หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "

หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "
หน้าหลัก เว็บ ติวสอบดอทคอม "ติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา "

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ

พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ
พัฒนาความรู้ครูมืออาชีพ

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ สรุปย่อ ภาษาไทย สาระที่ 2 การเขียน

ข้อสอบ สรุปย่อ ภาษาไทย  สาระที่ 2 การเขียน

ความหมายและความสำคัญของการเขียน

ความสำคัญของการเขียน
ความหมายและความสำคัญของการเขียน
การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษษเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด
การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน
จุดประสงค์ของการเขียน
การเขียนทั่วไปมีจุดประสงค์ดังนี้
01. เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เช่น เหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ
02. เพื่ออธิบายความหรือคำ เช่น การออกกำลังกาย การทำอาหาร คำนิยามต่างๆ ฯลฯ
03. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ
04. เพื่อปลุกใจ เช่น บทความ สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ
05. เพื่อแสดงความคิดเห็น
06. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น เรื่องสั้น นิยาย นวนิยาย ฯลฯ
07. เพื่อล้อเลียน เช่น บทความการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ
08. เพื่อประกาศแจ้งให้ทราบ เช่น ประกาศของทางราชการ ประกาศรับสมัครงาน ฯลฯ
09. เพื่อวิเคราะห์ เช่น การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์วรรณกรรม ฯลฯ
10. เพื่อวิจารณ์ เช่น วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์หนังสือ ฯลฯ
11. เพื่อเสนอข่าวสารและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ
12. เพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น จดหมาย ธนาณัติ การกรอกแบบรายการ ฯลฯ
จุดประสงค์ของการเขียนคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงว่า ในการเขียนงานเขียนแต่ละครั้งนั้นต้องการเขียนเพื่อสื่อเรื่องใด โดยผู้เขียนต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งหลักการเขียนประกอบการเขียน เพื่อให้การเขียนเพื่อการสื่อสารนั้นๆบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
หลักการเขียน
เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้
1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ
2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์
3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน
5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน
6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่งคือกระบวกการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น
กระบวนการคิดกับกระบวนการเขียน
กระบวนการเคิดกับกระบวนการเขียนนั้นมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการเขียนงานเขียนทุกประเภทต้องใช้ความคิด ต้องสร้างสรรค์ วิเคราะห์ กลั่นกรอง เรียบเรียงให้ดีเสียก่อน แล้วจึงลงมือเขียน อันจะทำให้การเขียนนั้นๆสำเร็จลงด้วยดี
กระบวนการคิด
1. คิดให้ตรงจุด หมายถึง คิดถึงจุดประสงค์ที่สำคัญเพียงจุดเดียว โดยการคิดให้อยู่ในวงจำกัด การคิดให้ตรงจุดมีดังนี้
..........1) คิดในหัวข้อที่จำกัด ไม่กว้างเกินไป จำกัดขอบเขตของเนื้อหาให้ชัดเจน
..........2) คิดเฉพาะสิ่งที่รู้ เพราะจะทำให้คิดได้ดี คิดอย่างชำนาญ มีประสิทธิภาพ
2. คิดให้เป็นระเบียบ หมายถึง การจัดลำดับความคิด มีดังนี้
..........1) จัดลำดับเรื่องราว คือ การจัดลำดับว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนเกิดหลัง
..........2) จัดลำดับสถานที่ คือ เขียนรายละเอียดของสถานที่ให้ตรงตามความเป็นจริง ไม่วกไปวนมา
..........3) จัดลำดับตามเหตุผล คือ มีเหตุแล้วต้องมีผลตามมา หรือการกล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
3. คิดให้กระชับและชัดเจน คือ ต้องมีความคิดหลักเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นได้ และความคิดนั้นต้องสามารถทำให้ผู้อ่านสื่อได้ตรงกับความคิดของผู้เขียน โดยไม่สับสน เช่น ผู้เขียนต้องการเสนอความคิดเกี่ยวกับคุณค่าของการประหยัด ต้องทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วเห็นคุณค่าของการประหยัดอย่างแท้จริง โดยไม่เห็นแตกต่างออกไป
นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึงเสมอก่อนจะลงมือเขียนเรื่องใด ก็คือ มารยาทในการเขียน เนื่องจากงานเขียนบางประเภท หรือบางเรื่องอาจก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตได้ ฉะน้น เพื่อป้องกันความเนียหายที่จะเกิดขึ้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องเขียนอย่างมีมารยาท ดังนี้
มารยาทในการเขียน
1. ไม่ควรเขียนโดยปราศจากความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพราะอาจเกิดความผิดพลาด หากจะเขียนก็ควรศึกษาค้นคว้าให้เกิดความพร้อมเสียก่อน
2. ไม่เขียนเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือสถาบันเบื้องสูง
3. ไม่เขียนเพื่อมุ่งเน้นทำลายผู้อื่น หรือเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่ตน พวกพ้องตน
4. ไม่เขียนโดยใช้อารมณ์ส่วนตัวเป็นบรรทัดฐาน
5. ต้องบอกแหล่งที่มาของข้อมูลเดิมเสมอ เพื่อให้เกียรติเจ้าของข้อมูลนั้นๆ
6. ไม่คัดลอกบทความหรือเนื้อหาตอนใดตอนหนึ่งมาโดยเจ้าของเรื่องไม่อนุญาต

