ความหมายและความสำคัญของการเขียน
ความสำคัญของการเขียน
ความหมายและความสำคัญของการเขียน
การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษษเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด
การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน
จุดประสงค์ของการเขียน
การเขียนทั่วไปมีจุดประสงค์ดังนี้
01. เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เช่น เหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ
01. เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เช่น เหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ
02. เพื่ออธิบายความหรือคำ เช่น การออกกำลังกาย การทำอาหาร คำนิยามต่างๆ ฯลฯ
03. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ
04. เพื่อปลุกใจ เช่น บทความ สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ
05. เพื่อแสดงความคิดเห็น
06. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น เรื่องสั้น นิยาย นวนิยาย ฯลฯ
07. เพื่อล้อเลียน เช่น บทความการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ
08. เพื่อประกาศแจ้งให้ทราบ เช่น ประกาศของทางราชการ ประกาศรับสมัครงาน ฯลฯ
09. เพื่อวิเคราะห์ เช่น การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์วรรณกรรม ฯลฯ
10. เพื่อวิจารณ์ เช่น วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์หนังสือ ฯลฯ
11. เพื่อเสนอข่าวสารและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ
12. เพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น จดหมาย ธนาณัติ การกรอกแบบรายการ ฯลฯ
จุดประสงค์ของการเขียนคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงว่า ในการเขียนงานเขียนแต่ละครั้งนั้นต้องการเขียนเพื่อสื่อเรื่องใด โดยผู้เขียนต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งหลักการเขียนประกอบการเขียน เพื่อให้การเขียนเพื่อการสื่อสารนั้นๆบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
หลักการเขียน
เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้
1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ
2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์
3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน
5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน
6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่งคือกระบวกการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่งคือกระบวกการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น
กระบวนการคิดกับกระบวนการเขียน
กระบวนการเคิดกับกระบวนการเขียนนั้นมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการเขียนงานเขียนทุกประเภทต้องใช้ความคิด ต้องสร้างสรรค์ วิเคราะห์ กลั่นกรอง เรียบเรียงให้ดีเสียก่อน แล้วจึงลงมือเขียน อันจะทำให้การเขียนนั้นๆสำเร็จลงด้วยดี
กระบวนการคิด
1. คิดให้ตรงจุด หมายถึง คิดถึงจุดประสงค์ที่สำคัญเพียงจุดเดียว โดยการคิดให้อยู่ในวงจำกัด การคิดให้ตรงจุดมีดังนี้
..........1) คิดในหัวข้อที่จำกัด ไม่กว้างเกินไป จำกัดขอบเขตของเนื้อหาให้ชัดเจน
..........2) คิดเฉพาะสิ่งที่รู้ เพราะจะทำให้คิดได้ดี คิดอย่างชำนาญ มีประสิทธิภาพ
..........1) คิดในหัวข้อที่จำกัด ไม่กว้างเกินไป จำกัดขอบเขตของเนื้อหาให้ชัดเจน
..........2) คิดเฉพาะสิ่งที่รู้ เพราะจะทำให้คิดได้ดี คิดอย่างชำนาญ มีประสิทธิภาพ
2. คิดให้เป็นระเบียบ หมายถึง การจัดลำดับความคิด มีดังนี้
..........1) จัดลำดับเรื่องราว คือ การจัดลำดับว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนเกิดหลัง
..........2) จัดลำดับสถานที่ คือ เขียนรายละเอียดของสถานที่ให้ตรงตามความเป็นจริง ไม่วกไปวนมา
..........3) จัดลำดับตามเหตุผล คือ มีเหตุแล้วต้องมีผลตามมา หรือการกล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
..........1) จัดลำดับเรื่องราว คือ การจัดลำดับว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนเกิดหลัง
..........2) จัดลำดับสถานที่ คือ เขียนรายละเอียดของสถานที่ให้ตรงตามความเป็นจริง ไม่วกไปวนมา
..........3) จัดลำดับตามเหตุผล คือ มีเหตุแล้วต้องมีผลตามมา หรือการกล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
3. คิดให้กระชับและชัดเจน คือ ต้องมีความคิดหลักเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นได้ และความคิดนั้นต้องสามารถทำให้ผู้อ่านสื่อได้ตรงกับความคิดของผู้เขียน โดยไม่สับสน เช่น ผู้เขียนต้องการเสนอความคิดเกี่ยวกับคุณค่าของการประหยัด ต้องทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วเห็นคุณค่าของการประหยัดอย่างแท้จริง โดยไม่เห็นแตกต่างออกไป
นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึงเสมอก่อนจะลงมือเขียนเรื่องใด ก็คือ มารยาทในการเขียน เนื่องจากงานเขียนบางประเภท หรือบางเรื่องอาจก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตได้ ฉะน้น เพื่อป้องกันความเนียหายที่จะเกิดขึ้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องเขียนอย่างมีมารยาท ดังนี้
มารยาทในการเขียน
1. ไม่ควรเขียนโดยปราศจากความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพราะอาจเกิดความผิดพลาด หากจะเขียนก็ควรศึกษาค้นคว้าให้เกิดความพร้อมเสียก่อน
2. ไม่เขียนเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือสถาบันเบื้องสูง
3. ไม่เขียนเพื่อมุ่งเน้นทำลายผู้อื่น หรือเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่ตน พวกพ้องตน
4. ไม่เขียนโดยใช้อารมณ์ส่วนตัวเป็นบรรทัดฐาน
5. ต้องบอกแหล่งที่มาของข้อมูลเดิมเสมอ เพื่อให้เกียรติเจ้าของข้อมูลนั้นๆ
6. ไม่คัดลอกบทความหรือเนื้อหาตอนใดตอนหนึ่งมาโดยเจ้าของเรื่องไม่อนุญาต
ที่มา ; https://www.l3nr.org/posts/414165