จนได้รับร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดัง ต่อไปนี้
(๑) ยกข้อกล่าวหา (๒) ตักเตือน (๓) ภาคทัณฑ์ (๔) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน ๕ ปี (๕) เพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา ๕๔)
- แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึง ประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติที่กำหนดขึ้นตามจรรยาบรรณของ วิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ต้องหรือพึงประพฤติปฏิบัติตามประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือพึงประพฤติตาม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือพึงละเว้น
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสพฐ.
จำนวน ๕ ด้าน ๑๕ มาตรฐาน ประกอบด้วย
ด้านที่ ๑ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานที่
๑ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ
๑.๑ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
๑.๒ มีน้ำหนัก ส่วนสูง
และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน
๑.๓
ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ
และปัญหาทางเพศ
๑.๔ เห็นคุณค่าในตนเอง
มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
๑.๕
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น
๑.๖ สร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ
ดนตรี/นาฏศิลป์ กีฬา/นันทนาการ ตามจินตนาการ
มาตรฐานที่
๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
๒.๑
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
๒.๒
เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
๒.๓ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง
๒.๔ ตระหนัก รู้คุณค่า
ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๓.๑ มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด
แหล่งเรียนรู้
และสื่อต่างๆ รอบตัว
๓.๒ มีทักษะในการอ่าน
ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
๓.๓ เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน
๓.๔
ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ
คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล
๔.๑
สรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ฟัง และดู และสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตาม
ความคิดของตนเอง
๔.๒ นำเสนอวิธีคิด
วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง
๔.๓ กำหนดเป้าหมาย
คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ
๔.๔ มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ
มาตรฐานที่ ๕
ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นตามหลักสูตร
๕.๑
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์
๕.๒
ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์
๕.๓ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์
๕.๔ ผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
๖.๑ วางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ
๖.๒ ทำงานอย่างมีความสุข
มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง
๖.๓ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๖.๔
มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ
ด้านที่ ๒ มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่
๗ ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๗.๑
ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ
สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๗.๒
ครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
๗.๓
ครูออกแบบและการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและ
พัฒนาการทางสติปัญญา
๗.๔
ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
๗.๕ ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้วยวิธีการที่
หลากหลาย
๗.๖
ครูให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพ
ชีวิตด้วยความเสมอภาค
๗.๗ ครูมีการศึกษา
วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน
๗.๘
ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา
๗.๙
ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ
มาตรฐานที่ ๘
ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
๘.๑ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ
และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน
๘.๒
ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ
๘.๓
ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ใน
แผนปฏิบัติการ
๘.๔
ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ
๘.๕ นักเรียน ผู้ปกครอง
และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษา
๘.๖ ผู้บริหารให้คำแนะนำ
คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา
มาตรฐานที่ ๙ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง
ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๙.๑
คณะกรรมการสถานศึกษารู้และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบกำหนด
๙.๒ คณะกรรมการสถานศึกษากำกับติดตาม
ดูแล และขับเคลื่อนการดำเนินงานของ
สถานศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
๙.๓
ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา
มาตรฐานที่ ๑๐ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน
๑๐.๑
หลักสูตรสถานศึกษาเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น
๑๐.๒ จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด
ความสามารถและ ความสนใจ
๑๐.๓
จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการ ความสามารถ
ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
๑๐.๔
สนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
๑๐.๕ นิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ
และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่าง
สม่ำเสมอ
๑๐.๖ จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผู้เรียนทุกคน
มาตรฐานที่ ๑๑
สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ
๑๑.๑
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความ
สะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น
และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
๑๑.๒ จัดโครงการ
กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน
๑๑.๓
จัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย
ตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
มาตรฐานที่ ๑๒
สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง
๑๒.๑ กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๑๒.๒
จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนา
คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๑๒.๓
จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
๑๒.๔ ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๑๒.๕
นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๑๒.๖
จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน
ด้านที่ ๓ มาตรฐานการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
มาตรฐานที่
๑๓ สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน
ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
๑๓.๑
มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จาก
แหล่งเรียนรู้
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและ
บุคลากรของสถานศึกษา
รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
๑๓.๒
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่าง สถานศึกษากับ
ครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ด้านที่ ๔ มาตรฐาน อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
มาตรฐานที่
๑๔ การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น
๑๔.๑ จัดโครงการ
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา
ปณิธาน พันธกิจ
วัตถุประสงค์และจุดเน้นของการจัดตั้งสถานศึกษา
๑๔.๒
ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา
และจุดเน้นของสถานศึกษา
ด้านที่ ๕ มาตรฐานมาตรการส่งเสริม
มาตรฐานที่
๑๕ การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนา และส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น
๑๕.๑ จัดโครงการ
กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๑๕.๒ ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย
.......................................................................................................................................................................
ตามลิงค์
http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_4116.html