ที่มา ; https://www.l3nr.org/posts/414165




ข้อสอบ สรุปย่อ ภาษาไทย สาระที่ 1 การอ่าน

ข้อสอบ สรุปย่อ ภาษาไทย สาระที่ 1 การอ่าน

ความหมายของการอ่าน
             
               การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์จราจร
เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น
               การรับรู้ข้อความ เข้าใจเรื่องราว หรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค ์ของผู้เขียนเป็นการอ่านที่ดีและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ความสำคัญของการอ่าน

              ชีวิตของแต่ละคนย่อมต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคม คือ กลุ่มคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนาไปข้าง
หน้าอย่างแท้จริง ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงมนุษย์ทุกคน
เข้าด้วยกัน สามารถทำทั้งการพบปะสื่อสารกันด้วยการสนทนาและอ่านข้อเขียนของกันและกัน สำหรับสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมใหญ่ที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การติดต่อกันโดยวิธีพบปะสนทนาย่อมเป็นไปได้ในวงจำกัด ดังนั้นการสื่อสารกันโดยการอ่านจึงม
ีความสำคัญมาก นอกจากนั้นผู้อ่านจำนวนมากยังต้องการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิง
จากหนังสืออีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการอ่าน
      
๑. การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า
    
               คือ ต้องการได้รับความรู้จากเนื้อเรื่องที่อ่าน เช่น การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี หรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนและนักศึกษา เพื่อรู้และเข้าใจเรื่องราวตามหลักสูตร
และอ่านวารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ ์บ้านเมือง บ้านเมือง ผู้ประกอบอาชีพต่างๆก็ต้องอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาขาอาชีพของตน
หรือเพื่อทำความเข้าใจวิทยาการใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าแม้แต่ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีสำหรับบุคคลทั่วไป ก็ยังให้ความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิง เพราะบุคคลทั่วไปอ่านหนังสือต่างๆ เพื่อขยายความรู้ ความสนใจ
ให้กว้างขวาง 

๒. การอ่านเพื่อความบันเทิง
      
                บุคคลบางประเภทมีความชอบที่จะอ่านเพื่อความบันเทิงมากกว่าอ่านเพื่อความรู้ เนื่องจากว่า ความบันเทิงเป็นอาหารทางใจซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกันกับอาหารและอากาศ จึงมักจะเลือกอ่านแต่หนังสือที่ส่งเสริมสุขภาพจิตให้แจ่มใส มีความสุข คนไทยเรานั้นใช้การอ่านเป็นเครื่องให้ความบันเทิงใจมาเป็นเวลาติดต่อกันนานหลายปีแล้ว เห็นได้จากนิทานร้อยแก้วและนิทานคำกลอนสำหรับอ่าน กลอนเพลงยาว นิราศ ตลอดจนวรรณกรรมอื่นๆที่ถูกแต่งขึ้นอย่างมากมายและหลากหลายในสมัยก่อน ล้วนแต่มีส่วนให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่านทั้งสิ้น จวบจนปัจจุบันนี้ก็มียัง นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี การ์ตูนมีภาพประกอบต่างๆ มากมายเพื่อสร้างรอยยิ้มความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านโดยวิธีการอ่านง่ายๆและสามารถทำ
ได้หลายโอกาส เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง


๓. การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ
          
                 นอกจากความต้องการในการหาความรู้และความบันเทิงแล้ว คนบางคนยังแสวงหา
คำตอบอื่นๆให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความ
คิดเห็นทั่วไป ที่จะมักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติใน
การดำเนินชีวิต
หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ หรืออ่านเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ กล่าวคือการอ่านหนังสือมากๆ  จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักการวางตัวที่เหมาะสม มีความคิดกว้างขวาง
ทันสมัย สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือท ี่
เป็นคติสอนใจหรือเป็นอุทาหรณ์

           
ระดับของการอ่าน    
 
           
     แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
           ๑อ่านออก การที่ผู้อ่านรู้จักพยัญชนะ สระและเครื่องหมายต่างๆ สามารถอ่านออกเสียงออกมาเป็นคำได้อย่างถูกต้อง
  
         
๒.อ่านเป็น เป็นการอ่านที่แตกต่างจากระดับแรกโดยสิ้นเชิง เพราะการอ่านเป็นนั้น หมายความว่า ผู้อ่านจะต้องอ่านได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว จับใจความได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ ทราบความหมายของข้อความทุกอย่างรวมถึงความหมายที่ผู้เขียนเจตนาแฝงเร้นไว้  สามารถเข้าใจเจตนาและอารมณ์ของผู้เขียน ตลอดจนสามารถประเมินคุณค่าและเลือกรับสิ่งดีๆจากงานเขียนนั้นได้  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝนทักษะในการอ่านของตนเองให้มาก เพื่อที่จะได้อ่านเป็น ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนค่อนข้างนาน           
การฝึกอ่านให้เป็น

       
๑. รู้หลักภาษา

                     ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาหลักไวยากรณ์ การออกเสียง อักขรวิธี จนคุ้นชินสามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้องแล้วจึงฝึกฝนตนเองให้เป็นคนอ่านเร็ว สามารถเข้าใจใจความของข้อความได้เมื่อกวาดสายตาไปตามตัวอักษรที่เรียงกันเป็นคำ เป็นประโยค โดยที่ไม่ต้องสะกด หรืออ่านออกเสียงใดๆเลย หรือที่เราเรียกกันว่า การอ่านในใจ นั่นเอง

            
๒. รู้หนังสือ
                     ต้องรู้จักประเภทของหนังสือ สามารถแยกแยะประเภทและความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในหนังสือแต่ละประเภทได้ รวมทั้งจะต้องรู้ส่วนประกอบต่างๆของหนังสือว่ามีอะไรบ้าง แต่ละส่วนเป็นอย่างไร

           
 ๓. รู้จักเลือก
                     จะทำให้สามรถเลือกหนังสือได้ตรงตามความต้องการของตนเอง ช่วยประหยัดเวลาในการเลือกมากขึ้น


         ๔. รู้วิธีอ่าน

                     นอกจากต้องรู้หนังสือและรู้จักเลือกแล้ว จะต้องรู้วิธีอ่าน ต้องใจกว้างพยายามอ่านหนังสือหลายๆประเภท ไม่อ่านแต่หนังสือที่ชอบ ฝึกให้มีความเป็นกลางในการอ่าน ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ต้องไม่เป็นทาสของหนังสือ อ่านเล่มใดก็คล้อยตามเล่มนั้น ฝึกตนเองให้เป็นคนที่วิเคราะห์ด้วยเหตุผล ความเป็นจริงและความถูกต้อง

            
๕. รู้คุณค่า
                     เมื่อทำได้ทั้ง 4 ข้อในข้างต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่ตามมาก็คือจะต้องอ่านแล้วคิดตามตลอดเวลา ฝึกจับใจความสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกผู้เขียน ประเมินค่าและแยกแยะสิง่ที่เป็นประโยชน์ออกจากเนื้อเรื่องได้ เมื่ออ่านจบสามารถบอกคุณค่าของหนังสือและสาระที่ได้จากการอ่าน 

    
              หากทำได้ทั้ง ๕ ข้อจะช่วยให้เข้าถึงคุณประโยชน์ของหนังสือได้อย่างแท้จริง 
วิธีอ่านหนังสือ       
              เนื่องจากการอ่านของแต่ละบุคคลมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน มีทั้งที่อ่านเพื่อความบันเทิง ความรู้และสนองความต้องการอย่างอื่น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการอ่านอย่างแท้จริง เราควรจะรู้วิธีการอ่านในแต่ละจุดมุ่งหมาย
     
              ๑. วิธีอ่านเพื่อความบันเทิง
                  ความบันเทิง หมายถึง ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นรมย์ และความเป็นสุขใจ ผู้อ่านแต่ละคนต้องการความบันเทิงในแบบที่ต่างกัน บ้างก็เพลิดเพลินกับการอ่านนิทาน นวนิยายที่ต้องใช้จินตนาการ มีความสุขกับจินตนาการที่ตนสร้าง บ้างก็สนุกสนานเรื่องตลกขบขัน บ้างก็สุขใจกับการอ่านธรรมะ ปรัชญา คติธรรมที่ให้ความสงบสุขทางใจ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสุขในการอ่านเราควรจะต้องรู้วิธีการอ่าน ดังนี้
       ๑. เลือกหนังสือให้ตรงกับความต้องการ โดยดูจากประเภทของหนังสือว่าเป็นความบันเทิงด้านใด เช่น เรื่องสั้น สารคดีเบาๆ เรื่องตลกขบขัน เป็นต้น
       ๒. อ่านคำนำหรือคำปรารภ เพื่อให้เข้าใจจุดมุ่งหมายในการแต่งและรู้จักผู้แต่งมากขึ้น
       ๓. อ่านอย่างไม่มีอคติหรือจับผิด ปล่อยใจไปกับเรื่องราวเพื่อรับรสความบันเทิงอย่างเต็มที่
       ๔. พิจารณาว่าได้อะไรจากการอ่าน ได้แนวคิดอะไร หรือ ได้ความบันเทิงใจอย่างไร เช่น ปลื้มปิติ สนุกสนาน หรืออิ่มเอมใจ เป็นต้น

๒. วิธีการอ่านเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้า              
                  จะต้องรู้ว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร แล้วจึงเลือกหาหนังสือที่จะค้นคว้าโดยการพิจารณาจากประเภทของหนังสือ เมื่อได้หนังสือที่ต้องการแล้ว จะต้องพิจารณาจากส่วนประกอบที่สำคัญของหนังสือ เพื่อให้ประโยชน์ทางการศึกษาโดยตรง คือ 
     ๑.๑ คำนำ 
            จะเป็นส่วนที่ผู้แต่งหนังสือจะบอกถึงจุดมุ่งหมายในการแต่ง สาระสำคัญของเรื่องและบางครั้งยังบอกวิธีการใช้หนังสือไว้ในคำนำ จึงทำให้เรารู้จักผู้แต่งได้มากขึ้น

     ๑.๒ สารบัญ

            จะเป็นตัวบอกขอบเขตของเนื้อหาว่ากล่าวถึงอะไรบ้าง ลำดับก่อนหลังของเนื้อหา และส่วนประกอบของหนังสือ เช่นภาคผนวก ดัชนี เป็นต้น ดังนั้นหน้าสารบัญที่ละเอียดจึงมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้อ่าน
         หนังสือไม่จำเป็นจะต้องมีสารบัญทุกเล่ม สารบัญจำเป็นต้องมีในหนังสือประเภทที่มีหัวข้อเนื้อหาหลากหลายเรื่องรวมอยู่ในเล่มเดียว เช่น นิตยสาร วารสาร หรือหนังสือเพื่อการค้นคว้า เป็นต้น หนังสือที่ไม่จำเป็นต้องมีสารบัญ เช่น นวนิยาย นิทาน บทละคร เป็นต้น

     ๑.๓ บัญชีตารางและบัญชีภาพ

            มีในหนังสือบางประเภท เช่น รายงานการวิจัย ตำราและเอกสารทางวิชาการ เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่า ตารางแสดงสถิติตัวเลข แผนภูมิหรือภาพประกอบอยู่ในหน้าใดของหนังสือ จะช่วยให้ศึกษาได้สะดวกยิ่งขึ้น

     ๑.๔ เนื้อเรื่อง
           สำหรับการอ่านเพื่อศึกษาค้นคว้า ผู้ศึกษาจะต้องรู้ว่าตนเองต้องการจะค้นคว้าอย่างละเอียดทั้งเรื่อง หรือ ค้นคว้าเฉพาะเรื่อง หากต้องการจะค้นคว้าทั้งเรื่อง ผู้อ่านต้องพยายามจับใจความในแต่ละย่อหน้าและแต่ละบทให้ได้ 
เมื่ออ่านจบ ต้องสามารถสรุปเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าเรียบเรียงเป็นหนึ่งบทและสามารถเรียบเรียงแต่ละบท มาสรุปเป็นเรื่องเดียวกันได้
           การอ่านที่ต้องการค้นคว้าเฉพาะเรื่อง หมายถึงเรื่องย่อยๆที่กล่าวในบางตอนของหนังสือหรือวารสาร ผู้อ่านจะต้องเลือกเนื้อหาโดยอาศัยสารบัญเป็นสำคัญ สิ่งที่ควรจะฝึกให้เป็นนิสัยก็คือ อ่านให้ตลอดทีละย่อหน้า จับใจความของย่อหน้านั้นๆให้ได้ เมื่ออ่านจบแล้วจึงค่อยสรุปใจความออกมาเป็นหนึ่งบทเช่นเดียวกันกับการค้นคว้าทั้งเรื่อง
           การค้นคว้าทั้งสองแบบนั้น ควรจะใช้การบันทึกประกอบด้วยเพื่อให้เกิดการศึกษาที่เป็นระบบ จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การลำดับความสำคัญและการจดจำ

     ๑.๕ ภาคผนวก

           รวบรวมเรื่องที่อ้างอิงและข้อเขียนที่หาอ่านได้ยากไว้ท้ายเล่ม แม้ไม่ใช่เนื้อหาโดยตรงที่แท้จริง แต่จะช่วยขยายความรู้ ความเข้าใจและความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาได้มาก

     ๑.๖บรรณานุกรม

          คือ หนังสืออ้างอิงที่ผู้แต่งใช้ประกอบในการเขียนหนังสือเรื่องนั้น เรื่องลำดับไว้ตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง ผู้ศึกษาค้นคว้าควรดูรายละเอียดในส่วนนี้ด้วย เพราะบางครั้งจะต้องติดตามเรื่องที่อ้างอิงในหนังสือเล่มนั้น

     ๑.๗ ดัชน

          คือ ส่วนสุดท้ายของหนังสือ ช่วยในการหาเนื้อหาที่ต้องการศึกษา สำหรับผู้ศึกษาที่มีเวลาน้อย จะรวบรวมเอาชื่อและคำต่างๆที่มีในหนังสือ พร้อมกับบอกหมายเลขหน้าเอาไว้
              
         ๓. วิธีอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ
                   คือ ความต้องการที่จะหาข้อคิด คำแนะนำในการดำรงชีวิต ในการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น การเสริมสร้างบุคลิกภาพของตนเอง  ส่งเสริมหน้าที่การงาน หรือยกระดับจิตใจ  เป็นต้น ซึ่งควรจะต้องอ่านให้เหมาะสม คือ
       ๑. สำรวจตนเองว่าขณะนี้ต้องการอะไร และเลือกหนังสือให้ตรงกับความต้องการของตนเอง
เช่น มีความสามารถต้องการสมัครงานแต่รู้ว่าตนเองมีบุคลิกที่ไม่ดี ก็ควรหาหนังสือประเภทส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูน่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจ เป็นต้น
         ๒. อ่านอย่างช้าๆ ตีความหมายในเนื้อเรื่องให้แจ่มแจ้ง
       
              เมื่ออ่านจบแล้วจะต้องรู้ว่าสิ่งที่อ่านมาทั้งหมดนั้นสนองความต้องการของตัวเองแล้วหรือไม่ มีส่วนใดที่น่าพึงใจและประทับใจ การอ่านแบบนี้เป็นการอ่านที่เน้นประโยชน์จากการอ่านเป็นสำคัญ ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นคนระดับไหนก็ตาม แต่สามารถที่จะเข้าใจตนเอง พัฒนาตนเอง มีความสุขจากการได้อ่านหนังสืออย่างเข้าใจถ่องแท้ ประโยชน์ก็จะเกิดแก่เขาผู้นั้น

ที่มา ; http://www.thaigoodview.com


ดู VDO การอ่าน เพิ่มเติม ได้ที่
http://www.trueplookpanya.com/new/knowledge_list/23-1000/update/1002/

ทำข้อสอบออนไลน์ เรื่อง การอ่านได้ที่

ชุด 1  http://www.trueplookpanya.com/examination/doexam/12005

ชุด 2
http://www.trueplookpanya.com/examination/doexam/12095

ชุด 3


ทำข้อสอบออนไลน์เพิ่มเติม ได้ที่  


คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท

คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท
คู่มือ สอบครูผู้ช่วย ปี 2566 ครบ ภาค กขค 99 บาท